การเปลี่ยนแปลงบทบาททางการเมืองของกองทัพไทยตั้งแต่ พ.ศ.2535-2563
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัจจัยที่ผลต่อการเปลี่ยนแปลงบทบาททางการเมืองของ กองทัพไทย และพัฒนาการบทบาททางการเมืองของกองทัพไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2535-2563 ด้วยวิธีการ สัมภาษณ์อดีตนายทหารชั้นผู้ใหญ่ และผู้ทรงคุณวุฒิฝ่ายพลเรือน ผลการศึกษาพบว่า พัฒนาการบทบาททาง การเมืองของกองทัพไทย เคยอยู่ในภาวะที่ถดถอยและความนิยมขึ้นอยู่ในระดับสูงสุด โดยอิงกับทัศนคติทางสังคมที่มีต่อกองทัพในแต่ละช่วงเหตุการณ์ทางการเมือง จึงมีผลต่อสำนึกของผู้นำกองทัพในการกำหนดท่าทีและการตัดสินใจทางการเมือง การที่กองทัพมีความน่าเชื่อถือทางสังคมมากกว่าสถาบันทางการเมืองอื่นๆ จึงถูกดึงเข้ามาอยู่ในแวดวงการเมืองมาตลอด และมีแนวโน้มว่ากองทัพไทยคงยังรักษาและขยายบทบาททางการเมืองของตนเองไว้ได้ จนถึงปัจจุบัน สำหรับปัจจัยต่อการเปลี่ยนแปลงบทบาททางการเมืองของกองทัพไทยตั้งแต่ พ.ศ.2535-2563 ได้แก่ 3 ปัจจัยสำคัญ คือ (1). ด้านรัฐธรรมนูญ (2). ด้านความมั่นคง และ (3).ด้านการมืองภาคประชาชน ซึ่งได้เอื้ออำนวยให้กองทัพไทยปรับเปลี่ยนบทบาทได้อย่างกลมกลืน และมีความชอบธรรมในฐานะผู้ควบคุมและกำหนดกิตกาการเมืองไทยได้อย่างยาวนาน
Article Details
References
พิชิต รัชตพิบุลภพ. (2559). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของทหาร. วารสารสถาบันพระปกเกล้า. ปีที่14 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน. 101.
บรรจง ไชยลังกา. (2559). การถ่วงดุลระหว่างประเทศมหาอำนาจ: วิเคราะห์ตามทฤษฎีสัจจนิยมใหม่. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายน-ธันวาคม. 30-32.
สุจิต บุญบงการ. (2562). ทหารกับการพัฒนาการเมืองไทย. โครงการจัดพิมพ์คบไฟ. 186-187.
สุรชาติ บำรุงสุข. (2558). เสนาธิปไตย: รัฐประหารกับการเมืองไทย. สำนักพิมพ์มติชน. 117.
Bamrungsuk, S. (2006). Thailand’s Civil-Military Relations. Journal of Securities Project. (9). 22-26.
Bland, D. (1999). Unified Theory of Civil-Military Relations. Armed Forces & Society. (26) 10
Boonprong, W. (2000). The Thai Military Since 1957: The Transition to Democracy and the Emerging of the Professional Soldier. (Dissertation). Master of International Studies in the Department of Politics, The University of Adelaide. Australia.
Varol, O., O. (2012). The Military as the Guardian of Constitutional Democracy. 50 Columbia Journal of Transnational Law (forthcoming).Lewis &Clark School. 300.