คุณลักษณะของนิสิตฝึกสอนตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา

Main Article Content

กฤษณา ชินสิญจน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของนิสิตฝึกสอนตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2) เปรียบเทียบคุณลักษณะของนิสิตฝึกสอนตามความคาดหวังและระดับปฏิบัติจริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ 3) จัดทำแผนการจัดการฝึกประสบการณ์ให้กับนิสิตฝึกสอนตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคการศึกษาต่อไป กลุ่มที่ศึกษา คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ อาจารย์พี่เลี้ยงวิชาเอกและอาจารย์พี่เลี้ยงประจำชั้น จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสอบถามปลายเปิดเกี่ยวกับแผนการจัดการฝึกประสบการณ์ให้กับนิสิตฝึกสอนตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคการศึกษาต่อไป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะของนิสิตฝึกสอนตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในด้านบุคลิกภาพความเป็นครู ด้านการเตรียมการสอน ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านงานประจำชั้น อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ส่วนระดับปฏิบัติจริงในด้านการเตรียมการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านบุคลิกภาพความเป็นครู ด้านการจัดการเรียนรู้และด้านงานประจำชั้น อยู่ในระดับมาก 2) คุณลักษณะของนิสิตฝึกสอนตามความคาดหวังและระดับการปฏิบัติจริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่าระดับความคาดหวังสูงกว่าระดับปฏิบัติจริงในทุกด้าน 3) แผนการจัดการฝึกประสบการณ์ให้กับนิสิตฝึกสอนตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภาคการศึกษาต่อไปนั้น โดยภาพรวมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้เสนอแนวทางในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูให้กับนิสิตฝึกสอนทั้งด้านบุคลิกภาพความเป็นครู ด้านการเตรียมการสอน ด้านการจัดการเรียนรู้และด้านงานประจำชั้น โดยผ่านการฝึกอบรมและการประชุมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งระยะเวลาที่นิสิตฝึกสอนควรได้ฝึกประสบการณ์แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) ก่อนนิสิตจะฝึกสอน 2) ระหว่างนิสิตฝึกสอน และ 3) หลังนิสิตฝึกสอน

Article Details

How to Cite
ชินสิญจน์ ก. (2022). คุณลักษณะของนิสิตฝึกสอนตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา. วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์, 3(1), 43–53. https://doi.org/10.14456/jsmesr.2022.5
บท
บทความวิจัย

References

กรัณย์พล วิวรรธมงคล. (2553). การพัฒนารูปแบบการติดตามช่วยเหลือสำหรับครูพี่เลี้ยงเพื่อการนำกรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นสู่การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนของนักศึกษาครู. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

คณะกรรมการบริหารศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพศึกษาศาสตร์. (2562). คู่มือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วทัญญู ขลิบทอง. (2556). การพัฒนาแบบจำลองการดูแลให้คำปรึกษาผสมผสานเทคโนโลยีสื่อสังคมเพื่อส่งเสริมลักษณะความเป็นครูสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และแนวทางปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2558). มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2562). ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนพิเศษ 68 ง, หน้า 18.

Anderson, G. (2009). Achieving teaching excellence: a step-by-step guide. Amazon.com

Hammond, L.D., Bransford, J. & LePage, P (2005). Preparing teacher for a changing world: What teachers should learn and be able to do. San Francisco: Jossey-Bass.

Koç, E. M. (2011). Development of mentor teacher role inventory. European Journal of Teacher Education, 34(2), 193 - 208, Retrieved from http://dx.doi.org/10.1080/02619768.2010.539199

Rikard, G. & Veal, M. (1996). Cooperating teachers: insight into their preparation, beliefs and practices. Journal of Teaching in Physical Education, 15(3), 279-296.