การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการเขื่อนป้องกันตลิ่งบริเวณริมแม่น้ำน้อยของกรมโยธาธิการและผังเมือง เขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการเขื่อนป้องกันตลิ่งบริเวณริมแม่น้ำน้อยของกรมโยธาธิการและผังเมือง เขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน 3) ปัญหาอุปสรรคการมีส่วนร่วมของประชาชน และ 4) แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการเขื่อนป้องกันตลิ่งบริเวณริมแม่น้ำน้อยของกรมโยธาธิการและผังเมือง เขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสม การวิจัยเชิงปริมาณ
กลุ่มตัวอย่างคือ ตัวแทนครัวเรือน ในตำบลน้ำเต้า ตำบลทางช้าง ตำบลวัดตะกู ตำบลบางหลวง อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 327 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย 1) ตัวแทนหน่วยงานราชการ จำนวน 6 คน และ
2) ตัวแทนภาคประชาชน จำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้น 16 คน โดยเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความ
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการเขื่อนป้องกันตลิ่งบริเวณ
ริมแม่น้ำน้อย เขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมี 1) ปัจจัยการตกลงร่วมกัน
ที่จะเปลี่ยนแปลงชุมชน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาตามลำดับคือ 2) ปัจจัยความเดือดร้อนและความไม่พอใจร่วมกัน 3) ปัจจัยความตระหนัก 4) ปัจจัยความเกรงใจต่อบุคคลที่เคารพหรือผู้นำ 5) ปัจจัยความเชื่อมั่น
ต่อหน่วยงาน 6) ปัจจัยความรู้สึกภาคภูมิใจ 7) ปัจจัยการรับรู้ข่าวสาร 8) ปัจจัยความสนใจและห่วงกังวลร่วมกัน
9) ปัจจัยผลประโยชน์ตอบแทน และ 10) ปัจจัยทรัพยากรของหน่วยงาน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด สำหรับระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการเขื่อนป้องกันตลิ่งบริเวณริมแม่น้ำน้อย เขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยรวม
มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีด้านการร่วมรับผลประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาตามลำดับ คือ
ด้านการริเริ่มโครงการ ด้านการวางแผน ด้านการปฏิบัติงาน ด้านการตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ไข ด้านการค้นหาสาเหตุของปัญหา และด้านการประเมินผล มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด และยังพบว่า สมการถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน มีดังนี้ = 0.09 + 0.08 + 0.10 + 0.12 + 0.26 + 0.17 + 0.16 + 0.14 + 0.23
ปัญหาอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการเขื่อนป้องกันตลิ่งของกรมโยธาธิการและผังเมือง เขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีประเด็นปัญหาหลัก 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการประชาสัมพันธ์
2) ด้านทรัพยากร และ 3) ด้านส่วนบุคคล สำหรับแนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชน คือ
1) การผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์วิดีทัศน์ความยาวสั้น เกี่ยวกับข้อมูลหรือเกร็ดความรู้ รูปแบบภาพเคลื่อนไหว
2) การจัดตั้งโครงการอาสาสมัครคนรุ่นใหม่พิทักษ์ตลิ่ง 3) การจัดทำช่องทางการสื่อสารผ่านแอปพลิเคชันไลน์
และ 4) การจัดทำคู่มือตรวจสอบตลิ่งริมแม่น้ำฉบับประชาชน