นวัตกรรมนโยบายสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออก

Main Article Content

เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาการกำหนดนโยบายสวัสดิการเพื่อผู้สูงวัย และศึกษาการกำหนดนโยบายที่มีลักษณะเป็นนวัตกรรม โดยวิเคราะห์การกำหนดนโยบายจากวิสัยทัศน์ งบประมาณ และโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออก จำนวน 222 แห่ง โดยใช้ข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการบริหาร และงบประมาณ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติพรรณนา ผลการวิเคราะห์ “วิสัยทัศน์” พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกือบทั้งหมดไม่ได้มีการกำหนดนโยบายสวัสดิการเพื่อผู้สูงวัยโดยตรง แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ได้กำหนดนโยบายที่สะท้อนถึงการให้ความสำคัญกับการดูแลประชาชนโดยรวมที่ไม่ได้ระบุเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ดังนั้นผู้สูงวัยจะถูกนับรวมเป็นผู้รับประโยชน์ในนโยบายดังกล่าวด้วย สำหรับจำนวนโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการเพื่อผู้สูงวัยมีจำนวนทั้งสิ้น 1,954 โครงการ/กิจกรรม โดยเป็นโครงการ/กิจกรรมด้านการส่งเสริมรายได้/อาชีพมากที่สุด ส่วนโครงการ/กิจกรรมที่มีลักษณะเป็นนวัตกรรมพบว่ามีเพียง 374 โครงการ/กิจกรรม หรือคิดเป็นร้อยละ 19.14 จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 146 แห่ง โดยพบว่าเป็นโครงการ/กิจกรรมด้านความมั่นคงทางสังคม ครอบครัว ผู้ดูแล และการคุ้มครองมากที่สุด และเป็นโครงการ/กิจกรรมด้านรายได้/อาชีพน้อยที่สุด เมื่อพิจารณามิติด้านงบประมาณ พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกมีงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการของผู้สูงวัยที่มีลักษณะเป็นนวัตกรรมจำนวนทั้งสิ้น 48.5 ล้านบาท (ร้อยละ 2.21) เมื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการผู้สูงวัยทั้งหมดซึ่งใช้งบประมาณถึง 2,198.9 ล้านบาท

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

- Sirintip. (2554). เรื่องน่ารู้ Universal Design: การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล. สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th/Content/17180-เรื่องน่ารู้%Universal%20Design:%20การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล.html
- Tidarat Mingsamorn. (2561). การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th/Content/41684-การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ. html
- กองตรวจสอบระบบการเงินบัญชีท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (ม.ป.ป.). ข้อบกพร่องการส่งเสริมกลุ่มอาชีพ. สืบค้นจาก http://www.dla.go.th/ upload/templateOrganize/menu/2014/12/1417504091810.pdf
- โกวิทย์ พวงงาม. (2548). มาตรฐานการสงเคราะห์ผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.
- ตารางกำหนดขนาดตัวอย่างของ R.V. Krejcie และ D.W. Morgan. (ม.ป.ป.) สืบค้นจาก http://www.watpon.com/table/mogan.pdf
- เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ. (2558). ข้อเสนอทางเลือกการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับความต้องการและเงื่อนไขทางสังคมในชุมชนจังหวัดชลบุรี (ดุษฎีนิพนธ์). สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
- บรรเจิด สิงคะเนติ และดารุณี พุ่มแก้ว. (2560). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในมิติปัญหาทางการคลัง. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์, 15(2), 3-25.
- ปณิธี บราวน์. (2557). พฤฒพลัง: บทบาทของกลุ่มผู้สูงอายุและ “ทุน” ที่ใช้ในการขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงวัย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 31(3), หน้า 97-120.
- ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2558). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พัลลิชชิ่ง.
- ปิยากร หวังมหาพร. (2550). นวัตกรรมการนำนโยบายผู้สูงอายุไปปฏิบัติขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
- รุจา รอดเข็ม. (2562). สังคมสูงวัย: กิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 9(2), หน้า 1-9.
- วิทยา จิตนุพงศ์. (2560). ปัญหาการบริหารการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสารรัชต์ภาคย์ฉบับพิเศษ ครบรอบ 23 ปี, หน้า 320-311.
- ศิริวรรณ ศิริบุญ. (2553). บทบาทของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับผู้สูงอายุ. ใน ชื่นตา วิชชาวุธ, นภาพร ชโยวรรณ, ยุพา วงศ์ไชย, ประคอง อินทรสมบัติ, และ นันทศักดิ์ ธรรมานวัตร (บรรณาธิการ). การทบทวนและสังเคราะห์องค์ความรู้ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2545-2550 (หน้า 227-288). กรุงเทพฯ: คิว พี.
- ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น. (2555). พฤฒพลังของผู้สูงอายุไทย การปันผลทางประชากร และโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในสังคมสูงวัย. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 4(7), หน้า 201-214.
- ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น. (2556). ความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุในครอบครัวสูงวัยในประเทศไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 4(2), หน้า 92-103.
- สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2553). การจัดการความรู้กับนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: หจก.สามลดา.
- สุกัญญา แช่มช้อย. (2555). แนวคิดเชิงนวัตกรรมสำหรับการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(2), หน้า 117-128.
- สุชรินทร์ พีรยานันท์ และไพโรจน์ ภัทรนรากุล. (2559). การศึกษานโยบายและมาตรการเชิงกลยุทธ์ในการดูแลสวัสดิการ เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุไทย. วารสารวิจัย มสด สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 12(3), หน้า 19-37.
- Maryville, S. (1992). Entrepreneurship in the Business Curriculum. Journal of Education for Business, 68(1), pp. 27-31.