อีสานในอาเซียน: ความเหลื่อมล้ำกับการพัฒนาภูมิภาค

Main Article Content

โอม ฉัตรนนท์

บทคัดย่อ

          ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน ถือเป็นภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยทั้งในด้านพื้นที่และประชากรแต่มีความยากจนและความเหลื่อมล้ำสูงกว่าภาคอื่น ๆ ทั้งที่ปัจจุบันภาคอีสานเป็นพื้นที่สำคัญในยุทธศาสตร์การพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจของประชาคมอาเซียน การศึกษานี้เป็นการวิจัยเอกสารเชิงคุณภาพที่ใช้การวิเคราะห์แบบเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศมาอธิบายการพัฒนาภูมิภาคที่เชื่อมโยงนโยบายระดับระหว่างประเทศและการพัฒนาพื้นที่ภายในประเทศซึ่งเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ผลการศึกษาพบว่า ประการแรก ความเป็นภูมิภาคของอีสานเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทระหว่างประเทศโดยเฉพาะกระแสภูมิภาคนิยมในปัจจุบันที่ส่งเสริมระบบตลาด ประการที่สอง การพัฒนาภูมิภาคสัมพันธ์กับระบบทุนนิยมและการปรับบทบาทของรัฐเพื่อก้าวข้ามข้อจำกัดในการขยายตัวของระบบตลาด และประการสุดท้าย หากพิจารณาตามแนวคิดการพัฒนาทางภูมิศาสตร์ที่ไม่เท่าเทียม กระบวนการข้างต้นมีแนวโน้มที่จะรักษาและขยายความเหลื่อมล้ำระหว่างพื้นที่อีสานและภูมิภาคอื่นเพราะจะเกิดการแข่งขันระหว่างพื้นที่ในการดึงดูดการลงทุนและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สามารถเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

- กนกวรรณ มะโนรมย์. (2562). เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนอีสานภายใต้เสรีนิยมใหม่และรัฐในฐานะนายหน้าที่ดิน: กรณีศึกษาเขตเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 45(1), หน้า 269-299.
- กุลลดา เกษบุญชู มี้ด. (2556). กระบวนการเข้าสู่ความเป็นสากลของระบบทุนนิยมและเสรีนิยมใหม่. วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 43(2), หน้า 7-43.
- คณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค. (2561). แผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สืบค้นจาก http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7526
- ณัฐพล แสงอรุณ. (2556). การพัฒนาเมืองหลักและผลกระทบต่อความเจริญของภาค: กรณีศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (ดุษฎีนิพนธ์) สาขาวิชาสหวิทยาการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
- ปนัดดา ภู่หอม. (2561). EEC ภาคต่อ Eastern Seaboard: ก้าวสำคัญการลงทุนไทย: Economic Hot Issue, สืบค้นจากhttps://www.gsb.or.th/getattachment/a7529f4e-ae04-44cd-9d50e2bf9588bd7f/14MC_hotissue_internet_EEC_ex.aspx
- ปวริศร เลิศธรรมเทวี, วรรณิวภา พัวศิริ, และวิภาวี รุ่งวณิชชา. (2560). การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวทางของอาเซียน: รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
- ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. (2561). หลังเขตเศรษฐกิจพิเศษ. เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
- ผาสุก พงษ์ไพจิตร, บรรณาธิการ. (2557). สู่สังคมไทยเสมอหน้า. กรุงเทพฯ: มติชน.
- พอพันธ์ อุยยานนท์. (2560). เศรษฐกิจอีสาน: พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- พัฒนา กิติอาษา. (2557). สู่วิถีอีสานใหม่. กรุงเทพฯ: วิภาษา.
- สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.). (2554). ทิศทางการพัฒนาภาค ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
- สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.). (2559). ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2565). เอกสารการประชุมประจำปีของ สศช. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
- สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.). (2561). รายงานสถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในระดับภาคของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาข้อมูลและตัวชี้วัดสังคม, สศช.
- สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.). (2562). ผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัดแบบปริมาณลูกโซ่ ฉบับ พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
- สุวิทย์ ธีรศาศวัต และดารารัตน์ เมตริกานนท์. (2541). ประวัติศาสตร์อีสาน หลังสงครามโลกครั้งที่สองจนถึงปัจจุบัน. ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
- อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. (2557). ประชาธิปไตย คนไทยไม่เท่ากัน. กรุงเทพฯ: มติชน.
- Alvaredo, F., and Gasparini, L. (2015). Recent trends in inequality and poverty in developing countries. In Anthony, B.A., and Francois B. (Eds). Handbook of income distribution. Amsterdam: North Holland.
- ASEAN Secretariat. (2016). Initiative for ASEAN Integration (IAI) work plan 3. Jakarta: ASEAN Secretariat.
- ASEAN Secretariat. (2017). ASEAN Framework Action Plan on Rural Development and Poverty Reduction 2016-2020. Jakarta: ASEAN Secretariat.
- Asian Development Bank. (2012). Asian Development Outlook 2012: Confronting Rising Inequality in Asia. Manila: ADB.
- Asian Development Bank. (2015). Greater Mekong Subregion Statistic on Growth, Connectivity and Sustainable Development. Manila: ADB.
- Credit Suisse. (2018). Global wealth report 2018. Zurich: Credit Suisse Research Institute.
- Feeny, D. (2003). The political economy of regional inequality: The Northeast of Thailand 1800-2000. Crossroads: An Interdisciplinary Journal of Southeast Asian Studies, 17(1), pp. 29-59.
- Glassman, J. (2004). Thailand at the margins: internationalization of the state and the transformation of labour. Oxford: Oxford University Press.
- Gugler, P., & Vanoli, L. (2017). Convergence or divergence of prosperity within the ASEAN Community?: A crucial issue for the success of the ASEAN economic community (AEC) process. International Journal of Emerging Markets, 12(3), pp. 610-624.
- Harris, D. (2008). Uneven development. In Steven N. D., & Lawrence E. B. (Eds). The New Palgrave dictionary of economics (2nd ed.). Palgrave: Macmillan.
- Harvey, D. (1996). Justice, nature and the geography of difference. Oxford: Basil Blackwell.
- Harvey, D. (2010). The enigma of capital and the crises of capitalism. London: Profile Books.
- Hettne, B. (2005). Beyond new regionalism. New Political Economy, 10(4), pp. 543-571.
- Hettne, B., and Söderbaum, F. (2002). Theorising the rise of regionness. In S. Breslin, C.W. Hughes, N. Phillips,
- B. Rosamond (Eds). New regionalism in the global political economy (pp. 33-47). London: Routledge.
- Jayasuriya, K. (2013). Regulatory state with dirigiste characteristics: Variegated pathways of regulatory governance. In Dubash N., & Morgan, B. (Eds). The rise of the regulatory state of the South: Infrastructure and development in emerging economies (pp. 185-197). Oxford University Press.
- Kiely, R. (2012). Spatial hierarchy and/or contemporary geopolitics: What can and can’t uneven and combined development explain?. Cambridge Review of International Affairs, 25(2), 231-248.
- Kmonwatananisa, N. (2008). Thailand’s management of regional and spatial development. National Economic and Social Development Board.
- Lao, R., Parks, T.I., Sangvirojkul, C., Lek-Uthai, A., Pathanasethpong,
- A., Arporniem, P., Takkhin, T., and Tiamsai, K. (2019). Thailand’s inequality: Myths & reality of Isan. Bangkok:
The Asia Foundation.
- Phatharathananunth, S. (2016). Rural transformations and democracy in Northeast Thailand. Journal of contemporary Asia, 46(3), pp. 504-519.
- Piketty, T. (2014). Capital in the Twentieth First Century. Cambridge, Massachusetts, London, England: Belknap Press of Harvard University Press.
- Rock, M. T. (2017). Dictators, democrats and development in Southeast Asia: Implications for the rest. New York:
Oxford University Press.
- Stiglitz, J. E. (2012). The price of inequality. New York: W.W. Norton and Company.
- Wei, Y. D., (2015). Spatiality of regional inequality. Applied Geography, 61(2015), pp. 1-10.
- World Bank. (2017). World development indicator. Retrieved from http://databank.worldbank.org/data/reports.aspx?Code=NY.GDP.MKTP.KD.ZG&id=1ff4a498&report_name=PopularIndicators&populartype=series&ispopular=y
- World Economic Forum. (2018). The inclusive development index 2018: Summary and data highlights. Geneva:
World Economic Forum.