การศึกษาทัศนคติต่อการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกของครูผู้สอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาทัศนคติต่อการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor -- EEC) เป็นการศึกษาทัศนคติของครู กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชลบุรี เขต 1 (สพป.ชบ.1) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาทัศนคติของครูผู้สอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สังกัด สพป.ชบ.1 ที่มีต่อการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และ (2) เปรียบเทียบทัศนคติของครูที่มีวุฒิการศึกษา และตำแหน่งต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง เป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สังกัด สพป.ชบ.1 จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า (1) ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สังกัด สพป.ชบ.1 มีทัศนคติต่อการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ (2) ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีทัศนคติต่อการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกด้านพุทธิพิสัยต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนครูที่มีตำแหน่งต่างกันมีทัศนคติต่อการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านจิตพิสัยต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการวารสาร จึงมิใช่ความรับผิดชอบของวารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์ บทความในวารสารต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน และสงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ
References
ธนัตถ์กานต์ ศรีเฉลียว ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์ และ สำราญ กำจัดภัย. (2560). การพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(2), 62-74.
บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน). (2561). EEC & THE 21st CENTURY LEARNING. วันที่ค้นข้อมูล 25 กันยายน 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.wha-logistivs.com
พงศ์เทพ จิระโร. (2561). หลักการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8). ชลบุรี: บัณฑิตเอกสาร.
Sonmez, V. (2017). Association of Cognitive, Affective, Psychomotor and Intuitive Domains in Education, Sönmez Model. Universal Journal of Educational Research, 5(3), 347-356.