พัฒนาการของช่องทางในการแสดงออกทางการเมืองในสื่อออนไลน์ ช่วง พ.ศ.2557-2560

Main Article Content

วุฒิพล วุฒิวรพงศ์
กิ่งกาญจน์ จงสุขไกล

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของช่องทางในการแสดงออกทางการเมืองในสื่อออนไลน์ ช่วง พ.ศ.2557-2560 ซึ่งเป็นช่วงนับตั้งแต่การเกิดรัฐประหารในประเทศไทย ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารทุติยภูมิ โดยเฝ้าดูปรากฏการณ์ของการแสดงความเห็นทางการเมือง ในแต่ละแพลทฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ในห้วงเวลาดังกล่าว ทั้งแพลทฟอร์มหลักและแพลทฟอร์มรอง


             ผลการศึกษาพบว่า กรณีแพลทฟอร์มหลัก เฟซบุ๊กเป็นช่องทางการแสดงออกทางการเมืองที่สามารถรองรับกระแสความสนใจทางสังคมและการเมืองของผู้คนในสังคมไทยอย่างมาก ยูทูป มีจุดเด่นในการอธิบายด้วยภาพและเสียงที่ไม่ต้องผ่านการอ่าน ทำให้เข้าถึงผู้ใช้ผู้รับชมจำนวนมาก กรณีแพลทฟอร์มรอง ทวิตเตอร์ มีความสำคัญต่อการเมืองไทยในฐานะที่นักการเมืองไทยรุ่นใหม่เคยใช้และเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นในปัจจุบัน ส่วนอินสตาแกรมได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมี “แฮชแท็ก” หรือคำสำคัญ เพื่อแสดงเสียงสนับสนุนและเจตนารมณ์ร่วมกัน ส่วนไลน์ (Line) ซึ่งเป็นการสื่อสารจากผู้ใช้สู่ผู้ใช้นั้น ได้รับความนิยมมากขึ้นเมื่อมีการควบคุมเนื้อหากับพื้นที่เฟซบุ๊กที่ทำให้การแบ่งปันส่งต่อกลายเป็นความผิดและสามารถถูกดำเนินคดีได้ ส่งผลให้การแสดงความคิดเห็นและเนื้อหาทางการเมืองอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมาบนเฟซบุ๊กของผู้ใช้งานในประเทศไทยเป็นไปได้น้อยลง นำไปสู่การเติบโตของโปรแกรมสนทนา (Instant Messenger) แบบกลุ่มปิด (Private Group) รวมถึงการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานเพื่อซ่อนการเข้าถึงจากสาธารณะ (Privacy Setting) และการปิดบังอัตลักษณ์ของตนเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกสอดส่องและการถูกตรวจสอบ

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biography

วุฒิพล วุฒิวรพงศ์, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ประวัติการศึกษา
พ.ศ. 2557     ปร.ด. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สหวิทยาการ) วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
                        - ดุษฎีนิพนธ์ “เครือข่ายแห่งการบริโภค: ลัทธิธุรกิจเครือข่ายในสังคมไทยสมัยใหม่”
พ.ศ. 2557     ร.ม. รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต (ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) - (ภาคภาษาอังกฤษ) คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
                      - วิทยานิพนธ์ “The International Political Economy of Thai Automotive Industry as the ‘Detroit of Asia’ : Case Study of Carmakers”

พ.ศ. 2542      วศ.บ. วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วิศวกรรมเครื่องกล) - (ภาคภาษาอังกฤษ) สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประสบการณ์การทำงาน

พ.ศ. 2559     - อาจารย์ประจำ กลุ่มวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
                                 - ผู้สอนหลักรายวิชา POL4187, POL4247, POL4251, POL4282, POL4283
                                 - ผู้สอนร่วมรายวิชา POL2200, POL2202, POL4210, POL6094, POL6200, POL6201, POL7209
พ.ศ. 2550-2558     - อาจารย์ประจำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

References

- “นายกเป็นคนตลก” [เพจเฟซบุ๊ก]. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 22, 2561, จากhttps://www.facebook.com/nayoktalok/
พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์. (2554). สื่อแห่งอนาคต: สื่อสังคมออนไลน์. วารสารนักบริหาร, 31(4), หน้า 99-103.
- สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2560). การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 1, 2561, จาก https://www.nso.go.th/sites/2014/ด้านICT/เทคโนโลยีครัวเรือน /2560/FullReportICT_60.pdf
- Castells, M. (2000). The rise of the network society: The information Age: Economy, society and culture, Vol.1 (2nd ed.). Oxford, UK: Blackwell.
- Hine, C. (2000). Virtual ethnography. London, UK: Sage.
- Kozinets, R. V., (1997). I want to believe: A Netnography of the X-Philes’ subculture of consumption. Advances in Consumer Research, 24, pp. 470-475.
- Lewis, G. (2006). Virtual Thailand: the media and cultural politics in Thailand, Malaysia and Singapore. New York, NY: Routledge.
- Miller, D. and Don Slater, D. (2000). The internet: An ethnographic Approach. Oxford, UK: Berg.