ความรู้ความเข้าใจของประชาชนต่อบทบาทของศูนย์ยุติธรรมชุมชน ในการเสริมสร้างความสมานฉันท์และสันติวัฒนธรรม ของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนำร่อง กระทรวงยุติธรรม

Main Article Content

พงษ์ธร ธัญญสิริ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาถึงระดับความรู้ความเข้าใจของประชาชนที่เป็นเครือข่ายของศูนย์ยุติธรรมชุมชนต่อบทบาทของศูนย์ยุติธรรมชุมชน ในเสริมสร้างความสมานฉันท์และสันติวัฒนธรรม ของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนำร่อง  2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความรู้ความเข้าใจของประชาชนที่เป็นเครือข่ายของศูนย์ยุติธรรมชุมชนต่อบทบาทของศูนย์ยุติธรรมชุมชน ในเสริมสร้างความสมานฉันท์และสันติวัฒนธรรม ของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนำร่อง จำแนกตามปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล ผู้ศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน จากนั้นได้นำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบความสมบูรณ์ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสถิติ t-test และ F-test ทดสอบความแตกต่างรายคู่ โดยใช้สถิติ LSD


               ผลการศึกษา พบว่า ระดับความรู้ความเข้าใจของประชาชนที่เป็นเครือข่ายของศูนย์ยุติธรรมชุมชนต่อบทบาทของศูนย์ยุติธรรมชุมชน ในเสริมสร้างความสมานฉันท์และสันติวัฒนธรรม ของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนำร่อง พบว่า ระดับความรู้ความเข้าใจในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการให้ความช่วยเหลือดูแลผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือได้รับผลกระทบจากการกระทำความผิดและอาชญากรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาด้านการรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ ปัญหาความไม่เป็นธรรมของประชาชน และรับแจ้งเบาะแสข้อมูลการกระทำผิดกฎหมายต่าง ๆ รองลงมาด้านการให้ความช่วยเหลือ และสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขบำบัด ฟื้นฟูผู้กระทำความผิดและผู้พ้นโทษ รองลงมาด้านการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาอาชญากรรม การทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐและการกระทำผิดกฎหมายต่าง ๆ และรองลงมาด้านการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ประชาชนที่เป็นเครือข่ายยุติธรรมชุมชนที่มีอายุและระดับการศึกษาต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจต่อบทบาทของศูนย์ยุติธรรมชุมชนในการเสริมสร้างความสมานฉันท์และสันติวัฒนธรรม แตกต่างกัน ตามนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ ประชาชนที่เป็นเครือข่ายยุติธรรมชุมชนที่มีเพศและอาชีพต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจต่อบทบาทของศูนย์ยุติธรรมชุมชนในการเสริมสร้างความสมานฉันท์และสันติวัฒนธรรม ไม่แตกต่างกัน ตามนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงยุติธรรม. (2550). ยุติธรรมชุมชน รวมงานวิจัย บทความ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงยุติธรรม. (2553). สำนักงานยุติธรรมจังหวัดกับกฎหมายสามัญประจำบ้าน. กรุงเทพฯ.

กระทรวงยุติธรรม. 2555, 30 มีนาคม. การจัดตั้งสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนำร่องเพิ่มเติม จำนวน 5 แห่ง เป็นหน่วยงานในสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม. คำสั่งกระทรวงยุติธรรม ที่ 159/2555.

กระทรวงยุติธรรม. 2559, 24 พฤศจิกายน. การบริหารงานสำนักงานยุติธรรมจังหวัด และสำนักงานยุติธรรมจังหวัดสาขา. คำสั่งกระทรวงยุติธรรม ที่ 569/2559.

ศิริรัตน์ ชุณหคล้าย และ ปกรณ์ สิงห์สุริยา. (2551). การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา.

ศิริรัตน์ ชุณหคล้าย และ ปกรณ์ สิงห์สุริยา. (2553). การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการสำนักงานยุติธรรมจังหวัด กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม. รายงานการวิจัย.
สุวีรัตน์ ชัยวิชิต. (2555). การติดตามและประเมินผลสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนำร่อง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม กระ ทรวงยุติธรรม. หนังสือ

สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม. (2552). การประเมินผลสำนักงานยุติธรรมจังหวัด พ.ศ.2551. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม. หนังสือ

สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม. (2552).การจัดตั้งสำนักงานยุติธรรมจังหวัด นวัตกรรมในการบริหารราชการส่วนภูมิภาคของกระทรวงยุติธรรม. วันที่ค้นข้อมูล 23 สิงหาคม 2560,
เข้าถึงได้จาก http://www.km.moj.go.th/info/html/d18fa9fb3f58d39fb7d862b3e344f892.html.

สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม. (2560). ยุติธรรมจังหวัดนำร่อง. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม.

สำนักงานคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ. (2557). รายงานประจำปีสำนักงานคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม. รายงานประจำปี

สำนักงานคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ. (2563). แผนแม่บทและยุทธศาสตร์

การเสริมสร้างสมานฉันท์แห่งชาติ (พ.ศ. 2563 - 2565). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม. แผนพับ

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2557, 12 กันยายน). คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี : พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. ประกาศ

อาภาศิริ สุวรรณานนท์ และคณะ. (2558). รูปแบบการเสริมสร้างความสมานฉันท์ภายใต้บริบท ความขัดแย้งของสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม และมหาวิทยาลัยสวนดุสิต. รายงานวิจัย.