การพัฒนาศักยภาพครูในการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนวัดสมัยสุวรรณ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู 2) พัฒนาศักยภาพครูในการทำวิจัยในชั้นเรียน 3) ประเมินผลการพัฒนาศักยภาพครูในการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนวัดสมัยสุวรรณ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย คือ ครูผู้สอนประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนวัดสมัยสุวรรณ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 จำนวน 12 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบบันทึก และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูกลุ่มเป้าหมายต้องการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ต้องการพัฒนาตนเองตามกระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียน ต้องการให้จัดอบรม และให้ดำเนินการนิเทศภายใน 2) หลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ ครูกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียนเพิ่มมากขึ้น สามารถเขียนเค้าโครงการวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับดี และหลังจากการนิเทศภายใน กลุ่มเป้าหมายสามารถปฏิบัติการทำวิจัยในชั้นเรียนตามกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนได้ 3) ครูกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในกระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียนเพิ่มมากขึ้น สามารถจัดทำรายงานผลการวิจัยในชั้นเรียนแบบเป็นทางการได้ ผลการประเมินการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับดี และมีเจตคติที่ดีต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับมาก
Article Details
ข้อความและบทความในวารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการวารสาร จึงมิใช่ความรับผิดชอบของวารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์ บทความในวารสารต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน และสงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ
References
จงกล ปทุมานนท์. (2561). การศึกษาแนวทางเสริมสร้างบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
จตุภูมิ กุลาสา. (2561). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาสมรรถนะในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ณัฏฐพร แสงฤทธิ์. (2560). การพัฒนาศักยภาพครูในการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนบ้านติ้วราษฎร์อุทิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พาที แสนสี. (2559). การพัฒนาศักยภาพครูในการทาวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนนางัวราษฎร์รังสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2553). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พินยา ปราณี. (2558). การพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนบ้านนาคอย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 1-90. 6 เมษายน 2560.
โรงเรียนวัดสมัยสุวรรณ. (2563). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2562, เอกสารอัดสำเนา.
วลัยรัตน์ สุวรรณชัยรบ. (2558). การพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนบ้านอูนดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สุจินต์ จันดากุล. (2559). การพัฒนาศักยภาพครูในการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนโพธิแสนวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
Hernandez, T. (2006). Subunit architecture of multimeric complexes isolated directly form cells. EMBO Rep, 7(6), 605-10.