แนวทางการพัฒนาศักยภาพในการจัดการธุรกิจเชิงนวัตกรรมเพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

สนิทเดช จินตนา

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับศักยภาพการจัดการธุรกิจเชิงนวัตกรรม เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการธุรกิจเชิงนวัตกรรม และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพในการจัดการธุรกิจเชิงนวัตกรรมเพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานีการศึกษาครั้งนี้การวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed-method design) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ประธานและรองประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 283 คน และบุคคลที่สำคัญ องค์กร และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 16 คน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เพื่อการวิจัยแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structure Interviews) โดยมีสถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที  การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง และการวิเคราะห์แบบพรรณนาข้อมูล


            ผลการวิจัยพบว่า 1. วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานีที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีการจัดการธุรกิจเชิงนวัตกรรมโดยรวมนั้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมาก 3 ด้าน โดยสามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ รองลงมาคือ ด้านพฤติกรรม และด้านกลยุทธ์ ตามลำดับ และมีด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง อีก 2 ด้าน ได้แก่ด้านกระบวนการ  และด้านการตลาด  2. กลุ่มวิสาหกิจในจังหวัดปทุมธานีที่มีประเภทของวิสาหกิจชุมชน จำนวนสมาชิก ระยะเวลาที่ดำเนินกิจการ รายได้ต่อปี และช่องทางการจัดจำหน่ายต่างกัน มีการจัดการธุรกิจเชิงนวัตกรรมในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. มีการจัดการธุรกิจเชิงนวัตกรรม 2 ตัวแปรได้แก่ ด้านกลยุทธ์  และด้านผลิตภัณฑ์และบริการ มีอิทธิพลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานี   อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4. แนวทางการพัฒนาศักยภาพในการจัดการธุรกิจเชิงนวัตกรรม ด้านกลยุทธ์ ควรมีการส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้ และการพัฒนากระบวนทัศน์ของผู้บริหารกลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้ในวิสัยทัศน์ มีกระบวนการวางแผนทางธุรกิจอย่างเป็นระบบ ส่วนด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ควรส่งเสริมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้ทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการในรูปแบบใหม่ ๆ น่าสนใจเป็นที่ต้องการของตลาด โดยอยู่ภายใต้ความหลากหลายทางวัฒนธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ สังทอง และคณะ (2563). ปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านการบริหารจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อความยั่งยืน. วารสารธุรกิจปริทัศน์, ปีที่ 12, ฉบับที่ 2, หน้า 211-220.

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2564ก). รายชื่อวิสาหกิจชุมชนดีเด่น. ค้นหาเมื่อ 17 สิงหาคม พ.ศ.2564 เข้าถึงได้จาก http://smce.doae.go.th/smce1/award/report.php?award_type_id =&level=province&year=2563&region_id=&province_id=25.

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2564ข). จำนวนวิสาหกิจชุมชน. ค้นหาเมื่อ 17 มกราคม พ.ศ.2564 เข้าถึงได้จาก http://smce.doae.go.th/smce1/report/select_report_smce.php? report_ id=17.

จันทิมา พรหมเกษ, จักเรศ เมตตะธำรง, และวรรณิดา สารีคำ. (2562). ผลกระทบของศักยภาพผู้ประกอบการสมัยใหม่ และนวัตกรรมการตลาดที่มีผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. Suranaree J. Soc. Sci., ปีที่ 13, ฉบับที่ 2, หน้า 79 – 96.

ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2556). การจัดการและการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน. สงขลา : สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการจังหวัดปทุมธานี, การสื่อสารระหว่างบุคคล (สัมภาษณ์), 7 มิถุนายน 2564)

ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2563). วางกลยุทธ์ธุรกิจให้ถูกจุด กับ TOWS Matrix. ค้นหาเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ.2563 เข้าถึงได้จาก https://www.popticles.com/business/tows-matrix/.

สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์. (2563). การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน มูลค่าเพิ่ม และความสามารถในการจัดการนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรมะม่วงเพื่อการส่งออก ในบริบทพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา. SOUTHEAST BANGKOK JOURNAL, ปีที่ 7, ฉบับที่ 1, หน้า 41 – 54.

สนิทเดช จินตนา และสุพิศ บุญลาภ. (2564). การศึกษาศักยภาพการใช้งานนวัตกรรมดิจิทัลของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปราจีนบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, ปีที่ 23, ฉบับที่ 1, หน้า 15 – 30.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์, พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์, อัจฉรา จันทร์ฉาย และประกอบ คุปรัตน์. (2553). นวัตกรรม: ความหมาย ประเภท และความสำคัญ ต่อการเป็นผู้ประกอบการ. วารสารบริหารธุรกิจ, ปีที่ 33, ฉบับที่ 128, หน้า 50 – 65.

สมเกียรติ สุทธินรากร. (2562). การสร้างสรรค์มูลค่าของผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมการบริหารจัดการของวิสาหกิจชุมชน. Dusit Thani College Journal, ปีที่ 13, ฉบับที่ 1, หน้า 270 – 283.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. ค้นหาเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ.2563 เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc.go.th/download/ document/ SAC/NS_PlanOct2018.pdf.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562). การจัดการสู่องค์กรนวัตกรรม. ค้นหาเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ.2563 เข้าถึงได้จาก https://creation.smartcatalogue.com/public /products/user_000756/00002211/pdf/200921140602-0000002211.pdf.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2553). การจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้บริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

อนุวัต สงสม. (2562). ผลของความสามารถทางนวัตกรรมที่มีต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดสงขลา. Veridian E-Journal, Silpakorn University Humanities, Social Sciences and arts, ปีที่ 12, ฉบับที่ 3, หน้าที่ 821 – 835.

อภิลักษณ์ ธรรมวิมุตติ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2560). ทุนมนุษย์เชิงนวัตกรรมและสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, ปีที่ 10, ฉบับที่ 1, หน้า 1572 – 1589.

Artz, Kendall W., and others. (2010). A longitudinal study of the impact of R&D, patens, and product innovation on firm performance. Journal of Product Innovation Management, Vol. 27, No. 6, p.p. 725-740.

Crossan, Mary M., and Apaydin, M.. (2010). A multi-dimensional framework of organizational innovation: A systematic review of the literature. Journal of

Management Studies, 47, 6 (September), p.p. 1154-1191.

Edison, Henry, Nauman bin Ali, and Richard Torkar. (2013). Toward innovation measurement in the software industry. The Journal of Systems Software, Vol. 86, No. 5, p.p. 1390-1407.

Hana, U.. (2013). Competitive Advantage Achievement through Innovation and Knowledge. Journal of Competitiveness, Vol.5, No.1, p.p. 82-96.

International Institute for Management Development. (2021). World Competitiveness Ranking. Retrieve from https://www.imd.org/centers/world-competitiveness-center/rankings/ world-competitiveness/.

Jintana, S., Kosidphokin, K.. (2022). The study of innovative management toward competitive advantage of community-based enterprises in Thailand. Academy of Strategic Management Journal, 21 (4), 1-11.

McKeown, Max. (2008). The truth about innovation. London: Prentice Hall.

Oslo Manual. (2018). Guidelines for Collecting, Reporting and Using Data on Innovation. (Fourth Edition). Paris : Oslo Manual.

The Global Innovation Index. (2020). The interactive database of the GII 2020 indicators. Retrieved from https://www.globalinnovationindex.org/ analysis-indicator.

Wang, C.L., & Ahmed, P.K. (2004).The development and validation of the organizational innovativeness construct using confirmatory factor analysis. European Journal of Innovation Management, Vol.7, No.4, 303-313.