ศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี กรณีศึกษา: หมู่บ้านท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน (บ้านซะซอม) อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ชูศักดิ์ อินทมนต์
ประกาย วุฒิพิพัฒนพงศ์
ฐิติมา สุ่มแสนหาญ

บทคัดย่อ

            บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวทางการดึงดูดนักท่องเที่ยวเพื่อนำไปสู่การท่องเที่ยวโดยชุมชนตามโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี กรณีศึกษา : หมู่บ้านท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน (ซะซอมโฮมสเตย์) อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-dept Interview) และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant observation) ร่วมกับผู้ที่ส่วนเกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และสมาชิกของหมู่บ้านท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ฯ (ซะซอมโฮมสเตย์)


          ผลการศึกษา พบว่า ศักยภาพของชุมชนของหมู่บ้านท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ฯ (ซะซอมโฮมสเตย์) แบ่งออกเป็น 9 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยว 2) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและที่พัก 3) ด้านอาหารพื้นถิ่น 4) ด้านวัฒนธรรมและประเพณีของชุมชน 5) ด้านแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ 6) ด้านแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและศาสนสถาน 7) ด้านการบริหารจัดการภายในชุมชน 8) ด้านการจัดกิจกรรมภายในชุมชน และ 9) ด้านความยั่งยืนของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนศักยภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนของหมู่บ้านท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ฯ (ซะซอมโฮมสเตย์) แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านวัตถุดิบและแรงงานในกระบวนการผลิต 2) ด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และ 3) ด้านการสร้างอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ชุมชน และศักยภาพการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ที่ประกอบด้วยภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และเครือข่ายการเรียนรู้ของแหล่งท่องเที่ยวชุมชน เพื่อพัฒนาการประชาสัมพันธ์ผ่านโครงการต่าง ๆ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ การพัฒนาการตลาดออนไลน์ การวิจัยเพื่อศึกษาความต้องการของการตลาด การพัฒนาความรู้ ทักษะ ความสามารถ การช่วยเหลือด้านเงินทุน เพื่อให้นำไปสู่การดึงดูดนักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวยังชุมชนได้อย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2561). คู่มือบริหารโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี. กรุงเทพฯ: ศูนย์ราชการ

เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563). 9 แนวโน้มใหม่ในอนาคตการท่องเที่ยว. เข้าถึงได้จาก

https://api.tourismthailand.org/upload/live/content_article_file/20603-15378.pdf.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2564.

เข้าถึงได้จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=630.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2559). แผนพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). เข้าถึงได้จาก

http://www.oae.go.th/download/journal/development_plan2559.pdf.

กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ และศรันยา แสงลิ้มสุวรรณ. (2555). การท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน.

วารสารนักบริหาร, 32(4), 139-146.

เขมจิรา หนองเป็ด, สุวภัทร ศรีจองแสง และยุวดี จิตต์โกศล. (2562). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด

อุบลราชธานีที่สอดคล้อง กับพฤติกรรมของผู้มาเยือนชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดอุบลราชธานี.

วารสารศิลปศาสตร์, 15(2), 276-338.

ครรชิต มาระโภชน์, รัชฎาพร วงษ์โสพนากุล, ภานุวัฒน์ ธัมมิกนันท์, ไตรภพ โคตรรวงษา, ทักษินา สมบูรณ์, กรรณิกา

สุภาภา และจุฑาพร แก่นอ้วน. (2561). การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่ตำบลคลองเขื่อน

จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารราชนครินทร์, 9(2), 79-81.

จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่าง

ยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จุฬามณี แก้วโพนทอง, ทรงพล โชติกเวชกุล, ปัญญา คล้ายเดช และพระสุนทร ชำกรม. (2561). การบริหารจัดการชุมชน

เพื่อความยั่งยืน. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 18(1), 263-273.

ชูศักดิ์ อินทมนต์. (2562). รูปแบบและกระบวนการในการบริหารจัดการนวัตกรรมโฮมสเตย์เพื่อการ ท่องเที่ยว. ปรัชญา

ดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ, วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณภัทร ทิพย์ศรี, ปวีร์สุดา มหาวงค์ และหนึ่งฤทัย บรรดิ. (2556). คุณภาพการบริการของธุรกิจนำเที่ยวที่มีต่อความประทับ

ใจของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปในจังหวัดเชียงราย. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 8(1), 8-19.

นิชนันท์ อ่อนรัตน์. (2561). นโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารรังสิตบัณฑิต

ศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 4(2), 228-241.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2544). การนำเสนองานที่มีสสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

ปวิธ ตันสกุล. (2562). แนวทางการส่งเสริมอาหารพื้นถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอาหาร กรณีศึกษาชุมชนขนาบนาก อำเภอ

ปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 9(1), 81-92.

ปุณยวีร์ วิเศษสุนทรสกุล, ชวลีย์ ณ ถลาง, ชมพูนุช จิตติถาวร และ สหนนท์ ตั้งเบญจสิริกุล. (2563). แนวทางการพัฒนา

ศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 10(3), 22-33.

พรชัย เพียรพล. (2559). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านเหล่าในพื้นที่ศูนย์พัฒนา

โครงการหลวงม่อนเงาะ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพัฒนาภูมิสังคมอย่าง

ยั่งยืน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยแม้โจ้.

พรรณิภา ซาวคำ, ปริพรรน์ แก้วเนตร, ณฐมน สังวาล, งามนิจ แสนนาพล และภูวนารถ ศรีทอง. (2561). การพัฒนา

ผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อเข้าสู่ตลาดธุรกิจโรงแรม จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 12(1), 165-182.

พรหมลิขิต อุรา และพิชญาพร ศรีบุญเรือง. (2563). สภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาศักยภาพของทายาท

มัคคุเทศก์ท้องถิ่นสำหรับชุมชนการท่องเที่ยวริมแม่น้ำโขง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสาร

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 120-134.

พระจำนงค์ ผมไผ, ยุภาพร ยุภาศ และภักดี โพธิ์สิงห์. (2563). วัดกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวบนเส้นทางลุ่มน้ำโขง.

วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(5), 158-170.

พัชสิรี ชมพูคำ. (2553). การประเมินขีดความสามารถของอุตสาหกรรมงานขึ้นรูปความเที่ยงตรงสูงโครงการศึกษาการจัด

ทำแผนแม่บทอุตสาหกรรมงานขึ้นรูปความเที่ยงตรงสูง. เข้าถึงได้จาก

library.dip.go.th/multim4/eb/EB%20124.7.doc.

ภัทรชนม์ รัชตะหิรัญ. (2558). ปัจจัยสิ่งอำนวยความสะดวกของโฮมสเตย์ที่มีผลต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวไทยที่

อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว, บัณฑิต

วิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสยาม.

วลัยพร สุขปลั่ง, ศุภกัญญา เกษมสุข และอัญญานี อดทน. (2562). บทบาทของหน่วยงานภาครัฐที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิง

ธรรมชาติอย่างยั่งยืนในพื้นที่น้าตกแก่งลำดวน อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการจัดการและการพัฒนา,

(1), 79-96.

วันชัย วัฒนศัพท์. (2556). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจของชุมชน. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

ศศิชา หมดมลทิล. (2562). ท่องเที่ยวโดยชุมชนวิถีสู่ความยั่งยืน: หน่วยวิเคราะห์เศรษฐกิจฐานราก ส่วนเศรษฐกิจฐานราก

ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน. เข้าถึงได้จาก https://www.gsbresearch.or.th/wp

content/uploads/2019/10/GR_report_travel_detail.pdf

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2563). แผนพัฒนาภาค พ.ศ. 2560-2565

(ฉบับทบทวน). เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=10196&filename=index

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2555). คู่มือการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชน.

เข้าถึงได้จาก http://smce.doae.go.th/.

สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน. (2564). OTOP นวัตวิถี คืออะไร. เข้าถึงได้จาก

https://cep.cdd.go.th/otop.

อรรทวิท ศิลาน้อย, ณัฏฐพงษ์ ฉายแสงประทีป, วันทกาญจน์ สีมาโรจน์, และวัฒนา ทนงค์แผง. (2562). ความต้องการด้าน

สิ่งอำนวยความสะดวกของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในพระบรมธาตุนาดูน สำหรับการท่องเที่ยว เพื่อคนทั้ง

มวล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(2), 130-143.

อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือการมีส่วนร่วมขรงประชาชน สำหรับนักบริหารท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2560). CBT ทำอย่างไรให้ยั่งยืน.

กรุงเทพฯ: องค์การมหาชน.

อานิสงค์ โอทาตะวงศ์. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทะเลบัวแดง ในเขตเทศบาล

ตำบลเชียงแหว อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัย, 25(1), 47-53.

McLagan, P. A. (1997). Competencies: The Next Generation. Training & Development, 51(4), 40-47.

Porter, M. E. (1990). The Competitive Advantage of Nations. New York: Free Press.