รูปแบบของการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวเพื่อรองรับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นในประเทศไทย: กรณีศึกษาอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษารูปแบบการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวเพื่อรองรับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น ซึ่งใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานเพื่อศึกษาคุณลักษณะและความต้องการของชาวญี่ปุ่น และเสนอรูปแบบการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวเพื่อรองรับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยผลักดันสำคัญสำหรับการจัดการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวในประเทศไทย คือ นโยบายรัฐบาลของรัฐบาลญี่ปุ่น และปัจจัยดึงดูด คือ อากาศและสภาพแวดล้อมของประเทศไทย และค่าครองชีพ บทความนี้เสนอ “รูปแบบการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวเพื่อรองรับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นแบบสบาย ๆ (Kaiteki Style) ณ ศรีราชา: เมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ” ซึ่งควรมีลักษณะ คือ (1) ความสบายกาย: ที่พักอาศัยมีสิ่งอำนวยความสะดวก ปลอดภัย และสงบ มีอาหารที่มีคุณภาพ สภาพแวดล้อมทางกายภาพมีความปลอดภัย มีความสะดวกในการเดินทาง และมีบริการสุขภาพที่มีมาตรฐาน (2) ความสบายใจ: สร้างความรู้สึกให้เสมือนอยู่ในประเทศญี่ปุ่น (ที่พักอาศัย อาหาร สถานที่ทำกิจกรรม/พบปะระหว่างกัน) มีผู้ดูแล/ผู้ให้บริการที่สื่อสารภาษาญี่ปุ่นได้ บริการสุขภาพได้รับความคุ้มครองจากระบบประกันสุขภาพ และมีบริการและเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเข้าถึงข้อมูลโดยใช้ภาษาญี่ปุ่น ทั้งนี้ต้องอยู่บนเงื่อนไขจำเป็น คือ การสร้างลักษณะทางกายภาพที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ พื้นที่สาธารณะมีมาตรฐาน ปลอดภัย มีสิ่งอำนวยความสะดวกเหมาะสม การพัฒนาระบบการตรวจลงตราให้มีมาตรฐาน และการพัฒนาบุคลากรทั้งภาคเอกชนและภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว
Article Details
References
- กรุงเทพธุรกิจ. (2562, 19 เมษายน). 'ประธานเจโทร กรุงเทพ' ชี้นักลงทุนญี่ปุ่นยังมั่นใจลงทุนในไทย. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/ detail/832884
- กระทรวงการท่องเทียวและกีฬา. (2562, 8 กันยายน). สถานการณ์การท่องเที่ยวปี 2561 และแนวโน้มปี 2562. สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/ewt_dl_ link.php?nid=11273
- พัฒน์นรี ศรีศุภโอฬาร และณัฐพล อัสสะรัตน์. (2555). อิทธิพลของระยะห่างทางจิตใจและภาพลักษณ์ของ ประเทศที่มีผลต่อการยอมรับผู้ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุชาวไทยโดยผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น. วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา, 2(1), หน้า 20-36.
- พิชญลักษณ์ พิชญกุล และอดิศักดิ์ ธีรานุพัฒนา. (2561). การรับรู้เกี่ยวกับเชียงใหม่ของกลุ่มชาวญี่ปุ่นสูงอายุที่พำนักระยะยาว. วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา, 8(2), หน้า 38-57.
- วารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2554). ส่วนประสมตลาดการท่องเที่ยวพำนักระยะยาวสำหรับนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นที่พำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 19(พิเศษ), หน้า 80-88.
- วิไล โทโมดะ. (2547). ปัจจัยที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นให้มาท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ (การค้นคว้าอิสระ). สาขาเศรษฐศาสตร์การเมือง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
- สุดปรารถนา ดวงแก้ว. (2558). การปรับตัวทางวัฒนธรรมของคนญี่ปุ่นวัยหลังเกษียณที่พำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย. วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 31(2), หน้า 57-76.
- Ono, Mayumi. (2008). Long-stay tourism and international retirement migration: Japanese retirees in Malaysia. In Yamashita et al. (Eds), Transnational Migration in East Asia Senri Ethnological Reports, 77, pp.151-162.
- Takeuchi, Masami. (2012). Living abroad after retirement: A discussion on the psychological aspects of Japanese long-term stayers in Thailand. Multicultural Relations, 9, pp.3-19. (in Japanese)