รูปแบบการนำนโยบายการศึกษาปฐมวัยไปปฏิบัติของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรี

Main Article Content

กันตนา มาใหญ่
สุปราณี ธรรมพิทักษ์

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการนำนโยบายการศึกษาปฐมวัยไปปฏิบัติของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรี ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นแนวทางในการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการคัดเลือกศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรี ประกอบด้วยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลนครจำนวน 8 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลเมืองจำนวน 5 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลจำนวน 5 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 5 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำนโยบายการศึกษาปฐมวัยไปปฏิบัติของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรีจำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 20 คน กลุ่มที่ 2 คณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 40 คน  กลุ่มที่ 3 บุคลากรซึ่งทำหน้าที่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 60 คน กลุ่มที่ 4 ผู้ปกครองเด็กเล็กจำนวน 60 คน ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) และข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แบบหน่วยบริบท (Contextual Unit)


            การวิจัยครั้งนี้ได้ข้อค้นพบรูปแบบการนำนโยบายการศึกษาปฐมวัยไปปฏิบัติของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรี ประกอบไปด้วยปัจจัย 7 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านการมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินนโยบายเฉพาะ การมีมาตรฐานในการสร้างความร่วมมือกับเครือข่าย การที่ชุมชนท้องถิ่นให้การสนับสนุนการจัดการศึกษา การจัดสรรงบประมาณ การกระจายอำนาจการจัดการศึกษา กฎระเบียบชัดเจน และกลไกขับเคลื่อนนโยบาย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่เชื่อมโยงกระบวนการการนำนโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่ที่เป็นรูปธรรม 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

- ชินรัตน์ สมสืบ. (2553). หน่วยที่ 5 การนำนโยบายไปปฏิบัติ. ในประมวลสาระชุดวิชานโยบายสาธารณะ. นนทบุรี: สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
- ประเวศ วะสี. (2557). อภิวัฒน์การเรียนรู้สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.).
- เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2551). การนำนโยบายไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
- วรเดช จันทรศร. (2554). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
- วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา และคณะ. (2560). การสังเคราะห์เปรียบเทียบนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาของประเทศเวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย และประเทศไทย. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2), หน้า 2373-2391.
- ศิรินนภา นามมณี, อนุศักดิ์ เกตุสิริ และจิณณวัตร ปะโคทัง. (2557). รูปแบบการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีประสิทธิผลสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 9(2), หน้า 114-126.
- Barrett, S. and Fudge, C. (1981). Policy and action. New York: Methuen.
- Van Meter, D. S. and Van Horn, C. E. (1975). The policy implementation process: A conceptual framework. Administrative and Society, 6(4), pp.445-488.
- Yin, R. K. (2009). Case study research: Design and methods. (4th ed.). Thousand Oaks, CA: Sage Publication.