ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวชายหาดบางแสน

Main Article Content

สมรศรี คำตรง
ชมพูนุช จิตติถาวร
สุวารี นามวงค์
วารัชต์ มัธยมบุรุษ

บทคัดย่อ

              การวิจัยเรื่องความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวและการจัดการ      การท่องเที่ยวของชายหาดบางแสน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวชายหาดบางแสนตามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว เพื่อศึกษาศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวของชายหาดบางแสนตามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว และเพื่อศึกษาอิทธิพลของการจัดการการท่องเที่ยวของชายหาดบางแสนที่มีต่อศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ         ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) เพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย โดยกําหนดระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการวิจัยพบว่า


  1. 1. ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวชายหาดบางแสนตามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว พบว่า มีศักยภาพด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว ด้านที่พักแรม ด้านแหล่งท่องเที่ยว และด้านสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว

  2. การจัดการการท่องเที่ยวของชายหาดบางแสนตามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว 3 อันดับแรก พบว่า การส่งเสริมนักท่องเที่ยวให้ช่วยรักษาความสะอาดของชายหาดมากที่สุด รองลงมาคือ มีการส่งเสริมการอุดหนุนผู้ค้าบริเวณชายหาด และมีการรณรงค์เรื่องการดูแลความสะอาดต่อเนื่อง

  3. การจัดการการท่องเที่ยวของชายหาดบางแสนปัจจัยด้านมีการจ้างงานคนในท้องถิ่น ผู้ประกอบการชายหาดมีการดูแลรักษาความสะอาด และนักท่องเที่ยวมีช่องทางติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานท้องถิ่นได้ ส่งผลต่อศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในภาพรวม ดังสมการ

                    Ytot = 0.910 + 0.133X2 + 0.130X5 + 0.120X10

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว. (2557). คู่มือการตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวประเภทชายหาด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรม ราชูปถัมภ์.

กรมการท่องเที่ยว. (2560). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของประเทศ พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: พีดับบลิว ปริ้นติ้ง.

กรมการท่องเที่ยว. (2563). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ ปี 2562 (จำแนกตามภูมิภาคและจังหวัด). วันที่ค้นข้อมูล 27 ธันวาคม 2563, เข้าถึงได้จาก https://www.mots.go.th/ more_news_new.php?cid=618

เกียรติศักดิ์ พานิชพัฒธนกุล และรัตพงษ์ สอนสุภาพ (2562). ผู้นำกับทุนทางสังคมในการพัฒนา ชายหาดบางแสน. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 5(2), 13-23.

จิราพร ร่วมรักษ์. (2558). การจัดการขยะชายหาดในเมืองท่องเที่ยว กรณีศึกษา: ชายหาดบางแสน เทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ดวงรัตน์ โกยกิจเจริญ. (2562). พฤติกรรมการท่องเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวเชิงศาสนาของนักท่องเที่ยวไทยในจังหวัดภูเก็ต. วารสารปัญญา, 26(1), 76-85.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืนบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

นวลพรรณ คณานุรักษ์. (2555). ประเภทและแหล่งที่มาของขยะทะเลตามฤดูกาลบริเวณหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ วท.ม., จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

มนัส เล่งเจ๊ะ. (2553). การมีส่วนร่วมของผู้ค้าขายบริเวณชายหาดบางแสนต่อการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม. งานนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไมตรี พุทธวงษ์. (2559). แนวทางการพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

รวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์. (2558). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ราศรี สวอินทร์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา. งานวิจัยทุนอุดหนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

วิภาดา ศุภรัฐปรีชา. (2553). ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อสังคมและวัฒนธรรมในชุมชนวัดเกตเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์เพื่อการวางแผนการท่องเที่ยวและการแก้ไขปัญหาความยากจนแห่งเอเชีย. (2549). แนวทางการวางแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต.

สมบัติ กาญจนกิจ. (2557). นันทนาการและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุริยา แสงพงค์. (2560). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 6(2), 99-133.

อารีรัตน์ วัชรโยธินกุล. (2560). ความคาดหวังและมิติความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ ส่งผลต่อการกลับมาเยือนซ้ำเกาะล้านจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Dickman, S. (1996). Tourism: An Introductory Text (2nd ed.). Australia: Hodder Education.

Global Sustainable Tourism Council (GSTC). (2013). Global Sustainable Tourism Council Criteria Suggested Performance Indicators for Destinations. Retrieved December 13, 2020, from http://www.gstcouncil.org/

Pascoe, S. (2019). Recreational beach use values with multiple activities. Ecological Economics, 160, 137-144.