ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงานเทศบาลในอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี

Main Article Content

ปีราติ พันธ์จบสิงห์
ธีระชินภัทร รามเดชะ

บทคัดย่อ

               จากการศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงานเทศบาลในอำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านลักษณะบุคคลที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานเทศบาลในอำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี เพื่อศึกษาปัจจัยด้านลักษณะงานที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานเทศบาลในอำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี เพื่อศึกษาปัจจัยด้านลักษณะขององค์กรที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานเทศบาลในอำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี และเพื่อศึกษาปัจจัยด้านความพึงพอใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานเทศบาลในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี  เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานเทศบาลในอำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วนได้จำนวน  285  คน  สถิติที่ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติที่การวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณสามารถสรุปได้ดังนี้ 


               ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยด้านลักษณะงานโดยรวม พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  4.29 ซึ่งจัดอยู่ในระดับมากที่สุด  และค้นพบว่า ปัจจัยด้านลักษณะองค์การโดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  3.63 ซึ่งจัดอยู่ในระดับมาก และกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในงานของบุคลากรโดยรวม มีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ  3.94  อยู่ในระดับมาก  และพบว่าความผูกพันของบุคลากรของบุคลากรที่มีต่อองค์กรโดยรวม มีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.32  มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด        


            และผลการทดสอบสมมติฐานที่พบ ปัจจัยด้านเพศ  อายุ   ตำแหน่ง สถานที่ทำงาน  สถานภาพต่างกันไม่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงานเทศบาลในอำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี และปัจจัยด้านระดับการศึกษา แผนก  รายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงานเทศบาลในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านลักษณะงานมีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงานเทศบาลในอำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรีโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ (= .156) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีจำนวน 1 ด้าน คือ ด้านความท้าทายของงาน และด้านที่ไม่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงานเทศบาลในอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรีโดยรวม ได้แก่ด้านความอิสระในการทำงาน ด้านโอกาสในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น  ด้านความหลากหลายของงาน ตามลำดับ  ส่วนผลการทดสอบปัจจัยด้านลักษณะขององค์กร มีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงานเทศบาลในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ (= .013) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ไม่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงานเทศบาลในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี และผลการทดสอบปัจจัยด้านความพึงพอใจในการปฏิบัติงานมีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงานเทศบาลในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ  (= .032) มีจำนวน 1 ด้าน คือ ด้านนโยบายองค์กร และด้านที่ไม่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงานเทศบาลในอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรีโดยรวม ได้แก่ ด้านคุณสมบัติของบุคคล ด้านลักษณะงาน ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2557). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ส.เอเชียเพรส(1989).
กุลธนิดา ผลเวช. (2556).ความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน สถาบันไทย-เยอรมัน. (ปัญหาพิเศษรัฐ
ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารทั่วไป). วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ,
มหาวิทยาลัยบูรพา.
จุมพล หนิมพานิช. (2561). องค์การและการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2).นนทบุรี : สำนักพิมพ์. มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมมาธิราช.
ชนิดา เล็บครุฑ. (2554). ผลกระทบของคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การของ
บุคลากรสายสนับสนุน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.(งานวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร
ศาสตร์)., สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
บุญเลิศ จันทร์โท. (2555). ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน
บริษัทสยามโตโยต้า อุตสาหกรรม จ ากัด จังหวัดชลบุรี.มหาวิทยาลัยบูรพา.
เบญจวรรณ พัชรพงศ์พรรณ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานบริษัท บางกอกเอ็น.
เตอร์เทนเม้นต์จำกัด.( วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,สาขาวิชาบริหารธุรกิจ). คณะวิทยาการ
จัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
ปาริชาติ บัวเป็ง. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทไดกิ้นอินดัสทรีส์ประเทศ
ไทย (จำกัด).(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ).
คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ประมินทร์ เนาวกาญจน์. (2553). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานเทศบาลนครยะลา.(ภาคนิพนธ์คณะ
พัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม).สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร.
พนิดา จิระสถิตถาวร. (2550). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประภัสสรวิทยา อำเภอเมือง
จังหวัดชลบุรี.(มหาวิทยาลัยบูรพา). วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาบริหารการศึกษา.
พิชชาภา พนาสถิตย์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความยึดมั่นผูกพันในองค์การของบุคลากรในโรงพยาบาล
ชุมชน จังหวัดชุมพร.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการ
พยาบาล, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พนิดา อร่ามจรัส. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการท างานกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี
ขององค์การของพนักงานในกลุ่มบริษัทโทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์จำกัด (มหาชน). กรุงเทพฯ.
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
มุจรินท์ บุรีนอก. (2553). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน: กรณีศึกษา อู ซู อิ อินเตอร์ เนชั่นแนล คอร์
ปอเรชั่น (ไทยแลนด์) จํากัด. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการ
ภาครัฐและภาคเอกชน, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2561). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมสาร.
สุวรรณี โกเมศ. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันในองค์การของอาจารย์วิทยาลัยการสาธารณสุข
สิรินธร สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาล
ศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โสภณ ดวงอินทร์. (2555). การจัดการความรู้แห่งโลกธุรกิจใหม่.กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดยูเคชั่น.
วรรณิภา นิลวรรณ. (2554). ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในวิทยาลัย
อาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานีจังหวัดสุราษฎร์ธานี. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วิชิต อูอ้น. (2555).การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ.(พิมพ์ครั้งที่9).กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

Buchanan, B. (1974). Building organizational commitment: The socialization of managers in work
organizations. Administrative Science Quarterly.
Bryman, A. , Bell, E. (2011). Business Research Methods. 3 edition, Oxford University Press.
Glisson, C. and Durick, M. (1988) Predictors of Job Satisfaction and Organisational Commitment in
Human Service Organizations. Administrative Science Quarterly, 33, 61-68.
Greenberg, J., Baron, & R.A. (1993). Behavior in Organization : Understanding and Managing the Human
Side of Work(4th ed ed.). Boston: Allyn & Baron.
Hrebiniak, L. G. , & Alutto, J. K. (1974). Personal and role-related factors in the development of
organizational commitment. Administrative Science Quarterly. 17(12), 555-573.
Morris, J., & Sherman, J. D. (1981). Generalizability of an organizational commitment model. Academy
of Management Journal, 24, 512-526.
Organ, D. W. and Bateman, T. S. (1991) Organizational Behavior. United States of America: Richard
D. Irwin.
Peters, D. J., L. Eathington, and D. Swenson. (2012). An Exploration of Green Job Policies, Theoretical
Underpinnings, Measurement Ap-proaches, and Job Growth Expectations. Ames, ia: Iowa State
Uni-versity.
Steers, R. M. (1973) Antecedents and Outcomes of Organizational Commitment. Administrative
Science Quarterly, 22(1): 46-56.