การสร้างสรรค์นวัตกรรมการบริการสาธารณะของเทศบาลเมือง ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นและเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมการบริการสาธารณะของเทศบาลเมืองในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพกลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของเทศบาลเมืองในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ 1) เทศบาลเมืองชลบุรี 2) เทศบาลเมืองบ้านสวน 3) เทศบาลเมืองแสนสุข และ 4) เทศบาลเมืองอ่างศิลา รวมทั้งสิ้น 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ t-test และ One-way ANOVA กรณีพบความแตกต่างจะวิเคราะห์คู่ที่แตกต่างโดยใช้สถิติ Scheffe’
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมการบริการสาธารณะของเทศบาลเมืองในพื้นที่อำเภอเมือง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค และด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคู่เศรษฐกิจพอเพียง และด้านการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ตามลำดับ2) ประชาชนที่มีเพศแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมการบริการสาธารณะของเทศบาลเมืองไม่แตกต่างกันส่วนประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมการบริการสาธารณะของเทศบาลเมืองในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Article Details
References
- ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. (2552). แนวทางการวิจัยนวัตกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: มุมมองเชิงเศรษฐศาสตร์สถาบัน. กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุ๊คส์.
- นรา ณ ร้อยเอ็ด. (2551). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลดงลาน อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
- ไพวรรณ อุปลี. (2552). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลมะค่า อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
- ยิ่งลักษณ์ ทิพย์สิงห์. (2555). ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการจัดบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลมาย อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร. (วิทยานิพนธ์) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.
- ยุวนัส จำปามูล. (2553). ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลลำปลายมาศ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. (ภาคนิพนธ์) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.
- วรวรรณ กีรติสุวคนธ์. (2553). ความคาดหวังของประชาชนต่อการบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์) สาขาวิชานโยบายสาธารณะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, กรุงเทพฯ.
- วุฒิพงษ์ ภักดีเหลา. (2554). การศึกษาคุณลักษณะขององค์การนวัตกรรม: กรณีศึกษาองค์การที่ได้รับรางวัลด้านนวัตกรรม. (วิทยานิพนธ์) สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.
- สันติ์ ศรียา. (2559). ประสิทธิภาพในการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน. (ดุษฎีนิพนธ์) สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, เชียงราย.
- สุพจน์ บุญวิเศษ. (2561). สภาพนวัตกรรมการบริการสาธารณะและความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อนวัตกรรมการบริการสาธารณะในเทศบาลเมืองในพื้นที่จังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดชลบุรี. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดชลบุรี ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2560-2564). ชลบุรี: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดชลบุรี.
- อรทัย ก๊กผล และฉัตรระวี ปริสุทธิญาณ. (2552). เคล็ดลับการจัดบริการสาธารณะท้องถิ่นบทเรียนจากรางวัลพระปกเกล้า. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.