วัฒนธรรมองค์การขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร และเทศบาลเมืองในจังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง

Main Article Content

อุษณากร ทาวะรมย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์การในปัจจุบันขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร และเทศบาลเมืองในจังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง และเพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์การที่ต้องการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร และเทศบาลเมืองในจังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร และเทศบาลเมืองในจังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง รวมทั้งสิ้น 4,225 คน พร้อมทั้งสัมภาษณ์เชิงลึกผู้แทนของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ จำนวน 24 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมองค์การในปัจจุบันที่เป็นวัฒนธรรมเด่นคือ วัฒนธรรมสายบังคับบัญชา และมีวัฒนธรรมรองคือ วัฒนธรรมสัมพันธ์เกื้อกูล ส่วนวัฒนธรรมที่ต้องการคือ วัฒนธรรมสัมพันธ์เกื้อกูล สำหรับแนวทางการจัดการวัฒนธรรม คือ (1) ลดวัฒนธรรมสายบังคับบัญชา และเพิ่มวัฒนธรรมการปรับเปลี่ยนให้มากขึ้น (2) เตรียมคนให้พร้อม สร้างแผนปฏิบัติการรองรับให้เป็นรูปธรรมชัดเจน ปรับวิธีการทำงานที่เน้นความคิดสร้างสรรค์ การทำงานเชิงรุก และนำเทคโนโลยีมาช่วยในการทำงานและการบริการ และ (3) ลักษณะที่องค์การต้องเน้น ได้แก่ การสร้างพลังอำนาจแก่บุคลากรให้มากขึ้น การส่งเสริมการทำงานเป็นทีม การส่งเสริมการมีส่วนร่วม การปรับระเบียบให้ยืดหยุ่น การสนับสนุนความคิดใหม่ ๆ ในการปฏิบัติ รวมทั้ง การปรับตัวให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมและความต้องการของผู้รับบริการ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

- กมลลักษณ์ ธนานันต์เมธี. (2559). อิทธิพลของธรรมาภิบาลและวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย,21(1), หน้า 135-142.
- ชนิดา จิตตรุทธะ. (2559). วัฒนธรรมองค์การ: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยและปัจจัยกำหนดความสำเร็จทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- ณัฐวุฒิ แก้วบางพูด. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับวัฒนธรรมองค์การ กรณีศึกษา: เทศบาลนครภูเก็ต (วิทยานิพนธ์). สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมและมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, สืบค้นจาก https://www.nrct.go.th.
- ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2551). ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์รัตนไตร.
- นฤมล ชุนถนอม. (2551). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การและ ประสิทธิภาพองค์การ: ศึกษากรณีสำนักงานเทศบาลตำบลในเขตอำเภอสามพราน (วิทยานิพนธ์). สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมและมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, สืบค้นจาก https://www.nrct.go.th.
- ผู้ให้สัมภาษณ์ A1. (2561, 31 พฤษภาคม). รองปลัดเทศบาล [บทสัมภาษณ์].
- ผู้ให้สัมภาษณ์ A2. (2561, 31 พฤษภาคม). ผู้อำนวยการกองวิชาการและแผนงาน [บทสัมภาษณ์].
- ผู้ให้สัมภาษณ์ A3. (2561, 31 พฤษภาคม). ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม [บทสัมภาษณ์].
- ผู้ให้สัมภาษณ์ A4. (2561, 31 พฤษภาคม). หัวหน้าฝ่ายบริหารสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม [บทสัมภาษณ์].
- ผู้ให้สัมภาษณ์ B1. (2561, 16 พฤษภาคม). นายกเทศมนตรี [บทสัมภาษณ์].
- ผู้ให้สัมภาษณ์ B3. (2561, 16 พฤษภาคม). ปลัดเทศบาล [บทสัมภาษณ์].
- ผู้ให้สัมภาษณ์ B4. (2561, 16 พฤษภาคม). รองปลัดเทศบาล [บทสัมภาษณ์].
- ผู้ให้สัมภาษณ์ B6. (2561, 16 พฤษภาคม). หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ [บทสัมภาษณ์].
- ผู้ให้สัมภาษณ์ C1. (2561, 31 พฤษภาคม). รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด [บทสัมภาษณ์].
- ผู้ให้สัมภาษณ์ C2. (2561, 31 พฤษภาคม). หัวหน้าสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด [บทสัมภาษณ์].
- ผู้ให้สัมภาษณ์ D1. (2561, 23 พฤษภาคม). รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด [บทสัมภาษณ์].
- ผู้ให้สัมภาษณ์ D2. (2561, 23 พฤษภาคม). รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด [บทสัมภาษณ์].
- พรรณทิภา นิลโสภณ. (2551). วัฒนธรรมองค์การและปัจจัยที่กำหนด: ศึกษากรณีหน่วยงานภาครัฐ (วิทยานิพนธ์). สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สืบค้นจาก https://www.nrct.go.th.
- พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2552). องค์การ และการบริหารจัดการ. กรุงเทพฯ: บริษัท ไอดีซี พรีเมียร์ จำกัด.
- มนัญญา ประสูตร์แสงจันทร์. (2552). วัฒนธรรมองค์การกับการพัฒนาตนเองของพนักงานครูเทศบาลสังกัดเทศบาลในจังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, สืบค้นจาก https://www.nrct.go.th.
- ยุวันดา สุทธิดี. (2552). รูปแบบวัฒนธรรมองค์การขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครสวรรค์ (วิทยานิพนธ์). แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, สืบค้นจาก https://www.nrct.go.th.
- รัตนสุคนธ์ สมนึก. (2557). ความสัมพันธ์ของการรับรู้วัฒนธรรมองค์การกับความผูกพันองค์การ: กรณีศึกษากองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) (วิทยานิพนธ์). สาขารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, สืบค้นจาก https://www.nrct.go.th.
- ศรีสกุล เจริญศรี, ไชยา ยิ้มวิไล และปิยากร หวังมหาพร. (2559). ธรรมาภิบาล วัฒนธรรมองค์การ กับประสิทธิผลองค์การของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ. วารสารช่อพะยอม, 27(1), หน้า 47-62.
- สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม. (2560). พิมพ์เขียว Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. สืบค้นจาก https://www.libarts.up.ac.th/v2/img/Thailand-4.0.pdf
- สุดารัตน์ โยธาบริบาล. (2553). วัฒนธรรมองค์การกับผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานอำเภอเมืองนครปฐม (วิทยานิพนธ์). สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมและมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, สืบค้นจาก https://www.nrct.go.th.
- สุวิมล ติรกานันท์. (2556). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- Cameron, Kim S., and Quinn, Robert E. (1999). Diagnosing and changing organizational culture. Massachusetts: Addison-Wesley.