“ครอบครัวคนข้ามเพศ” จากความผิดปกติและความเป็นอื่น สู่การมีตัวตนและพื้นที่ทางสังคม: บทวิเคราะห์ตามแนวคิดวาทกรรมของมิเชล ฟูโกต์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอวรรณกรรมในประเด็น “คนข้ามเพศ” และ “ครอบครัวคนข้ามเพศ” ในฐานะที่เป็นวาทกรรม โดยทำการวิเคราะห์วาทกรรมในความหมายของ มิเชล ฟูโกต์ นอกจากนี้ยังพูดถึงกระบวนการสร้างตัวตนและพื้นที่ทางสังคมของ “คนข้ามเพศ” และ “ครอบครัวคนข้ามเพศ” ว่ามีลักษณะอย่างไร โดยมีเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การพูดถึงในสิ่งที่ไม่ได้มีการพูดถึง สิ่งที่พูดไม่ได้ หรือไม่ได้พูดในสังคม ซึ่งเป็นผลจากระเบียบกฎเกณฑ์ในสังคมที่เพศวิถีกระแสหลักกำหนดขึ้นมา
จากการวิเคราะห์ตามแนวคิดมิเชล ฟูโกต์ พบว่า สังคมได้ประกอบสร้างให้กลุ่มคนข้ามเพศมีลักษณะเป็นขั้วตรงข้าม (Binary Opposition) ต่อแนวทางเพศวิถีแบบรักต่างเพศ ซึ่งเป็นแนวเพศวิถีกระแสหลักของสังคม บ่อยครั้งการประกอบสร้างลักษณะ
ขั้วตรงข้ามดังกล่าวมักกระทำโดยการใช้ภาษาในการผลิตซ้ำ การป้ายสี การประณาม และกีดกันกลุ่มคนที่มีเพศวิถีที่แตกต่างจากกระแสหลักออกจากกิจกรรมทางสังคม ส่งผลให้เพศวิถีในแนวทางอื่นอย่างคู่รักของคนข้ามเพศด้วยกัน (Homosexuality) เป็นสิ่งที่ “ผิดปกติ” “ไม่เป็นธรรมชาติ” ซึ่งความขัดแย้งนี้ได้ถูกประกอบสร้าง ผลิตซํ้า ตอกยํ้า และแสดงออกมาผ่านรูปแบบทางวาทกรรมและการประพฤติปฏิบัติอันหลากหลายของสมาชิกและสถาบันในสังคม ส่งผลเป็นกำแพงปิดกั้นไม่ให้กลุ่มคนดังกล่าวมีพื้นที่ทางกิจกรรมทางสังคมในระดับขั้นพื้นฐาน ดังนั้นความพยายามในการสร้างตัวตนและพื้นที่ของคนข้ามเพศให้มีอัตลักษณ์ร่วม (Collective Identity) เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการอ้างอิงความเป็นตัวตนและการรวมกลุ่มเพื่อสร้างพื้นที่ให้กับตนเองนั้น จึงเป็นเสมือนทางออกที่หลุดพ้นจากความเป็นอื่นในวาทกรรมกระแสหลัก
Article Details
References
- กาญจนา แก้วเทพ. (2544). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโปรดักส์.
- กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์. (2555). ทฤษฎีวิพากษ์ในนโยบายและการวางแผนสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
- จันทิมา ปัทมธรรมกุล. (2550). วิเคราะห์การสร้างวาทกรรมความงามของโฆษณาผลิตภัณฑ์บำรุงผิว. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาสื่อสารมวลชน, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
- เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง, (บรรณาธิการ). (2547). รู้ทันภาษา รู้ทันการเมือง: ทักษิณสมัย. กรุงเทพฯ: ขอคิดด้วยคน.
- ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2560). วาทกรรมการพัฒนา อำนาจ ความรู้ ความจริง สัญลักษณ์ และความเป็นอื่น. กรุงเทพฯ: วิภาษา.
- ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง. (2557, กรกฎาคม-ธันวาคม). การเมืองเรื่องคน (ที่ถูกทำให้) “ไม่” ธรรมดา: มองความเป็นหญิงของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผ่านกรอบเควียร์. วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 44(2), 71-90.
- ไทย พีบีเอส. (2560). ครอบครัวไทยรูปแบบใหม่ภายใต้ “พรบ.คู่ชีวิต”. สืบค้นจาก https://www.festhailand.org/wb/media/Debate%20Show/Life%20Partnership%20Act_final.pdf. เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2560.
- ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์. (2560, มกราคม-มิถุนายน). คนข้ามเพศ: ตัวตน วัฒนธรรมย่อย และพื้นที่ทางสังคม. ดำรงวิชาการ, 16(1), 98-125.
- ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์ และมณีมัย ทองอยู่. (2553, มกราคม-มีนาคม). กระบวนการกลายเป็นชายขอบของคนข้ามเพศ. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (บศ.), 10(1), 66-77.
- พลดา เดชพลมาตย์. (2555, มกราคม-เมษายน). นโยบายสาธารณะที่มีผลกระทบต่อครอบครัวไทยยุคใหม่ ตามแนวคิดของมิเชล ฟูโกต์. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(18), 67-82.
- สุไลพร ชลวิไล. (2550). เพศไม่นิ่ง ตัวตน เพศภาวะ เพศวิถี ในมิติสุขภาพ. กรุงเทพฯ: โครงการจัดตั้งสำนักงานศึกษานโยบายสาธารณสุข สวัสดิการและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
- อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2552). คิดอย่างมิเชล ฟูโกต์ คิดอย่างวิพากษ์จากวาทกรรมของอัตบุคคลถึงจุดเปลี่ยนของอัตตา. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
- Butler, Judith. (1989). The body politics of julia kristeva. Hypatia, 3(3), 104-118.
- During, S. (1999). Space power and knowledge. In The cultural studies reader. New York: Routledge.
- Feinberg, L. (2006). Transgender liberation: A movement whose time has come. In Susan Stryker and Stephen Whittle (Eds.), The transgender studies reader. Massachusetts: Routledge Taylor and Francis Group.
- Foucault, Michel. (1970). The order of discourse. In Robert Young (Ed.), Untying the text: A post-structuralist reader. Boston: Routledge.
- Foucault, Michel. (1972). The archaeology of knowledge. Sheridan, Smith A. M. (Trans.). New York: Pantheon Books.
- Foucault, Michel. (1980). Power/Knowledge: Selected interviews and other writing 1972-1977. Gordon, Colin (Ed.). New York: Pantheon.
- Foucault, Michel. (1990). The history of sexuality volume I: An introduction. Hurley, Robert (Trans.). Harmondsworth: Penguin Books.
- Michael O’ Shaughnessy and Jane Stadler. (2002). Media and society. London: Oxford University Press.
- Richardson, D. (2015, November). Rethinking sexual citizenship. Sociology, 1-17.
- Sedgwick, E. K. (1999). Axiomatic. In Simon During (Ed.) The cultural studies reader (2nd ed. pp.320-339). New York: Routledge.