การพัฒนามาตรวัดความฉลาดทางคุณธรรมจริยธรรมตามหลักจิตวิทยาสำหรับเด็กและเยาวชนโดยใช้แบบวัดการตัดสินใจเชิงสถานการณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลการวัดความฉลาดทางคุณธรรมจริยธรรมของคุณธรรมจริยธรรมของเด็กและเยาวชนตามหลักจิตวิทยาโดยใช้แบบวัดการตัดสินใจเชิงสถานการณ์ ตัวอย่างในการวิจัยคือ เด็กและเยาวชนที่มีอายุตั้งแต่ 13-25 ปี ซึ่งเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ในโรงเรียนสังกัดต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,172 คน กำหนดตัวอย่างโดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสังกัดโรงเรียน แบบวัดความฉลาดทางคุณธรรมจริยธรรมมีค่าความตรงเชิงเนื้อหาสูงกว่า 0.60 ทุกข้อ และมีค่าความเที่ยงของชุดคำถามในแต่ละด้านคุณธรรมจริยธรรมตั้งแต่ 0.60-0.78 ผลการวิจัย พบว่า โมเดลการวัดความฉลาดทางคุณธรรมจริยธรรมตามหลักจิตวิทยาซึ่งออกแบบตามแนวคิดพฤติกรรมทางคุณธรรมจริยธรรม 4 ประการของ Rest ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของ Kohlberg และทฤษฎีพหุปัญญาของ Gardner แบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบ คือ ความฉลาดเชิงพฤติกรรมภายในและภายนอก ความฉลาดเชิงพฤติกรรมภายใน ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้ คือ 1) ความอ่อนไหวทางคุณธรรมจริยธรรม 2) การให้เหตุผลทางคุณธรรมจริยธรรม 3) ความผูกโยงทางคุณธรรมจริยธรรม และ 4) ความกล้าหาญทางคุณธรรมจริยธรรม และความฉลาดเชิงพฤติกรรมภายนอก ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้ คือ 1) พฤติกรรมส่วนบุคคล 2) พฤติกรรมเชิงปฏิสัมพันธ์ และ 3) พฤติกรรมเชิงขยายทางคุณธรรมจริยธรรม แต่ละโมเดลการวัดจำแนกตามเนื้อหาด้านคุณธรรมจริยธรรม ประกอบด้วย 1) ความซื่อสัตย์ 2) ความมีวินัย 3) จิตสาธารณะและประโยชน์ส่วนรวม 4) ความพอเพียง และ 5) ความรับผิดชอบ ทุกโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดตามสังกัดโรงเรียน พบว่า โมเดลมีรูปแบบโครงสร้างไม่แปรเปลี่ยนแต่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบแปรเปลี่ยนไปตามสังกัดโรงเรียน แสดงว่า แบบวัดดังกล่าวสามารถนำไปใช้วัดความฉลาดทางคุณธรรมจริยธรรมของเด็กและเยาวชนที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนได้ทุกกลุ่มสังกัดโรงเรียนแต่มีการให้น้ำหนักในแต่ละองค์ประกอบแตกต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการวารสาร จึงมิใช่ความรับผิดชอบของวารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์ บทความในวารสารต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน และสงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551, http://academic.obec.go.th/ images/document/1559878925_d_1.pdf
จินตนา ตันสุวรรณนนท์. (2560). คิดเป็น เห็นต่าง สร้างสรรค์ เท่าทันสื่อ ยึดถือคุณธรรม: คุณลักษณะและทักษะสำคัญในยุคศตวรรษที่ 21 สำหรับเยาวชนไทย. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 4(2), 1-20.
ดุจเดือน พันธุมนาวิน และ ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2550). หลักเศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคล: ทฤษฎีและผลการวิจัยเพื่อสร้างดัชนีในแนวจิตพฤติกรรมศาสตร์. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 47(1), 27-79.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นลินี นุตย์จิตะ. (2543). แนวทางการดำเนินงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระณธัชพงศ์ โนทายะ. (2561). การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐานของนักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดไทรราษฎร์อุปถัมภ์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. รายงานการค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเกริก.
มุทิตา ชัยเพชร, ชัยวิชิต เชียรชนะ และ ศจีมาจ ณ วิเชียร. (2557). การศึกษาคุณธรรมจริยธรรมที่เหมาะกับนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษา ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบ. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 20(1).
มูหัมมัดรุสลี ดามาเล๊าะ และ จิดาภา สุวรรณฤกษ์. (2552). คุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินชีวิตตามหลักคําสอนศาสนาอิสลาม ของนักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี. วารสารอัล-นูรบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 7(12), 69-86.
รจรินทร์ ผลนา และ ศิริพันธ์ ติยะวงศ์สุวรรณ. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 7. วารสารราชพฤกษ์, 14(3), 100-110.
วัลย์ลดา ภวภูตานนท์. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณธรรมและจริยธรรมตามโมเดลต้นไม้จริยธรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถิติการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักผู้ตรวจการแผ่นดิน. (2558). ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมพื้นฐานในสังคมไทย 5 ประการในสถานศึกษา.
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. (2559). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนสุจริต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สุทธิรัตน์ โมราราย และ บัณฑิตา อินสมบัติ. (2555). การวิเคราะห์องค์ประกอบจริยธรรมทางวิชาชีพของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 2(3), 59-72.
อรอุมา เจริญสุข. (2552). การพัฒนาโมเดลตัวแปรกำกับที่มีการส่งผ่านสมรรถนะการตัดสินใจทางจริยธรรมและจิตลักษณะ ตามสถานการณ์ของพฤติกรรมจริยธรรมของนักเรียน: การประยุกต์ใช้รูปแบบทฤษฎีปฏิสัมพันธ์นิยม ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม และทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรม. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาซีชัน เกปัน. (2556). สภาพ ปัญหา และแนวทางการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมอิสลามแก่นักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสตูล. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลาม, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร.
Baumeister, R. F., & Vohs, K. D. (2007). Moral Reasoning. In Encyclopedia of Social Psychology. Thousand Oaks: SAGE Publications.
Chambers, D. W. (2011). Developing a self-scoring comprehensive instrument to measure Rest’s four-component model of moral behavior: The moral skills inventory. Journal of Dental Education, 75, 23-35.
Clarken, R. H. (2009). Moral Intelligence in the Schools. Online Submission.
Crimston, D., Bain, P. G., Hornsey, M. J., & Bastian, B. (2016). Moral expansiveness: Examining variability in the extension of the moral world. J Pers Soc Psychol, 111(4), 636-653. doi:10.1037/pspp0000086
DeVellis, R. F. (2017). Scale development: Theory and applications (4th ed.). Thousand Oaks, CA: Sage.
Dunn-Rankin, P. (2004). Scaling methods (2nd ed.): NJ: Lawrence Erlbaum.
Fornell, C., & Larcker, D. F. (1981). Structural equation models with unobservable variables and measurement error: Algebra and statistics. Journal of Marketing Research, 18, 382-388. http://dx.doi.org/10.2307/3150980
Fowler, S. R., Zeidler, D. L., & Sadler, T. D. (2009). Moral sensitivity in the context of socioscientific issues in high school science students. International Journal of Science Education, 31(2), 279-296. doi:10.1080/09500690701787909
Gardner, H. (1987). The theory of multiple intelligences. Annals of Dyslexia, 37(1), 19-35.
Haidt, J. (2008). Morality. Perspectives on Psychological Sciences, 3(1), 65-72.
Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., and Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). New York City, NY: Pearson.
Hart, D., & Carlo, G. (2005). Moral development in adolescence. Journal of Research on Adolescence, 15(3), 223-233. doi:10.1111/j.1532-7795.2005.00094.
Hinkin, T. R. (1998). A brief tutorial on the development of measures for use in survey questionnaires. Organizational Research Methods, 1(1), 104-121.
Jordan, J. (2007). Taking the first step toward a moral action: a review of moral sensitivity measurement across domains. The Journal of Genetic Psychology, 168(3), 323-359.
Kaminski, K., Felfe, J., Schaepers, P., & Krumm, S. (2019). A closer look at response options: Is judgment in situational judgment tests a function of the desirability of response options ?. International Journal of Selection and Assessment, 27(1), 72-82. https://ink.library.smu.edu.sg/lkcsb_research/6671
Patterson, F., & Driver, R. (). Situational Judgement Tests (SJTs). In F. Patterson, & L. Zibarras (Eds.), Selection and Recruitment in the Healthcare Professions Research, Theory and Practice (pp.). Palgrave Macmillan. https://doi.org/10.1007/978-3-319-94971-0
Piaget, J. (1964). Part I: Cognitive development in children: Piaget development and learning. Journal of Research in Science Teaching, 2(3), 176-186.
Siphai, S. (2015). Influences of moral, emotional and adversity quotient on good citizenship of Rajabhat University's students in the Northeast of Thailand. Educational Research and Reviews, 10(17), 2413-2421.
Sorrel, M. A., Olea, J., Abad, F. J., de la Torre, J., Aguado, D., & Lievens, F. (2016). Validity and reliability of situational judgement test scores: A new approach based on cognitive diagnosis models. Organizational Research Methods, 19(3), 506-532. https://doi.org/10.1177/1094428116630065
Tanner, C., & Christen, M. (2014). Moral intelligence–A framework for understanding moral competences. In Empirically informed ethics: Morality between facts and norms. Springer. 119-136.