ความพึงพอใจและความผูกพันต่อสถาบันของนิสิตวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา

Main Article Content

ตวงพร รุ่งเรืองศรี

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อสถาบันของนิสิตวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ ศึกษาระดับความผูกพันต่อสถาบันของนิสิตวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ และศึกษาตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ความผูกพันต่อสถาบันของนิสิตวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบันของวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ จำนวน 111 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจต่อสถาบันของนิสิตอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านคณาจารย์ รองลงมาคือ ด้านเจ้าหน้าที่ ด้านหลักสูตร และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ตามลำดับ ส่วนความผูกพันต่อสถาบันของนิสิตวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ท่านจะรักษาและสร้างชื่อเสียงให้กับวิทยาลัย รองลงมาคือท่านภูมิใจที่เป็นนิสิตของวิทยาลัย และท่านจะแนะนำคนอื่นให้สมัครเรียนที่วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ สำหรับตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ความผูกพันต่อสถาบันของนิสิตวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ พบว่า ความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ ความพึงพอใจด้านคณาจารย์ และคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านอาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจ/บริษัทเอกชน สามารถพยากรณ์ความผูกพันต่อสถาบันของนิสิตวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

- จำรัส พิมพา. (2547). การบริหารสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร (ปริญญานิพนธ์).
สาขาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
- ชฎาภา ประเสริฐทรง. (2547). ความผูกพันต่อสถาบันของนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
- ชุติมา นิสังกาศ. (2559). การศึกษาความพึงพอใจของนิสิตบัณฑิตศึกษาที่มีต่อการจัดสภาพแวดล้อมในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (วิทยานิพนธ์). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
- ดลรวี วัฒนธรรม. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของนักศึกษาต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (วิทยานิพนธ์). สาขาการจัดการภาครัฐแนวใหม่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.
- ดลฤดี เพชรขว้าง และนันทิกา อนันต์ชัยพัทธนา. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพะเยา. พะเยา: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา.
- ปรัชญา เวสารัชช์. (2542). ชุดฝึกอบรมผู้บริหาร เรื่อง หลักการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.
- ภรณ์ทิพย์ ห่อหุ้มดี. (2558). ความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ศูนย์การศึกษาสระแก้ว (งานนิพนธ์). สาขาวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี
- ศศิธร วงศ์ประเสริฐ. (2547). ความผูกพันต่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ของนักศึกษาระดับปริญญาโทหลักสูตรบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหารจังหวัดสมุทรสาคร (สารนิพนธ์). สาขาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
- สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2561). ยุทธศาสตร์การพัฒนานิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา.
- สิริธิดา เสาหงส์. (2558). ความผูกพันของนักศึกษาปริญญาโท ภาคปกติ ที่มีต่อสถาบันการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา (วิทยานิพนธ์). สาขาวิชาสถิติประยุกต์ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.
- อเนก สุวรรณบัณฑิต และ ภาสกร วัฒนอดุลกิจ. (2548). จิตวิทยาบริการ. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์.
- Astin, A. W. (1971). The college environment (2nd ed.). New York: American Council on Education.
- Buchanan, H. B. (1974). Building organization commitment the socialization of managers in work organization. Administrative Science Quarterly, 19, pp. 533-546.
- Porter, L. W. (1974). Organizational commitment, job satisfaction and turnover among psychiatric technicians. Journal of Applied Psychology, 59, pp. 603-609.
- Steers, R. M. (1977). Antecedents and outcomes of organizational commitment. Administrative Science Quarterly, 22(1), pp. 46-56.
- Steers, R. M. and Porter, L. W. (1979). Motivation and work behavior. New York: McGraw-Hill.