การบริหารโครงการวิจัยตามแนวพุทธศาสตร์

Main Article Content

สุทธิศานติ์ ชุ่มวิจารณ์

บทคัดย่อ

การบริหารจัดการโครงการวิจัยด้วยการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาปรับใช้เป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่ทำให้ผู้วิจัยสามารถเลือกรูปแบบการวางแผนและการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการทำวิจัย โดยนำเสนอหลักธรรมทั่วไปในการบริหารโครงการวิจัยที่เรียกว่า พุทธวิธีบริหารโครงการวิจัย ในบทความนี้นำเสนอหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่มีความครอบคลุมและสามารถนำมาใช้ประยุกต์ในบริบทของในการบริหารโครงการวิจัยในทุกระดับของกระบวนการวิจัย คือ 1) กระบวนการวิจัยระดับต้นน้ำ : การวางแผนโครงการวิจัย 2) กระบวนการวิจัยระดับกลางน้ำ : การดำเนินการวิจัย และ 3) กระบวนการวิจัยระดับปลายน้ำ : การเขียนรายงานการวิจัย ซึ่งครอบคลุมใน 5 องค์ประกอบ คือ 1) การวางแผน 2) การจัดการองค์กร 3) การบริหารบุคคล 4) การอำนวยการ 5) การกำกับดูแล เพื่อให้ผู้อ่านเห็นความเชื่อมโยงของหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่สามารถประยุกต์ใช้กับการทำวิจัย

Article Details

How to Cite
ชุ่มวิจารณ์ ส. (2023). การบริหารโครงการวิจัยตามแนวพุทธศาสตร์. วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์, 4(1), 1–12. https://doi.org/10.14456/jsmesr.2023.1
บท
บทความวิชาการ

References

ป. อ. ปยุตฺโต. (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

ป. อ. ปยุตฺโต. (2548). ภาวะผู้นำ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: พิมพ์สวย.

ป. อ. ปยุตฺโต. (2555). พุทธรรมฉบับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 32). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ บริษัทสหธรรมิก.

ประยูร ธมฺมจิตฺโต. (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

ประยูร ธมฺมจิตฺโต. (2553). วิธีบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย . (ม.ป.ป.). พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์. [ออนไลน์] เข้าถึงจาก http://www.mcu.ac.th/mcutrai/menu2/Critical/07.htm

ว. วชิรเมธี. (2555). อริยสัจ TODAY: พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ทำไมจึงสำคัญนัก. กรุงเทพฯ : สถาบันวิมุตตยาลัย.