การศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับจิตสำนึกความเป็นพลเมืองโลกของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา

Main Article Content

ยศกร กลมกูล
พนิดา พานิชวัฒนะ
จุฑามาศ แสงงาม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับจิตสำนึกความเป็นพลเมืองโลกของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา และ 2) ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างสาขาวิชาและระดับการศึกษาที่ส่งผลต่อจิตสำนึกความเป็นพลเมืองโลกของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา ประชากร คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ของวิทยาลัยเทคโนโลยีพงษ์สวัสดิ์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โดยการเลือกแบบเจาะจง Purposive Sampling ทั้งหมด 779 คน ในการเก็บข้อมูลจริง มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 632 คน โดยมีอัตราการตอบกลับ คิดเป็นร้อยละ 81.13 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดจิตสำนึกความเป็นพลเมืองโลก พบว่าความตรงเชิงเนื้อหา มีค่าอยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 และมีค่าความเที่ยงด้วยเกณฑ์ของ Cronbach’s Alpha มีค่าเท่ากับ 0.82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง Two-way ANOVA ผลการวิจัย พบว่า 1) นักศึกษาระดับชั้น ปวช. และปวส. สังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีจิตสำนึกความเป็นพลเมืองโลกในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.36 โดยจิตสำนึกความเป็นพลเมืองโลกด้านเคารพความเป็นปัจเจกบุคคลอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านต่อต้านการใช้ความรุนแรงอยู่ในระดับปานกลาง และ 2) มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสาขาวิชาและระดับการศึกษาที่ส่งผลต่อจิตสำนึกความเป็นพลเมืองโลก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ.2560-2579. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. https://www.vec.go.th/Portals/0/%2020%20.pdf

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แนวทางการส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลก (Global Citizenship) : ประสบการณ์นานาชาติ. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

จิราณีย์ พันมูล. (2564). การเสริมสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองดีสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วารสารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, 6(1), 109-124.

ชิษณุชา นวลปาน. (2562). ปัญหาความรุนแรง : กระบวนการครอบงำความคิดของนักศึกษาอาชีวะในเขตกรุงเทพมหานคร. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม.

ละเอียด ศิลาน้อย และ กัณฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ. (2562). การใช้มาตรประมาณค่าในการศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การโรงแรม และการท่องเที่ยว. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(15), 112-126.

สุนีย์ บันโนะ. (2560). จิตสำนึกความเป็นพลเมืองโลกของนักเรียนในกรุงเทพมหานคร. An Online Journal of Education, 1(12), 104-121.

Kishino, H., & Takahashi, T. (2019). Global citizenship development: Effects of study abroad and other factors. Journal of International students, 9(2), 535-559.

lkeda, D. (2010). Soka Education: For the Happyness of the Individual. U.S.A.: Middleway Press.

Oxfam Education. (2006). Education for Global Citizenship A Guide for School. Global Citizenship. From http://www.oxfam.org.uk/org.uk/education/global-citizenship/global-citizenship-guides

Soka Gakkai. (2010). Global Citizens and the Imperative of Peace. Creative Education. from

http://www.daisakuikeda.org/main/educator/edu/edu-10.html

Lovat, T.,Toomey, R., Dally, K. & Clement, N. (2009). Project to Test and Measure the Impact of Values Education on Student Effects and School Ambience (pp. 155). Australia: University of Newcastle.