ผลของความเครียดจากการปรับตัวในการเรียนที่มีต่อการเผชิญความเครียดของนักศึกษาปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 และ 2 ที่อยู่ในหอพักของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง

Main Article Content

วิรินญา แสงธรรมชัย
รัตนาวดี พานิชกุล
สุพรรษา ปิยวัชรเมธา
อังคณา ศรสวัสดิ์
ชุติมา สุขอ่อน
ณภัทรรัตน์ ไชยอัครกัลป์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับความเครียดจำแนกตามเพศ และชั้นปี และอิทธิพลของความเครียดจากการปรับตัวในการเรียนที่มีต่อการเผชิญความเครียดของนักศึกษาปริญญาตรีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 และ 2 ที่อยู่ในหอพักของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาที่อาศัยอยู่ในหอพักทั้งหมด จำนวน 125 คน โดยใช้แบบวัดความเครียดและการเผชิญความเครียด ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์ครอนบาคเท่ากับ 0.86 และ 0.89 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การทดสอบแบบ t-test และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาหญิงมีระดับความเครียด (M = 2.74, SD = 0.67) มากกว่านักศึกษาชาย (M = 2.38, SD = 0.51), t(54.54) = 2.88, p = 0.01 2) นักศึกษาชั้นปีที่ 2 มีระดับความเครียด (M = 2.70, SD = 0.59) มากกว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1 (M = 2.34, SD = 0.54), t(96.74) = 3.40, p = 0.05 3) ความเครียดด้านการจัดการเรียนการสอนสามารถทำนายการเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหาได้ร้อยละ 9 โดยความเครียดด้านการจัดการเรียนการสอนมีอิทธิพลต่อการเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหา (β = 0.27, p = 0.01) และ 4) ความเครียดด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนสามารถทำนายการเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้อารมณ์ได้ร้อยละ 14 โดยความเครียดด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนมีอิทธิพลต่อการเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้อารมณ์ (β = 0.30, p = 0.01)

Article Details

How to Cite
แสงธรรมชัย ว., พานิชกุล ร., ปิยวัชรเมธา ส., ศรสวัสดิ์ อ., สุขอ่อน ช., & ไชยอัครกัลป์ ณ. (2023). ผลของความเครียดจากการปรับตัวในการเรียนที่มีต่อการเผชิญความเครียดของนักศึกษาปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 และ 2 ที่อยู่ในหอพักของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์, 4(1), 39–50. https://doi.org/10.14456/jsmesr.2023.4
บท
บทความวิจัย

References

กนกอร ลีปรีชานนท์, กุลธิดา ขุนภิรมย์, ฐิติวรรณ อินตรา, ขนิษฐา สุขสวัสดิ์, อิชยา แซ่อั๊ง, ศิริรัตนา เวทย์วิรุณ และรัฐวดี นิมิตเกษมสุภัค. (2542). ระดับความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนักศึกษาหอพักมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ภาษาไทย), 7(2), 16-23.

กรมสุขภาพจิต. (17 มีนาคม 2565). สภาวะอารมณ์ที่ไม่คงที่ในวัยรุ่น (ตอนที่ 1). https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2503

กฤตวรรณ คำสม. (2564). “นักศึกษา” กับการเป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่เพื่อน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 10(2), 197-206.

จันทรา อุ้ยเอ้ง และ วรรณกร พลพิชัย. (2561). การศึกษาความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในอำเภอเมือง จังหวัดตรัง. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 10(10), 94-106.

จิตรา สุขเจริญ, พัทธ์ธีรา วุฒิพงษ์พัทธ์, จิดาภา เรือนใจมั่น และวีนะ อนุตรกุล. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดและการเผชิญความเครียดของนักศึกษาในการฝึกปฏิบัติวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีชลบุรี. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 14(3), 107-118.

จิรภัทร รวีภัทรกุล. (22 กรกฎาคม 2564). เรียนแล้วเครียด! จัดการกับความเครียดอย่างไรดี?. https://smarterlifebypsycho

logy.com/2021/07/22/coping-ra/

จุฑารัตน์ สถิรปัญญา และวิทยา เหมพันธ์. (2556). ความเครียดของนักศึกษามหาวิทยาลัย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 1(1), 42-58.

ณัฏฐพร รอดเจริญ. (2559). ความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55260

ทวีวัฒน์ จิตติเวทย์กุล. (2564). แนวทางการจัดการสอนเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองสำหรับนักศึกษาหลักสูตรศิลปบัณฑิตสาขาวิชาทัศนศิลป์ วิทยาลัยช่างศิลป สถาบันพัฒนศิลป์ (รายงานการวิจัย). http://media.bpi.ac.th/admin/attach/

w2/f20220915101009_ydW2khsEFM.pdf

ธเนศ แม้นอินทร์. (2564). การปรับตัวของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, 16(2), 75-91.

ธัญญารัตน์ จันทรเสนา. (2555). ความเครียดของนิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. Srinakharinwirot University Institutional Repository (SWU IR). https://ir.swu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/3850/2/Thanyarat_C.pdf

ปาริชาติ บัวเจริญ, นพรัตน์ เตชะพันธ์รัตนกุล, ไกรลาศ ดอนชัย และปวันรัตน์ บัวเจริญ. (2561). ความเครียดและการปรับตัวของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน มจร วิทยาเขตแพร, 4(2), 37-58.

พรนับพัน อัศวมงคลศิร, นฤมล ศราธพันธุ์ และชีพสุมน รังสยาธร. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเวลา ความเครียด และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิต นักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐในกรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 35(3), 122-130.

ภูวสิทธิ์ ภูลวรรณ, เอกตระกาล แข็งแรง, ชนานันท์ บุตรศรี, พิชญา ดุพงษ์ และกิตติมา สาภอนันต์บังเกิด. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเครียดของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(3), 105-118.

ลินจง โปธิบาล, ทศพร คำผลศิริ และนรัชพร ศศิวงศากุล. (2562). ความเครียดและการเผชิญความเครียดในผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคพาร์กินสัน. วารสารการพยาบาล, 34(2), 62-75.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2565). สุขภาพคนไทย 2565: ครอบครัวไทยในวิกฤตโควิด-19. บริษัท อมรินทร์พรินติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน). https://www.thaiheal

threport.com/file_book/569-ThaiHealth2022-TH-Final_compressed.pdf.

สิริวดี ชูเชิด. (2561). การพัฒนาทักษะทางการเรียนของนักศึกษาโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติในรายวิชาการพัฒนาองค์การ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(3), 1-12.

สืบตระกูล ตันตลานุกุล และปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2562). การดูแลเฝ้าระวังความเครียดในวัยรุ่น. วารสารเครือข่าววิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 6(2), 279-285.

สุวรรณา สี่สมประสงค์. (2552). การศึกษาความเครียดของนักศึกษาแพทย์ระดับชั้นปีที่ 4-6. [สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/

Gui_Cou_Psy/Suwanna_S.pdf

อ้อยทิพย์ บัวจันทร์, เทพไทย โชติชัย, สมฤทัย ผดุงผล, กิรณา แต้อารักษ์ และชลการ ทรงศรี. (2563). ความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดของนักศึกษาสาธารณสุข. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(2), 193-203.

Lazarus, R. S., & Folkman, S. (1984). Stress, Appraisal, and Coping. New York : Springer Publishing Company.