แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง

Main Article Content

ปรีดา ศรีเมฆ
จักรชัย สื่อประเสริฐสิทธิ์
ณรงค์ พรมสืบ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


         การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ประกอบการที่มีต่อสถานการณ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของเกาะเสม็ด และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ประกอบการที่มีต่อแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของเกาะเสม็ด พบว่า โดยภาพรวมกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ดมีความคิดเห็นต่อสถานการณ์การท่องเที่ยวบนเกาะเสม็ดว่ามีแนวโน้มเป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนมากที่สุด และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า สถานการณ์การท่องเที่ยวบนเกาะเสม็ดด้านการเมืองมีแนวโน้มเป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยสูงสุด เป็นอันดับ 1 รองลงมา คือ สถานการณ์การท่องเที่ยวบนเกาะเสม็ดด้านเศรษฐกิจ, สถานการณ์การท่องเที่ยวบนเกาะเสม็ดด้านสังคมและวัฒนธรรม และสถานการณ์การท่องเที่ยวบนเกาะเสม็ดด้านสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ ส่วนแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง
ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ดมีความเห็นต่อแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนว่ามีความเหมาะสมกับเกาะเสม็ดมากที่สุด และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนด้านเจ้าหน้าที่สนับสนุนทางด้านการท่องเที่ยว มีความเหมาะสมกับเกาะเสม็ดมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด เป็นอันดับ 1 รองลงมาคือ ด้านตลาดการท่องเที่ยว ด้านนโยบายการท่องเที่ยว ด้านการวางแผนการใช้พื้นที่ ด้านสิทธิ์ครอบครองที่ดิน ด้านมาตรฐานการท่องเที่ยวและกฎระเบียบ ด้านการฝึกอบรมและการมีใบอนุญาตด้านการท่องเที่ยว ด้านการพัฒนาพื้นที่อุทยาน ด้านสินเชื่อธุรกิจ และการสนับสนุนเงินทุน และด้านกิจการร่วมค้าทางด้านการท่องเที่ยวตามลำดับ    

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

รายการอ้างอิง
ภาษาไทย
บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด (ช่อง 7 HD). (2559). Green report: เปิด 4 ปมปัญหาที่ยัง แก้ไม่ได้บนเกาะเสม็ด. เข้าถึงได้จาก https://news.ch7.com/detail/176575
ผู้จัดการออนไลน์. (2558). ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ: เทรนด์มาแรงแห่งอาเซียน. เข้าถึงได้จาก www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9580000068319
ยศ สันตสมบัติ.(2544). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ:ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการจัดการทรัพยากร. กรุงเทพฯ: โครงการ BRT.
วิไลลักษณ์ รัตนเพียรธัมมะ. (2549). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน ศึกษากรณีตลาดน้ำอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.
เศกสรรค์ ยงวณิชย์. (2555). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ยั่งยืน แนวคิดหลักการและการจัดการ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สมถวิล จันทร์พราหมณ์. (2558). รายงานการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเพ สมัยประชุมสามัญสมัยที่ 2 ประจำปี 2558 ครั้งที่ 1/2558. ระยอง: องค์การบริหารส่วนตำบลเพ.
อรพินทร์ ชูชม. (2545). เอกสารคำสอนวิชา วป 502 การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อังคณา แก้วคำหา. (2550). แนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศลุ่มน้ำประแสร์ จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวางแผนภาค,
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาษาอังกฤษ
Marinebio. (n.d.). Sustainable ecotourism. Retrieved from http://marinebio.org/oceans/conservation/sustainable-tourism/
Seba, J. A. (2012). Ecotourism and sustainable tourism new perspectives and studies. Canada: Apple Academic Press.
Zeppel, H. D. (2006). Indegenous ecotourism sustainable development and management. United Kingdom: Cromwell Press, Trowbridge.