ปัจจัยเชิงสาเหตุของประสิทธิผลของคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เขตนิคมอุตสาหกรรมภาคกลางและภาคตะวันออก

Main Article Content

ทศพล เชิดชัยภูมิ
ปิ่นกนก วงศ์ปิ่นเพ็ชร์
เบญจวรรณ บุณยะประพันธ์

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความตรงของแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลของทีมงานกับข้อมูลเชิงประจักษ์กลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเขตนิคมอุตสาหกรรม จำนวน 430 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูล 5 ตัวแปร ได้แก่ ประสิทธิผลของทีมงาน ความเหนียวแน่นในทีม ทัศนคติต่องาน ประสิทธิผลของการติดต่อสื่อสาร และแรงจูงใจภายในงานของทีม โดยใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างผลการศึกษาพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลของทีมงานมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ทั้งนี้ ประสิทธิผลของการติดต่อสื่อสาร ทัศนคติต่องาน และความเหนียวแน่นในทีม อธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลของทีมงานได้ร้อยละ 85.3 โดยความเหนียวแน่นในทีมมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลของทีมงานมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

- กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2550). คู่มือการฝึกอบรมหลักสูตรคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.). กรุงเทพฯ: เรียงสาม กราฟฟิค ดีไซน์.
- การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย.(2560). I-EA-T 4.0. รายงานประจำปี 2560 การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, 6(1), หน้า 71-74.
- เครดิต ดําพริก. (2559). ปัจจัยของคุณภาพแรงงานที่มีผลต่อประสิทธิผลทีมงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ โรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง (วิทยานิพนธ์). สาขาการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
- ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. (2553). การบริหารงานและการแก้ปัญหา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : สหธรรมิก.
- บัณฑิต วาสนา และมูลนิธิอารมณ์. (2549). สหภาพแรงงานและ คปอ.กับการมีส่วนร่วมพัฒนาความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ. สืบค้นเมื่อ มกราคม 2562, จาก http://www.wept.org/index.php/contact.
- บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย: คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- มนตรี พิริยะกุล. ตัวแบบเส้นทางกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน. รายงานการประชุมวิชาการสถิติและสถิติประยุกต์ ครั้งที่ 11 ประจำปี 2553. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2553.
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2553). การบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: สุโขทัยธรรมาธิราช.
- เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2559). ทีมงาน: Teamwork: พลังที่สร้างความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: โอ. เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
- ศยามล เอกะกุลานันนต์. (2550). สภาพแวดล้อมภายในทีมและภายนอกทีม และกระบวนการทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของทีมข้ามสายงานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครีนทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
- สิริอร วิชชาวุธ (2553). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ธรรมศาสตร์.
- Amabile T.M. et al. (1994). The Work Preference Inventory: Assessing Intrinsic and Extrinsic Motivational Orientations. Journal of Personality and Social Psychology, (66)5, pp.950-967.
- Barrick et al. (1997). The Relating Member Ability and Personality to Work-Team Processes and Team Effectiveness. Journal of Applied Psychology, (83)3, pp.377-391.
- Carron, A. V. (1982). Cohesiveness in the sport groups: Interpretations and Consideration. Journal of Sport Psychology, n.d.(4), pp.123-138.
- George, J. M. & Jones, G, R. (2005). Understanding and Managing Organizational Behavior (6th). New Jersey: Pearson Education.
- Hackman, J. R. (1987). The design of work teams: Handbook of organizational behavior. Englewood Cliffs NJ : Prentice Hall.
- Hackman, J. R. & Walton, R. E. (1986). Leading groups in organizations. San Francisco, CA: Jossey-Bass.
- Hair, J. F., Jr., et al. (1998). Multivariate data analysis. 5th ed. New Jersey: Prentice Hall.
- Hair, J. F., Jr., et al. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective (7th). Upper Saddle River, NJ: Pearson Education.
- Huang, Chi-Cheng. (2009). Knowledge sharing and group cohesiveness on performance: An empirical study of technology R&D Teams in Taiwan. Journal of Technovation, 4(3), pp.786-797.
- Jones, G. R. & George, J. M. (2007). Essentials of Contemporary Management (2nd). Chicago: Irwin.
- Jouanne et al. (2017). Correlates of team effectiveness : an exploratory study of firefighter’s operations during emergency situations. Journal of Applied Ergonomics, 61(n.d.), pp.69-77.
- Judge, T. A. & Kammeyer-Mulleller. (2012). Job Attitude. Journal of The Annual Review of Psychology, (63)14, pp.344-367.
- Kreitner, R. & Kinicki A. (1995). Organizational Behavior (3rd). Chicago: Irwin.
- Luthans, F. (2011). Organizational Behavior (12th). New York: McGraw-Hill.
- MacCoun, R. (1993). Sexual Orientation and U.S. Military Personnel Policy: Options and Assessment. Santa Monica: RAND.
- MacCoun, R. & Hix, W. M. (2010). Sexual Orientation and U.S. Military Personnel Policy. Santa Monica: RAND.
- Mikalachki, A. (1969). Group cohesion reconsidered. London: Western Ontario. National Institute of Agricultural Extension Management, (n.d.). Training Program on Effective Communication. India: The Ministry of Agriculture.
- Ormrod, J. E. (2004). Human learning (4th). Upper Saddle River, NJ: Pearson Merrill Prentice Hall.
- Othman, A. K., Abdullah, H. S. & Ahmad, J. (2009). The influence of work motivation on emotional intelligence and team effectiveness. Journal of Business Perspective, 13(4), pp.1-14.
- Peterson, A.J. S. & Martens, R. (1972). Success and residential affiliation as determinants of team cohesiveness. Journal of Research Quarterly, 4(3), pp.62-75.
- Robbins, S. P. & Judge, T. A. (2009). Organizational Behavior (13th). New Jersey: Pearson Education.
- Robbins, S. P. & Judge, T. A. (2013). Organizational Behavior (15th). New Jersey: Pearson Education.
- Robbins, S. P. & Judge, T. A. (2016). Essentials of Organizational Behavior (15th). New Jersey: Pearson Education.
- Salas, E. (2015). Measuring Team Cohesion: Observation from the Science. Journal of Human Factor, 57(3), pp.365-374
- Tubbs, S. L. & Moss, S. (2006). Human Communication: Principles and Context (10th). Boston: McGraw Hill.
- Wiley, J. & Sons. (1996). Management and Organizational Behavior. Canada: England Book.