แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของกำลังพลหน่วยเฉพาะกิจหน่วยบัญชา การต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือ ในการปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และจังหวัดสงขลา ไม่มี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของกำลังพลหน่วยเฉพาะกิจหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือ ในการปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้และจังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของกำลังพลหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือ ในการปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และจังหวัดสงขลา และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของกำลังพลหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งกองทัพเรือ ในการปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และจังหวัดสงขลา ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ กำลังพลหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือ ที่จะไปปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยปฏิบัติการหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และจังหวัดสงขลา ในการศึกษาในครั้งนี้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรทั้งหมด จำนวน 115 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และโดยการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ (Multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า
1. การวิเคราะห์แรงจูงใจในการปฏิบัติการของกำลังพลหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือ ในการไปปฏิบัติงานหน่วยเฉพาะกิจหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งกองทัพเรือ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และจังหวัดสงขลา ระดับแรงจูงใจของกำลังพลที่มีต่อการปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายภาคใต้และจังหวัดสงขลา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด พบว่า ในด้านความรับผิดชอบ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านนโยบายและการบริหารอยู่ในระดับมากที่สุดตามลำดับ ส่วนด้านความก้าวหน้า ด้านสภาพการทำงาน ด้านการปกครองบังคับบัญชา ด้านความมั่นคงในการทำงาน ด้านความเจริญก้าวหน้าส่วนบุคคล ด้านงานที่ท้าทาย ด้านค่าตอบแทน ด้านการยอมรับนับถือ และด้านความสำเร็จของงานอยู่ในระดับมากตามลำดับ
2. การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจของกำลังพลหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยาน และรักษาฝั่งกองทัพเรือในการปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และจังหวัดสงขลา ใช้การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ พบว่าตัวแปรอิสระในปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ชั้นยศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาระดับตำแหน่ง/ ขั้นเงินเดือน และการรับรู้ความเสี่ยง สามารถอธิบายการผันแปรของแรงจูงใจของกำลังพล หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือ ในการปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และจังหวัดสงขลา คิดเป็นร้อยละ 6 เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวแปรอิสระ พบว่า การรับรู้ความเสี่ยงมีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของกำลังพลในการปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และจังหวัดสงขลาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
References
กมล สดมณี. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ ใน 3 จังหวัดชายแดน ภาคใต้ของทหารในสังกัด กองพลทหารราบที่ 2 กองพันทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์, สาขาวิชาการจัดการโครงการ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
กองทัพเรือ. (2547). เรื่องการจัดกำลังหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธิน และหน่วยบัญชาการ ต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือ พร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ไปปฏิบัติงานเพิ่มเติม ณ หน่วยเฉพาะกิจ จังหวัดนราธิวาส และทัพเรือภาคที่ 2. คำสั่ง กห 0505/292.
กองทัพเรือ. (2559, 6 กันยายน). เรื่อง การจัดกำลังหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ไปปฏิบัติงานหน่วยเฉพาะกิจ. คำสั่ง กห 0505/112.
จิรพร สุเมธีประสิทธิ์. (2553). บริหารความเสี่ยงเพื่อบริหารโครงการอย่างครบวงจร. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชนิตว์สรณ์ ตรีวทิยาภูมิ. (2551). การรับรู้ ความเสี่ยง.วันที่ค้นข้อมูล 22 กันยายน 2563, เข้าถึงได้จาก http://www.ismed.or.th
ชัยณรงค์ กาสี. (2551). ขวัญและกำลังใจของกำลังพลหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 35 ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารทั่วไป, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๗๙ ก.
หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง. (2560, 8 สิงหาคม). เรื่อง การจัดกำลังพลหน่วยเฉพาะกิจหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือไปปฏิบัติงานในพื้นที่ภาคใต้. คำสั่ง กห 0520/769.
Herzberg, F. (1967). Work and the nature of man. New York: The world publishing.
Steers, M. R. (1977). Organizational effectiveness a behavioral view. San Monica California: Goodyear.