การพัฒนาทฤษฎีโปรแกรมสำหรับประเมินความตั้งใจในการจัดการเรียนการสอน ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีแบบคอนติบิวชั่น

Main Article Content

อิทธิกร บุนนาค
กาญจนา ตระกูลวรกุล
อุไร จักษ์ตรีมงคล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาทฤษฎีโปรแกรมสำหรับประเมินความตั้งใจในการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีแบบคอนติบิวชั่น วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดสภาพปัญหา โดยการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์ครูผู้สอน 10 คน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาทฤษฎีโปรแกรมเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยง ร่างโมเดลการกระทำ และโมเดลการเปลี่ยนแปลง กำหนดสมมติฐาน if…then ขั้นตอนที่ 3 การเก็บรวบรวมข้อมูลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครจำนวน 300 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 4 การประเมินคุณลักษณะ นำผลการวิเคราะห์แบบสอบถามเพื่อนำมาประเมินตามเกณฑ์การประเมิน และพิจารณาจุดอ่อนของทฤษฎีโปรแกรม โดยพิจารณาจากสมมติฐานว่าเป็นไปตามสมมติฐานหรือไม่ ขั้นตอนที่ 5 การหาหลักฐานเชิงประจักษ์เพิ่มเติม โดยสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน และขั้นตอนที่ 6 การปรับปรุงหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อให้ทฤษฎีโปรแกรมมีความแกร่ง ผลการวิจัยพบว่า ทฤษฎีโปรแกรมสำหรับประเมินความตั้งใจในการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศของครู ประกอบด้วย ตัวแทรกแซง 2 ตัว คือ การสนับสนุนจากโรงเรียน และ การเข้าร่วมอบรมหรือประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการบูรณาการเทคโนโลยีในการสอน ตัวกำหนด 3 ตัว ได้แก่ การรับรู้ความสามารถของครู ทัศนคติเชิงบวกของครูกับการใช้เทคโนโลยี และประสบการณ์หรือทักษะการใช้เทคโนโลยีของผู้สอน และผลลัพธ์ คือ ความตั้งใจในการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศของครู

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักรพงศ์ สุวรรณรัศมี. (2552). อิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการสอนของครูผู้สอน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 20(3), 79-90.

ปณพักตร์ พงษ์พุทธรักษ์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนการสอนของครูโรงเรียนประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารชุมชนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 13(1), 214-227.

พิรดา มาลาม. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยม เขต 24. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม)

วันนะเลต วละสุก, วิชญวัชญ์ เชาวนีรนาท และ ละมัย ร่มเย็น. (2561). แนวทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการ สอนของครูในสถานศึกษาภาคเอกชนเขตเทศบาลเมืองไกสอนพมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 15(68). 158-166.

วรพร พิพัฒน์. (2564). การพัฒนาทฤษฎีโปรแกรมสำหรับประเมินความตั้งใจที่จะซื้อเครื่องสำอางพรีเมียมแบรนด์ผ่านโซเซียลมีเดีย โดยใช้วิธีแบบคอนติบิวชั่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มนฤดี ช่วงฉ่ำ ปิ่นกนก วงศ์ปิ่นเพ็ชร์ และชนัดดา เพ็ชรประยูร. (2564). พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5: ความหมายและปัจจัยเงื่อนไข. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 15(3), 104-123.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/download/document/Yearend/2021/plan13.pdf

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2548). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริพงษ์ โคกมะณี. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

อนุวัฒน์ เอี่ยมแสน. (2562). ความต้องการใช้สื่อนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา. 9(3). 139-149.

อินทิรา ชูศรีทอง, ไชยา ภาวะบุตร และวัฒนา สุวรรณไตรย์. (2563). รูปแบบการพัฒนาครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 10(2). 98-112.

Cronbach, L. J. (1984). Essentials of psychological testing. (4th ed.). Harper & Row.

Bandura, A. (1977). Social learning theory. Prentice Hall.

Bonwell, C. C., & Eison, J. A. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. ASHE-ERIC Higher Education Report, Washington DC: School of Education and Human Development, George Washington University.

Chen, H. T. (2005). Practical Program Evaluation: Assessing and Improving Planning, Implementation, and Effectiveness. Sage.

Chen, Y. L. (2008). Factors affecting the integration of information and communications technology in teaching English in Taiwan. Asian EFL Journal, 28(1), 1-44.

Coryn, C. L. S., Noakes L. A., Westine, C. D., & Schroter, D. C. (2010). A Systematic Review of Theory-Driven Evaluation Practice From 1990 to 2009. American Journal of Evaluation, 32(2), 199-226.

Erica W., Steve M., & Tamara M. (2012). Applications of contribution analysis to outcome planning and impact evaluation. Evaluation 18(3), 310-329.

Fishbein, M., and Ajzen, I. (1975). Belief, attitude, intention, and behavior: An introduction to theory and research. Addison-Wesley.

Hsu, Y. Y. & Lin, C. H. (2020). Evaluating the effectiveness of a preservice teacher technology training module incorporating SQD strategie. International Journal of Educational Technology in Higher Education 17(1). 1-17. https://doi.org/10.1186/s41239-020-00205-2

Karchmer, R. A. (2001). The Journey Ahead: Thirteen Teachers Reports How the Internet Influences Literacy and Literacy Instruction in Their K-12 Classrooms. Reading Research Quarterly, 36(4), 442.

Mueller, J., Wood, E., Willoughby, T., Ross, C., & Specht, J. (2008). Identifying discriminating variables between teachers who fully integrate computers and teachers with limited integration. Computers & Education, 51(4), 1523–1537. https://doi.org/10.1016/j.compedu.2008.02.003

Park, B. (2003). Faculty Adoption and Utilization of Web-Assisted Instruction (WAI) in Higher Education: Structural Equation Modeling (SEM). Florida State University Libraries, (Doctoral dissertation, Florida State University, United States of America)

Sang, G., Valcke, M., Braak J., & Tondeur, J., (2009). Investigating teachers' educational beliefs in Chinese primary schools: socioeconomic and geographical perspectives. Asia-Pacific Journal of Teacher Education, 37(4), 363 —377.

Shin, H.-J., & Son, J. B. (2007). EFL Teachers’ Perceptions and Perspectives on Internet-Assisted Language Teaching. Computer-Assisted Language Learning Electronic Journal (CALL-EJ), 8(2), 1-13.

United Nations Development Programme. (2020). Human Development Reports 2020: The next frontier, Human development and the Anthropocene.

Weiss, C. H. (2007). Theory-based evaluation: Past, Present, and future. New Directions for Evaluation, 114, 68-81.

Yamane, T. (1967). Statistics an introductory analysis (2nd ed.) New York: Harper and Row.

Yükselir, C. (2016). EFL Instructors’ and Teachers’ Perceptions towards the Integration of Internet-Assisted Language Teaching into EFL Instruction. Journal on Efficiency and Responsibility in Education and Science, 9, 23-30.