ความต้องการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา ของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา

Main Article Content

ตวงพร รุ่งเรืองศรี

บทคัดย่อ

รายงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสนใจสาขาวิชาการบริหารการพัฒนา 2) ความต้องการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา 3) การตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา และ 4) คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ตามความต้องการของผู้บริหารองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาในภาคปลาย ปีการศึกษา 2560 คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ และคณะการจัดการและการท่องเที่ยว จำนวน 320 คน และผู้บริหารขององค์กรภาครัฐและภาคเอกชน จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) นิสิตมีความสนใจสาขาวิชาการบริหารการพัฒนา อยู่ในระดับมาก 2) ความต้องการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาในมหาวิทยาลัยบูรพา นิสิตมากกว่าครึ่งไม่ต้องการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาในมหาวิทยาลัยบูรพา 3) ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาอันดับแรกคือ ปัจจัยด้านผู้เรียน และ 4) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิต ตามความต้องการของผู้บริหารองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนอันดับแรกคือ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างดี

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

- เจริญ โสภา. (2551). แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี (วิทยานิพนธ์). สาขาวิชาการจัดการทั่วไป บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.
- ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
- ภัทรพร ทาเวียง. (2548). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทของนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (สารนิพนธ์). สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, กรุงเทพฯ.
- นันทิดา โฉมงาม. (2551). ความต้องการการศึกษาต่อของนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิตทางการศึกษาหลักสูตร 5 ปี: การวิเคราะห์จำแนกกลุ่มพหุ (วิทยานิพนธ์). สาขาวิชาวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
- ประภาพร แก้วมุกดา. (2560). ความต้องการศึกษาต่อของนักศึกษาชั้นปีที่สี่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (การค้นคว้าอิสระ). สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, เชียงราย.
- มหาวิทยาลัยบูรพา. (2559). สถิตินิสิต. สืบค้นเมื่อ 2561, 30 มกราคม จาก https://reg.buu.ac.th/registrar/stat.asp?avs873052349=1
- วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2551). การบริหารการพัฒนา: แนวคิด ความหมาย ความสำคัญ และตัวแบบการประยุกต์. ม.ป.ท.
- วิไล ดวงเนตร. (2559). เหตุจูงใจในการเลือกเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (วิทยานิพนธ์). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.
- ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา. (2551). แนวความคิดและทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์. เชียงใหม่: ธนุชพริ้นติ้ง.
- สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
- สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
- Gay, L. R., and Airasian, P. (2003). Educational research competencies for analysis and applications (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Merrill/Prentice Hall.
- Super, D. E. (1957). The psychology of career. New York: Harper and Row Publishers.