ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยข้อสอบมาตรฐานในการสอบปลายปี ปีการศึกษา 2561 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ศศิธร ชุตินันทกุล
สาคร เพ็ชรสีม่วง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยข้อสอบมาตรฐานในการสอบปลายปีของผู้เรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2561 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 438,931 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยนักเรียน มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงที่สุด (ร้อยละ 58.84) รองลงมาคือภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) (ร้อยละ 58.74) นักเรียนส่วนใหญ่ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีผลการประเมินในระดับดี รองลงมาคือระดับพอใช้ ส่วนผลการประเมินจำแนกตามสังกัดพบว่า นักเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้คะแนนสูงสุดในกลุ่มสาระภาษาไทย คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ
ส่วนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) ได้คะแนนสูงสุดในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เมื่อพิจารณาตามขนาดโรงเรียนพบว่าโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงสุดในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โรงเรียนขนาดใหญ่ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงสุดในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) แต่นักเรียนในโรงเรียนขนาดกลางได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละต่ำสุด เมื่อพิจารณารูปแบบข้อสอบพบว่าข้อสอบแบบเลือกตอบกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงที่สุด (ร้อยละ 61.01) ส่วนข้อสอบตอบอิสระกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงที่สุด (ร้อยละ 61.19) แต่มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละต่ำสุดในข้อสอบแบบเลือกตอบ ผลการวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบ
ได้ค่าความเที่ยงอยู่ในช่วง 0.77 – 0.83

Article Details

How to Cite
ชุตินันทกุล ศ., & เพ็ชรสีม่วง ส. (2022). ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยข้อสอบมาตรฐานในการสอบปลายปี ปีการศึกษา 2561 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์, 3(1), 20–33. https://doi.org/10.14456/jsmesr.2022.3
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องนโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. ลงวันที่ 14 มกราคม 2557.

ทดสอบทางการศึกษา, สำนัก. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพผู้เรียน ปีการศึกษา 2556. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ทดสอบทางการศึกษา, สำนัก. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). รายงานผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชาติ ปีการศึกษา 2557 บทสรุปและข้อเสนอเชิงนโยบาย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ทดสอบทางการศึกษา, สำนัก. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2558. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ทดสอบทางการศึกษา, สำนัก. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). รายงานผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชาติ ปีการศึกษา 2559. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ทดสอบทางการศึกษา, สำนัก. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). รายงานผลการประเมินการอ่านออก

เขียนได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2560. กรุงเทพฯ: ทีเคเอส.

วิชาการและมาตรฐานการศึกษา, สำนัก. กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). บทสรุปผู้บริหาร: แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการศึกษาโรงเรียนพื้นที่เกาะ, สืบค้นจาก https://islandschool.thai.ac/client-upload/islandschool/uploads/files/แผน%204%20ปี.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2549). รายงานการวิจัยเปรียบเทียบการปฏิรูปการศึกษาเพื่อก้าวสู่สังคมฐานความรู้. กรุงเทพฯ : 21 เซ็นจูรี่.

อิทธิพล พลเหี้ยมหาญ. (2562). โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กปัญหาใหญ่ของการศึกษาไทย. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 6(2), 93-103.