The Effects of the Creative Leadership Enhancement Programme of Administrators of Sirindhorn College of Public Health, Praboromarajchanok Institute Ministry of Public Health

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ
  • วีณา อิศรางกูร ณ อยุธยา
  • สุทิน ชนะบุญ

คำสำคัญ:

โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารวิทยาลัย การสาธารณสุขสิรินธร สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 Module คือ การมีวิสัยทัศน์ การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล การมีความยืดหยุ่นและการปรับตัว การมีความคิดสร้างสรรค์ และการทำงานเป็นทีม ดำเนินการทดลองในกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ ประธานหลักสูตรหรือหัวหน้าหลักสูตรหรือหัวหน้าภาควิชา หัวหน้าฝ่าย หัวหน้างานในหลักสูตรหรือหัวหน้างานในภาควิชา และหัวหน้างานในฝ่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าควอไทล์ที่ 1 และ 3 ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด และสถิติอนุมาน Independent t-test และ Wilcoxon matched pairs signed ranks test

               ผลการศึกษาพบว่า พบว่า หลังการใช้โปรแกรมภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ที่พัฒนาขึ้น เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า คะแนนภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p-value =0.003 ; 95%              ช่วงเชื่อมั่นของความแตกต่าง = 0.08 ถึง 0.37) และหลังการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนมัธยฐานสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  (p-value < 0.001) ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ การเน้นให้ผู้นําเกิดการคิดและการปฏิบัติเชิงสร้างสรรค์ ให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

References

กฤษพล อัมระนันท์. (2559). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอแม่วงก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. (ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์) สืบค้นจาก http://ns.nsru.ac.th/handle/nsru/99
กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์. (2555). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เกศสรินทร์ ตรีเดช. (2562). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต26. (ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นเรศ บุญช่วย. (2553). แผนกลยุทธ์เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ที่เหมาะสมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา.
(ปริญญานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ปิยธิดา นามวิจิตร,และ ถนอมวรรณ ประเสริฐเจริญสุข. (2561). ภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น,12(4), 83-94.
พิมพ์ศนิตา จึงสุทธิวงษ์. (2563). โปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักวิชาการศึกษาสังกัดองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วริศรา ศิริมงคล และ รัชนิวรณ์รณ อนุตระกูลชัย. (2562). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต20. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(3), 687-705.
วิมล จันทร์แก้ว. (2555). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
ศักดา ทองดี. (2559). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2563 จาก http://www.thaiedresearch.org/index.php/home/paperview/951/?
สมทรง นัทธีศรี. (2561). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. วารสารบัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย,16(2), 64-77.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
Kouzes, J. & Posner, B. (1995). The Leadership Challenge: How to Keep Extraordinary Things Done in Organization. San Francisco CA: Jossey – Bass.
Robinson, K. (2007). The Principle of Creative Leadership. New York : Mcgraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-09