การบริหารความปลอดภัยด้านความรุนแรงจากบุคคลในสังคมและจากโลกโซเชียลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร ในการบริหารความปลอดภัยของโรงเรียนด้านความรุนแรงจากบุคคลในสังคมและจากโลกโซเชียล และ 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความปลอดภัยของโรงเรียนด้านความรุนแรงจากบุคคลในสังคมและจากโลกโซเชียลกับขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารและครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร จำนวน 215 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีค่าความตรง (ค่า IOC) ระหว่าง .67-1.0 และค่าความเที่ยง .98 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูในโรงเรียนเกี่ยวกับการบริหารความปลอดภัยด้านความรุนแรงในโรงเรียนจากบุคคลในสังคม และจากโลกโซเชียลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร มีการปฏิบัติโดยภาพรวมและรายข้อทุกข้อมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) การบริหารความปลอดภัยในโรงเรียนด้านความรุนแรงในโรงเรียนจากบุคคลในสังคม และจากโลกโซเชียล มีความสัมพันธ์กับขนาดของโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการวารสาร จึงมิใช่ความรับผิดชอบของวารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์ บทความในวารสารต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน และสงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ
References
กนกอร อุ่นสถานนท์. (2563). การบริหารความปลอดภัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์), 10 (2), 1–14.
กฤษฎา ศรีสุชาติ (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้และคู่มือโรงเรียนปลอดภัยของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
การีมะห์ และหีม (2552) ปัจจัยที่พยากรณ์พฤติกรรมการรังแกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลจังหวัดปัตตานี. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับ สังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์, 17(4), 625-642.
เกศกาญจน์ บุญเพ็ญ. (2561, 4 ธันวาคม). 5 มิติความปลอดภัยของเด็ก เริ่มสร้างได้ “โรงเรียน”. http://mgronline.com/qol/detail/9610000120198
คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2561, 3 ธันวาคม). ความปลอดภัยในโรงเรียน. https://www.facebook.com/
thai.education.revolution/posts/2305738039438318?__xts__[0]=68.ARC6YOMfplafiteCUeGEvUrC-vB_AnalDOCPIvPDpcLqzHnVCO9NaXzLeDl3emQ-aO5flHSjxV80EwU9qf-yWBoQ6zTzyT2C4BwBdoMaD97
xcynFmGmPUMUybLDP9xxVTpvPa9QPwDT3edRKSHYQhy1STlqKY-FqeAS
ชนกานต์ สกุลแถว. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการใช้ห้อง ปฏิบัติการเคมีของนักเรียนชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปราณี อินทรักษา. (2554). การศึกษาการดำเนินการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริพรรณ เกตุแก้ว. (2558). การดำเนินการรักษาความปลอดภัยตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางสังคมของโรงเรียนประถมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สกานต์ ลอมศรี. (2551). ความปลอดภัยของนักเรียนในโรงเรียนพัฒนวิทย์ศึกษา อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. [รายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมสรรค์ อธิเวสส. (2557). การคุกคามทางเพศบนสังคมเครือข่าย. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(3), 901-916.
สรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์. (2559). คู่มือปฏิบัติและข้อตกลงร่วมกัน เรื่อง การคุ้มครองและช่วยเหลือ เด็กในภาวะเสี่ยง และเป็นผู้เสียหายจากการละเมิด ละเลยทอดทิ้ง แสวงประโยชน์ และความรุนแรงกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. รำไทยเพลส จำกัด
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). คู่มือแนวทางปฏิบัติและมาตรการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษา (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). คู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา. http://www.nst1.go.th/
home/wp-content/uploads/file/Safety.
สิริภาพ ไพบูลย์. (2551). การจัดการความปลอดภัยในโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตจตุจักร. [รายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุชีรา ใจหวัง. (2560). การศึกษาการจัดการความปลอดภัยในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 15(28): 50-61.
Ministry of Education & Information Technology, Government of India. (2022, December 18).