ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนรู้กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอ่างทอง

Main Article Content

สาคร เพ็ชรสีม่วง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอ่างทอง โดยจำแนกตามเพศ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนรู้กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอ่างทอง กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาพลศึกษา ปีการศึกษา 2561 จำนวน 204 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามรูปแบบการเรียนรู้ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 60 ข้อ วิเคราะห์คุณภาพความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 ค่าอำนาจจำแนก (r) โดยใช้สถิติทดสอบ t-test ได้ค่าสถิติอยู่ระหว่าง 6.47 – 9.86 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทุกข้อ และคำถามทุกข้อ มีค่าสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนของข้อคำถามแต่ละข้อกับคะแนนรวม
ของข้อที่เหลือ (CITC) มากกว่า 0.20 (มีค่าระหว่าง 0.29 – 0.68) มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีรูปแบบการเรียนรู้แบบอิสระ แบบพึ่งพา แบบหลีกเลี่ยง แบบมีส่วนร่วม และแบบร่วมมืออยู่ในระดับมาก ส่วนรูปแบบการเรียนรู้แบบแข่งขันอยู่ในระดับปานกลาง นักศึกษาหญิงมีรูปแบบการเรียนรู้ทุกรูปแบบการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก ส่วนนักศึกษาชาย มีรูปแบบการเรียนรู้แบบอิสระ แบบพึ่งพา แบบหลีกเลี่ยง แบบมีส่วนร่วม และแบบร่วมมือ อยู่ในระดับมาก และมีแบบแข่งขันอยู่ในระดับปานกลาง นักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปานกลาง และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ มีรูปแบบการเรียนรู้แบบอิสระ แบบพึ่งพา แบบมีส่วนร่วมแบบแข่งขัน แบบร่วมมืออยู่ในระดับมาก โดยที่นักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปานกลาง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ มีรูปแบบการเรียนรู้แบบหลีกเลี่ยงอยู่ในระดับมาก ส่วนนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง มีรูปแบบการเรียนรู้แบบหลีกเลี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง และรูปแบบการเรียนรู้ทั้ง 6 รูปแบบ ได้แก่ แบบอิสระ แบบพึ่งพา แบบหลีกเลี่ยง แบบมีส่วนร่วม แบบแข่งขัน และแบบร่วมมือ ไม่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

Article Details

How to Cite
เพ็ชรสีม่วง ส. (2022). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนรู้กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอ่างทอง. วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์, 3(2), 37–45. https://doi.org/10.14456/jsmesr.2022.9
บท
บทความวิจัย

References

กนกพร ศรีญาณลักษณ์. (2551). รายงานการวิจัยเรื่อง รูปแบบการเรียนภาษาจีนของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารศึกษาศาสตร์. 19(3), 15-26.

จุฑารัตน์ ช่างทอง. (2559). รูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาเอกสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 9(3), 165-176.

ชวนสิทธิ์ สุชาติ. (2532). การเปรียบเทียบแบบการเรียนของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ ในระดับอุดมศึกษา. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญญรัตน์ ชัยมัง. (2539). รูปแบบการเรียนของนักเรียนนักศึกษา คณะวิชาบริหารธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พรณิศา แสนบุญส่ง. (2560). รูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 10(1), 154-164.

วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2544). การพัฒนาการเรียนการสอนทางการอุดมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ. (2553). การเปลี่ยนแปลงโลกของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาสู่ “ครูมืออาชีพ” สืบค้น 9 มกราคม 2562, จาก https://www.pharmacy.cmu.ac.th/unit/unit_files/files_ download/2013-03-27%E0%B8%A1%E0%B8%B5.%E0%B8%84.2556.pdf.

อรอุมา ตั้งจรูญ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนรู้กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิต คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตบางเขน. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อัจฉรา วัฒนาณรงค์. (2550). เอกสารการสอนวิชา อษ 511 การพัฒนาหลักสูตรและการสอนในระดับอุดมศึกษา (Curriculum and Instructional in Higher Education). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

Grasha A, & Reichman, S. (1975). Workshop Handout on learning styles. Ohio: University of Cincinanati.