การสร้างแบบประเมินความวิตกกังวลในการพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร

Main Article Content

กันตพัฒน์ อนุศักดิ์เสถียร
ณัฐพร แจ่มจำรัส
ถวัลยรัตน์ อินทร์สุนทร
อภิญญา จิตราศรี
อดิศรา ชัยธวัชวิบูลย์
ปวีณา ศรีเมือง
ปริญญา แสนศักดิ์
จิราภร แสนทวีสุข
นิรันดร์ เงินแย้ม
สุรเดช ประยูรศักดิ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) สร้างแบบประเมินความวิตกกังวลในการพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร 2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินความวิตกกังวลในการพัฒนาไปสู่เป็นผู้ใหญ่ของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยนเรศวร ในปีการศึกษา 2564 มีขั้นตอนในการวิจัยดังนี้ ขั้นที่ 1 สัมภาษณ์นิสิตเกี่ยวกับเรื่องของความวิตกกังวลในการพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ใหญ่จนได้ข้อมูลที่อิ่มตัวจำนวนข้อมูล 120 คน ขั้นที่ 2 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 480 คนโดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) เพื่อทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสํารวจจากข้อคําถามที่สร้างขึ้น พบข้อคำถามที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากกว่า 0.05 จำนวน 32 ข้อ แบ่งออกเป็น 6 องค์ประกอบ
ได้ตั้งชื่อองค์ประกอบดังนี้ 1) สถานการณ์ 2) การทำงาน 3) การปรับตัว 4) อาชีพ 5) ความรับผิดชอบ และ 6) ความสัมพันธ์
ขั้นที่ 3 ตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมิน ผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) จากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน พบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.66 – 1.00 โดยได้ข้อคำถามทั้งหมด 32 ข้อ ขั้นที่ 4 เก็บข้อมูลจากตัวอย่างวิจัยจำนวน 300 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโดยผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลและทำการปรับโมเดลเพื่อให้เกิดความสอดคล้อง ผลการวิจัยพบว่า ข้อคําถามได้ปรับให้เหลือ 21 ข้อ และมี 4 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) สถานการณ์ 2) การทำงาน 3) การปรับตัว และ 4) อาชีพ ข้อมูลตามทฤษฎีมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ Chi-square = 417.51, df = 185, CFI = 0.97, NFI = 0.94, RMSEA = 0.85 ซึ่งผ่านเกณฑ์ การพิจารณาทุกรายการ และเครื่องมือที่สร้างมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สรุปได้ว่า แบบประเมินความวิตกกังวลในการพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ใหญ่มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ประเมินในบริบทของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร

Article Details

How to Cite
อนุศักดิ์เสถียร ก., แจ่มจำรัส ณ., อินทร์สุนทร ถ. ., จิตราศรี อ. ., ชัยธวัชวิบูลย์ อ. ., ศรีเมือง ป. ., แสนศักดิ์ ป. ., แสนทวีสุข จ., เงินแย้ม น., & ประยูรศักดิ์ ส. (2022). การสร้างแบบประเมินความวิตกกังวลในการพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์, 3(1), 34–42. https://doi.org/10.14456/jsmesr.2022.4
บท
บทความวิจัย

References

ณัฐชา พัฒนา. (2555). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อความวิตกกังวลและความพึงพอใจของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจ

ตายเฉียบพลันในหอผู้ป่วยวิกฤต (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. http://digital_collect. lib.

buu.ac.th/dcms/files/51920307/chapter2.pdf

ทิวาวัลย์ ต๊ะการ, บังอร ฉัตรรุ่งเรือง, เสมอแข สมหอม, และณัฐิยา ตันตรานนท์. (2559). การพัฒนาแบบประเมินมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยสำหรับการพัฒนาระบบการให้คำแนะนำ ในการเข้ารับการตรวจประเมินเพื่อให้ได้การรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย, การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 (ฉบับที่ 2) (127-140).

ธีระดา ภิญโญ. (2561). เทคนิคการแปลผลการวิเคราะห์องค์ประกอบสำหรับงานวิจัย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10, 292-304

นธกฤต วันต๊ะเมล์. (2555). การพัฒนาโมเดลสมการเชิงโครงสร้างการสื่อสารการตลาด เพื่อสังคมเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพของเยาวชนไทย. วารสารจิตพฤติกรรมศาสตร์ : ระบบพฤติกรรมไทย, 9(1-2), 43-62.

มธุรส ผ่านเมืองและ ชนนิกานต์ รอดมรณ์. (2562). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจสำหรับการพัฒนาระบบจัดการความรู้ของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี Exploratory Factors Analysis for Knowledge Management Systems in a Faculty of Business Administration, Bangkokthonburi University. วารสารบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ราชมงคลล้านนา, 7(1), 26-38

เมษา นวลศรี, กมลวรรณ ตังธนกานนท์, & โชติกา ภาษีผล. (2560). การพัฒนาเกณฑ์ปกติของ แบบวัดพหุมิติความเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(3), 143-155.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). สรุปผลที่สำคัญการสำรวจสุขภาพจิต (ความสุข) ของคนในประเทศไทย พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ :บางกอกบล๊อก.

สืบตระกูล ตันตลานุกุล, และ ปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2562). การดูแลเฝ้าระวังความเครียดในวัยรุ่น. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 6(2), 279-285.

อรรถไกร พันธ์ภักดี. (2559). การเปรียบเทียบผลการใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดทุนทางสังคม ระหว่างการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจกับการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษศาสตร์และการสื่อสาร, 11(2), 46-67

Erikson, E. H. (1968). Identity: Youth and crisis (No. 7). WW Norton & company.

Macek, P., Bejček, J., & Vaníčková, J. (2007). Contemporary Czech emerging adults: Generation growing up in the period of social changes. Journal of Adolescent Research, 22(5), 444-475. https://doi.org/10.1177%2F0743558407305417

Smith, A., Keel, P., Bodell, L., Holm-Denoma, J., Gordon, K., Perez, M., & Joiner, T. (2016). I don’t want to grow up, I’m a Gen X, Y, Me kid : Increasing maturity fears across the decades. International Journal of Behavioral Development, 41(6), 656-661.doi: 10.1177/0165025416654302

Streiner, D.L. & Norman, G.R. (1995). Health measurement scales: A practical guide to their development and use. (2nd ed.). Oxford: Oxford University Press.