การพัฒนาโมเดลเชิงตรรกะสำหรับประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ธนัญชนก จันทร์แดง
เรืองเดช ศิริกิจ
ปิยพงษ์ คล้ายคลึง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาโมเดลเชิงตรรกะสำหรับการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร และ 2) ประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กรณีศึกษาโรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ วิธีดำเนินการวิจัยในครั้งนี้แบ่งออกเป็น
2 ระยะ ระยะที่ 1 พัฒนาโมเดลเชิงตรรกะสำหรับการประเมินโครงการ จากเอกสารและการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ 1) ผู้บริหารของโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 5 โรงเรียน โรงเรียนละ 1 ท่าน และ 2) ผู้รับผิดชอบโครงการ และครูผู้สอนของโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 5 โรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสรุปเป็นโมเดลสำหรับประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระยะที่ 2 การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือ กรณีศึกษาโรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ โดยประเมินเอกสารและบุคคล เอกสาร ประกอบด้วย รายงานสรุปผลโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ แหล่งข้อมูลที่เป็นบุคคล ได้แก่ ครูผู้สอนของโรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 29 คน นักเรียน 181 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ผลการประเมินโครงการ พบว่า ปัจจัยนำเข้ามี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) งบประมาณ อยู่ในระดับปานกลาง 2) ครูผู้รับผิดชอบ อยู่ในระดับดี 3) คู่มือ อยู่ในระดับดี กระบวนการมี 1 องค์ประกอบ ได้แก่ ขั้นตอนการช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับดี ผลผลิต มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) นักเรียนมีความเสี่ยงด้านที่เป็นปัญหาลดลง อยู่ในระดับดี 2) นักเรียนรู้จักตนเอง อยู่ในระดับปานกลาง 3) นักเรียนเข้าใจวิธีการแก้ปัญหาได้ อยู่ในระดับปานกลาง ผลลัพธ์ มี 2 ประกอบ ได้แก่ 1) นักเรียนมีความสนใจในการเรียนเพิ่มขึ้น อยู่ในระดับดี 2) นักเรียนสามารถบริหารจัดการชีวิตในการเรียนได้ อยู่ในระดับปานกลาง ผลกระทบ มี 2 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น อยู่ในระดับดี 2) นักเรียนใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข อยู่ในระดับปานกลาง

Article Details

How to Cite
จันทร์แดง ธ., ศิริกิจ เ. ., & คล้ายคลึง ป. . . (2024). การพัฒนาโมเดลเชิงตรรกะสำหรับประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์, 5(1), 39–54. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/273909
บท
บทความวิจัย

References

กมลชนก วุฒิญาโน. (2562). การพัฒนาโมเดลเชิงตรรกะสำหรับประเมินกระบวนการประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่งโดยประยุกต์ใช้มาตรฐานการประเมินอภิมาน. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

วีร์วิกา อุบลจันทร์ และคณะ. (2565). การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนในเตาพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 7(4), 101-116.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2562). ทฤษฎีการประเมิน (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมพงษ์ จิตประดับ, อภิญญา บุญชื่อ. (2551). หลักสูตร “สิทธิเด็กและวางแผนท้องถิ่นเพื่อเด็กและเยาวชน”. กรุงเทพมหานคร: ธรรมดาเพลส

สฤษดิ์ วิวาสุขุ. (2564). การประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนจอมพระประชาสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(8), 296-297.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). คู่มือการคัดเลือกสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อรับรางวัลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประจำปี 2563. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). คู่มือการคัดเลือกสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อรับรางวัลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประจำปี 2564. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สุวิมล ทัยอ่อน และคณะ. (2566). การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านพารา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต. วารสารพุทธศาสตร์ มจร อุบลราชธานี, 5(2), 2565-2578.

สุวิมล ว่องวาณิช . (2552). การออกแบบและประเมินโครงการโดยใช้ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง. วารสารการวิจัยสังคมศาสตร์, 16, 7-25.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2559). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา:จุดประกายความคิดใหม่. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดไอคอนพริ้นติ้ง.

อุทัยทิพย์ เจี่ยวิวรรธน์กุล. (2565). แนวคิดจำลองเชิงตรรกะ (Logic Model) กับการประเมินโครงการ. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. สืบค้นจาก https://e-learning.oae.go.th/uploads/course_schedule/attach/rpp9vgcbcunoi4k_แนวคิดแบบจำลองเชิงตรรกะ20(3%20D%20Logic%20Model).pdf