กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวภายในประเทศของผู้สูงอายุ

Main Article Content

ดารณี ธัญญสิริ
จุติพร ปริญโญกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวภายในประเทศของผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ (1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวภายในประเทศสำหรับผู้สูงอายุ (2) เพื่อศึกษาสื่อประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวภายในประเทศที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัย 1. การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) ด้วยการคัดเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แล้วใช้วิธีการอ้างอิงด้วยบุคคลและผู้เชี่ยวชาญ (Snowball Sampling Technique) จำนวน 15 ท่าน ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว และกลุ่มนักท่องเที่ยวสูงอายุ 2.การวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Analysis) ประกอบไปด้วย ข่าวตัด (Clipping) เอกสารจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เอกสารที่เกี่ยวข้องกับสื่อและผู้สูงอายุ  และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว จำนวน 100 ชิ้น ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวภายในประเทศสำหรับผู้สูงอายุ ประกอบไปด้วย  กลยุทธ์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ กลยุทธ์การชี้ให้เห็นความสะดวกสบายในการเดินทางท่องเที่ยว กลยุทธ์การคลายความกังวลด้านความปลอดภัย กลยุทธ์การสื่อสารกับคนใกล้ชิดของผู้สูงอายุ กลยุทธ์การแสดงให้เห็นความคุ้มค่าของการเดินทางและคุณค่าด้านจิตใจ และกลยุทธ์เนื้อหาสั้นกระชับสื่อด้วยภาพมากกว่าคำพูด  ส่วนสื่อการประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวภายในประเทศสำหรับผู้สูงอายุที่เหมาะสม ประกอบไปด้วย สื่อบุคคล สื่อออนไลน์ สื่อวิทยุและโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์และสื่อกิจกรรม

Article Details

บท
Articles

References

กรวรรณ สังขกร และคณะ. (2558). การบริหารและการจัดการการท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558 – 2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กรุงเทพธุรกิจ. (2558). กฎหมายกับการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุ. กฎหมายกับการพัฒนา. วันที่เข้าถึงข้อมูล 1 มีนาคม 2560.แหล่งที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/634497

คิม ควัง ฮี. (2561). ขโมยความคิดญี่ปุ่น. Steal Japan’s Idea. แปลโดย มินตรา อินทรารัตน์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พราว.

ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2559). หลักการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์ และปราโมทย์ ประสาทกุล. (2553). ประชากรไทยในอนาคต. นครปฐม :สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ไพลิน ปิยวนิชพงษ์. (2554). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัททิศร์ โชคอนันต์ตระกูล. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกแหล่งท่องเที่ยวของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2558). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

รัตนา จักกะพาก และระวี สัจจโสภณ. (2554). สื่อเพื่อผู้สูงอายุในประเทศไทย : สภาพการณ์ปัจจุบัน ความคาดหวัง แนวโน้มในอนาคตและการกำหนดยุทธศาสตร์เชิงรุก. คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ่งนภา พิตรปรีชา. (2556). พลังแห่งการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

วิชชุดา ไชยยศ. (2552). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์และการรับรู้ข่าวสารการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวใหม่ในภาคอีสาน. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิรัช ลภิรัตนกุล. (2553). การประชาสัมพันธ์ : ฉบับสมบูรณ์ = Public relations. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภมณฑา สุภานันท์. (2557). การสื่อสาร อัตลักษณ์ และประสบการณ์การท่องเที่ยวของผู้สูงอายุไทย.วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สกุลพงษ์ พงษ์พิจิตร. (2553). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์วัดร่องขุ่น จังหวัดเชียงรายของอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุรกุล เจนอบรม. (2534). วิทยาการผูสูงอายุ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

สุวิมล สุทธิพงศ์. (2549). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์และภาพลักษณ์ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ในสายตาของประชาชนใน

เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรนุช ศิลป์มณีพันธ์. (2547). ลักษณะชายฝั่งทะเลที่พึงประสงค์ของนักท่องเที่ยว บริเวณชายฝั่งทะเลประเทศ ไทย.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร.

Magnus, G. (2009). The age of ageing. Singapore: John Wiley.

Nella, A., & Christou, E. (2016). Extending tourism marketing: Implications for targeting the senior tourists’ segment. Journal of Tourism, Heritage & Services Marketing. 2(1), 36-42.

Van den Berg, P., Arentze, T., Timmermans, H. (2011) Estimating social travel demand of senior citizens in the Netherlands. Journal of Transport Geography. 19(2), 323–331.