โมเดลเชิงสาเหตุและผลของความตั้งใจท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อความต้องการทำกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ของประชาชนในจังหวัดสงขลา

Main Article Content

ดวงฤดี อุทัยหอม
สมเกียรติ แก้วเกาะสะบ้า

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัย คือ (1) เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างโมเดลเชิงสาเหตุและผลของความตั้งใจท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนที่มีต่อความต้องการทำกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ของประชาชนในจังหวัดสงขลากับข้อมูลเชิงประจักษ์ (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมของปัจจัยตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนผ่านความตั้งใจที่จะท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ต่อความต้องการทำกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ของประชาชนในจังหวัดสงขลา ตัวอย่างวิจัยเป็นผู้ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป จำนวน 255 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามผ่านระบบออนไลน์ ผลการวิจัย พบว่า (1) โมเดลเชิงสาเหตุและผลของความตั้งใจท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนที่มีต่อความต้องการทำกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ของประชาชนในจังหวัดสงขลามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ Goodness-of-fit index (GFI) : x^2 (92, N = 255) = 114.085, p = .059, x^2/ df = 1.240, CFI = .992, TLI = .989, RMSEA =.031, SRMR = .033 (2) ปัจจัยตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนที่ส่งอิทธิพลเชิงบวกทางตรงและอิทธิพลเชิงบวกทางอ้อมผ่านความตั้งใจที่จะท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ต่อความต้องการทำกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชน
เชิงสร้างสรรค์ ของประชาชนในจังหวัดสงขลา มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ประกอบด้วย เจตคติต่อการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ การรับรู้บรรทัดฐาน และ การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ นักวิจัยสามารถนำผลการศึกษาไปพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ได้โดยให้ความสำคัญกับการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและความพึงพอใจให้นักท่องเที่ยว ให้ข้อมูลที่ครบถ้วนที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ง่าย และการนำบรรทัดฐานเชิงชี้นำมาใช้เป็นเทคนิคในการส่งเสริมการตลาด

Article Details

How to Cite
อุทัยหอม ด., & แก้วเกาะสะบ้า ส. (2022). โมเดลเชิงสาเหตุและผลของความตั้งใจท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อความต้องการทำกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ของประชาชนในจังหวัดสงขลา. วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์, 3(2), 46–59. https://doi.org/10.14456/jsmesr.2022.10
บท
บทความวิจัย

References

จิรดาภา สนิทจันทร์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยวกรณีศึกษาตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ. รายงานการค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม). กรุงเทพฯ : คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ชิดชม กันจุฬา. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการมาท่องเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษาเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี.วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 2(1), 13-33.

ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว คุณภาพบริการ ความพึงพอใจ และความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยว. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 15(2), 117-130.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย, (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิธารัตน์ สุขะนินทร์. (2561). การศึกษาการรับรู้ข้อมูล ทัศนคติ และพฤติกรรม ที่มีต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2565). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน) เดือนกรกฎาคม 2565. Retrieved from: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/view

Ajzen, I. (1991). The Theory of Planned Behavior. Organization and Human Decision Process. 50: 179-211.

Ajzen, I. (2002). Constructing a TPB Questionnaire: Conceptual and Methodological Considerations. From http://www-unix.oit.umass.edu/izen/tpbrefs.html

Ajzen, I., & Fishbein, M. (1975). Belief, Attitude, Intention and Behavior: An Introduction to Theory and Research. Reading, MA: Addison-Wesley.

Ajzen, I., & Fishbein, M. (1980). Understanding Attitude and Predicting Social Behavior. New Jersey: Prentice-Hall.

Bentler, P. M., & Chou, C. P. (1987). Practical issues in structural modeling. Sociological methods & research, 16(1), 78-117.

Fishbein, M., & Ajzen, I. (2011). Predicting and changing behavior: The reasoned action approach. Psychology Press.

Hu, L. T., & Bentler, P. M. (1999). Cutoff criteria for fit indexes in covariance structure analysis: Conventional criteria versus new alternatives. Structural equation modeling: a multidisciplinary journal, 6(1), 1-55.

Joo, Y., Seok, H., & Nam, Y. (2020). The moderating effect of social media use on sustainable rural tourism: A theory of planned behavior model. Sustainability, 12(10), 4095.

Schumaker, R. E., & Lomax, R. G. (1996). A Beginners guide to sem. Jew Jersey.