การพัฒนาทักษะการคิดเชิงออกแบบของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ด้วยโครงการสร้างอิฐนาโนจากขยะพอลิเมอร์

Main Article Content

นลินี ณ นคร
สังวรณ์ งัดกระโทก
กาญจนา วัธนสุนทร
พิมพ์น้ำผึ้ง วรรณสาม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงออกแบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายด้วยโครงการสร้างอิฐนาโนจากขยะพอลิเมอร์ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมาบอำมฤตวิทยา จังหวัดชุมพร จำนวน 20 คน ซึ่งสมัครใจเข้าร่วมการวิจัยผ่าน “กิจกรรมพัฒนานักเรียน” ของโรงเรียน เครื่องมือวิจัย มี 2 ประเภท ดังนี้ 1) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ใบงานการออกแบบและสร้างสิ่งประดิษฐ์จากขยะพอลิเมอร์ แบบบันทึกข้อมูลการสังเกตและการสัมภาษณ์เกี่ยวกับปัญหาจากขยะพอลิเมอร์ และแบบบันทึกกระบวนการปฏิบัติงานการออกแบบและสร้างสิ่งประดิษฐ์รวมทั้งปัญหาจากการดำเนินงานและข้อเสนอการปรับปรุง และ 2) เครื่องมือผลิตและทดสอบคุณภาพสิ่งประดิษฐ์ ได้แก่ เครื่องหลอมพลาสติก เครื่องอัดอิฐบล็อก เครื่องทดสอบแรงอัดอิฐบล็อก และเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรด การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตของการรับแรงอัดอิฐและการสะท้อนแสงของอิฐนาโน และ 2) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า งานวิจัยนี้ประสบความสำเร็จในการปลูกฝังแนวทางการคิดเชิงออกแบบในการสร้างอิฐนาโนจากขยะพอลิเมอร์ให้กับนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิผล และใช้การประเมินตนเองในการทบทวนงานตลอดทุกขั้นตอน ต้นแบบอิฐนาโนจากขยะพอลิเมอร์นำไปใช้ประโยชน์เป็นอิฐปูทางเดิน มีความแปลกใหม่ และมีค่าการรับแรงอัดอิฐบล็อกเฉลี่ย 120 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร สูงกว่ามาตรฐาน มอก.58 สำหรับคอนกรีตบล็อกไม่รับน้ำหนัก เมื่อผสมนาโนไททาเนียมไดออกไซด์ในส่วนผสมของอิฐทำให้ความร้อนของอิฐปูทางเดินลดลง เหมาะกับประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น

Article Details

How to Cite
ณ นคร น., งัดกระโทก ส., วัธนสุนทร ก., & วรรณสาม พ. (2024). การพัฒนาทักษะการคิดเชิงออกแบบของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ด้วยโครงการสร้างอิฐนาโนจากขยะพอลิเมอร์. วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์, 5(1), 91–110. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/277190
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2564). กลไกการบริหารจัดการขยะพลาสติกของประเทศไทย ให้เป็นไปตามเป้าหมาย Roadmap.

https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2021/10/pcdnew-2021-10-19_08-59-31_527174.pdf

ณิชชา บูรณสิงห์. (2562). “ขยะพลาสติก” ปัญหาระดับโลกที่ต้องเร่งจัดการ. https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=58603&filename=index

ธาริดา เสนาวงษ์, นริสา อินทร์สอน, พงษ์เพชร ใบงาม, สง่า ทับทิมหิน, และปวีณา ลิมปิทีปราการ. (2564). การรับรู้นโยบายการจัดการขยะพลาสติกและพฤติกรรมการจัดการขยะพลาสติกของผู้ค้าในตลาดเจริญศรี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศูนย์อนามัย, 9(15), 210-223.

นภาภรณ์ เจียมทอง, และเปรมพล วิบูลย์เจริญสุข. (2566). การจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้ความคิดเชิงออกแบบสำหรับนักเรียนประถมศึกษา. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(4), 572-586.

นันทวุฒิ จำปางาม. (2563). ไมโครพลาสติก:ปัญหาในระบบนิเวศแหล่งน้ำ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 14(2), 25-39. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/240856/166060

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). ความเป็นมาของการคิดเชิงออกแบบ. https://shorturl.at/1GVJn

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2566). รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. https://www.onep.go.th/ebook/soe/soereport2023.pdf

Flavell, J. H. (1979). Metacognition and cognitive monitoring: A new area of cognitive-developmental inquiry. American Psychologist, 34, 906 - 911.

Hasso Plattner Institute of Design at Stanford University. (2010). An introduction to design thinking Process guide. https://web.stanford.edu/~mshanks/MichaelShanks/files/509554.pdf

Hasso Plattner Institute of Design at Stanford University. (2024). WHAT IS THIS?. https://dschool.stanford.edu/resources/getting-started-with-design-thinking

Sternberg, R. J. (2012). The Assessment of Creativity: An Investment-Based Approach, Creativity Research Journal, 24(1), 3-12.