การใช้โมเดลคุณภาพการบริการสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์

Main Article Content

สมเกียรติ แก้วเกาะสะบ้า
ดวงฤดี อุทัยหอม

บทคัดย่อ

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นการบริการเชิงสุขภาพเพื่อการท่องเที่ยว 3 ประการ คือ สุขภาพร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ ปี พ.ศ. 2563 ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพถึงร้อยละ 15.6 ของรายได้การท่องเที่ยวรวม และยังมีอัตราการขยายตัวที่สูงถึงร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นทางเลือกที่สำคัญสำหรับการดูแลสุขภาพร่างกาย จิตใจ และสังคมของผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลที่ดี การเฝ้าระวังความเสี่ยงด้านสุขภาพ การทำกิจกรรมเพื่อการพักผ่อนแบบไม่เร่งรีบ และการช่วยเติมความสุขทางจิตใจ การใช้โมเดลคุณภาพการบริการสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ประกอบด้วยประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ (1) ผู้ประกอบการต้องออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพให้สอดคล้องกับพฤติกรรม ความต้องการ และลักษณะทางกายภาพของผู้สูงอายุ (2) ผู้ประกอบการต้องดำเนินกิจการและให้บริการตามมาตรฐานของศูนย์เวลเนสและการบริการเชิงสุขภาพเพื่อการท่องเที่ยว (3) ผู้ประกอบการต้องออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพการบริการ 5 ด้าน กล่าวคือ (3.1) การทำให้ลูกค้าเกิดความไว้วางใจ (3.2) การให้บริการด้วยขั้นตอนที่เหมาะสม น่าเชื่อถือ และถูกต้อง (3.3) ความเอาใจใส่ในการให้บริการที่สอดคล้องกับความต้องการที่แตกต่างของลูกค้า (3.4) การให้บริการลูกค้าด้วยความกระตือรือร้น สามารถให้ข้อมูล ตอบคำถาม หรือแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง และ (3.5) การจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการให้บริการ

Article Details

How to Cite
แก้วเกาะสะบ้า ส., & อุทัยหอม ด. (2023). การใช้โมเดลคุณภาพการบริการสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์. วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์, 4(1), 13–24. https://doi.org/10.14456/jsmesr.2023.2
บท
บทความวิชาการ

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2566). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน) เดือนกุมภาพันธ์ 2566. UpToDate. Retrieved 26 กุมภาพันธ์ 2566, from https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/ statmonth/#/mainpage

กรมการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก. (2564). เกณฑ์การประเมินศูนย์เวลเนส. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. UpToDate. Retrieved 26 กุมภาพันธ์ 2566, from https://online.fliphtml5.com/ljivi/rexn/

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2564). สู่เส้นทางสุขภาพสายประเทศไทย. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. Retrieved from: http://mrd-hss.moph.go.th/mrd1_hss/wp-content/uploads/2021/09/The-Journey-To-Thailand-Health-Tourism-EP.1.pdf

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2552). โครงการจัดทำข้อมูลโครงสร้างการลงทุนธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

ชยพจน์ ลีอนันต์. (2565). แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 17(1), 147-155.

ทัศนีย์ นาคเสนีย์. (2561). พฤติกรรม ความคาดหวัง และปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขตภูมิภาคตะวันตก. การประชุมวิทยาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 ประจำปี 2561 ตามรอยพระบาทพ่อเพื่อสานต่อพระราชปณิธาน 15-16 กุมภาพันธ์. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

นภาพร จันทร์ฉาย. (2563). ความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวต่อคุณภาพธุรกิจบริการเชิงสุขภาพ. รายงานการวิจัย.นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

นันทวัชร ซื่อตรง. (2564). การพัฒนากิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุชาวไทย. ปริญญานิพนธ์ การจัดการมหาบัณฑิต (การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ). กรุงเทพฯ: คณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2564. UpToDate. Retrieved 26 กุมภาพันธ์ 2566, from https://thaitgri.org/?p=40101

ลัดณา ศรีอัมพรเอกกุล และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2561). การท่องเที่ยวคุณภาพเพื่อนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 4(1), 12-28.

ศจี วิสารทศจี. (2554). แนวทางการออกแบบศูนย์ส่งเสริมสังคมและนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่เขตทุ่งครุและพื้นที่ใกล้เคียง จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2565). มาตรฐานอุตสาหกรรมเอส การบริการเชิงสุขภาพเพื่อการท่องเที่ยว

(มอก. เอส 192-2565). กรุงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม. https://www.tisi.go.th/assets/website/pdf/tiss/s192-2565.pdf

อัญชนา สมบัติพิบูลย์. (2563). การจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสังคมภิวัฒน์, 11(2), 25-36.

Cohen, E. (1979). A phenomenology of tourist eperience. Sociology, 13(2), 179 - 201.

Hofer, S., Honegger, F., & Hubeli, J. (2012). Health tourism: definition focused on the Swiss market and conceptualization of health (i) ness. Journal of Health Organization and Management, 26(1), 60-80. doi: 10.1108/14777261211211098. PMID: 22524099.

Kim, Y., Boo, C., & Kim, M. (2009). A framework for health tourism: A case study of Jeju Province in the Republic of Korea (South Korea). International CHRIE Conference 2009.

Laws, E. (1996). Health tourism: a business opportunity approach’, in Clift, S. and Page, S.J. (Eds.): Health and the International Tourist, Routledge: London and New York, pp. 199–214.

Parasuraman, A., Berry, L. L., & Zeithaml, V. A. (1991). Perceived service quality as a customer based performance measure: An empirical examination of organizational barriers using an extended service quality model. Human Resource Management, 30(3), 335-364.

Parasuraman, A., Zeithaml, V.A., & Berry, L. L. (2013). A Conceptual Model of Service Quality and Its Implications for Future Research. Journal of Marketing, 49(41), 50.

WHO. (2001). Mental health: New understanding, new hope. The World Health Report. Geneva, World Health Organization.