ระดับความชื่นชอบไอดอลเกาหลีกับการตอบสนองต่อตราสินค้าของผู้บริโภค
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันที่สังคมอยู่ในสภาวะที่การแข่งขันทางการตลาดทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกที การ ตอบสนองของผู้บริโภคถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับตราสินค้า โจทย์หลักที่สำคัญยิ่งของผู้วางกลยุทธ์ทางการตลาดให้กับตราสินค้าคือ ทำอย่างไรสินค้าที่นำเข้าสู่ตลาดจะได้รับการตอบสนองที่ดีจากผู้บริโภค ซึ่งกลยุทธ์หนึ่งที่ถูกนำมาใช้มากในระยะหลังคือการใช้ไอดอลเกาหลีเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับตราสินค้า เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองของผู้บริโภคที่มากขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความชื่นชอบ พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารตราสินค้าที่มีไอดอลเกาหลีเป็นพรีเซ็นเตอร์ และอิทธิพลที่ส่งผลต่อการตอบสนองของผู้บริโภคกลุ่มแฟนคลับเกาหลีทั้งในด้านความคิด ด้านอารมณ์ ความรู้สึก และด้านพฤติกรรม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการเก็บแบบสอบถามแบบออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นแฟนคลับไอดอลเกาหลีนั้นมีระดับความชื่นชอบไอดอลเกาหลีในระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารตราสินค้าที่มีไอดอลเกาหลีเป็นพรีเซ็นเตอร์ในระดับปานกลาง และมีการตอบสนองต่อตราสินค้าที่มีไอดอลเกาหลีเป็นพรีเซ็นเตอร์ในระดับมาก นอกจากนี้ ระดับความชื่นชอบ ยังมีอิทธิพลต่อการตอบสนองของผู้บริโภค ทั้งในด้านความคิด ด้านอารมณ์ / ความรู้สึก และด้านพฤติกรรมมากที่สุดอีกด้วย
Article Details
References
ตุล อัคนิบุตร. (2556). อิทธิพลของการโฆษณาที่ใช้พรีเซนเตอร์นักร้องเกาหลีต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อของวัยรุ่นหญิงในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะนิเทศศาสตร์และสารสนเทศ.
ปรมะ สตะเวทิน. (2540). หลักนิเทศศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
ปรมะ สตะเวทิน. (2541). การสื่อสารสารมวลชน: กระบวนการและทฤษฎี. (พิมพ์ครั้งที่ 2.) กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
ภัสสรนันท์ เอนกธรรมกุล. (2553). ผลกระทบจากการใช้บุคคลที่มีชื่อเสียง (Celebrity) ที่เป็นผู้นำเสนอสินค้าหลากหลายตราสินค้าในงานโฆษณา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.
รัตนาภรณ์ เทพเกษตรกุล. (2555). การตอบสนองของผู้บริโภคที่มีต่อการใช้พรีเซ็นเตอร์เกาหลีโฆษณาสินค้าในประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.
อุบลศรี ร่มโพธิ์คาพงษ์. (2554). ทัศนคติและการตัดสินใจซื้อสินค้าความเกี่ยวพันสูงและต่ำที่มีศิลปินเกาหลีเป็นผู้นำเสนอ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะนิเทศศาสตร์.
ภาษาอังกฤษ
Beck, A. T., Freeman, E., & Associates (1990). Cognitive Therapy of Personality Disorders. London: The Guilford Press.
Burcher, Nick. (2012). Paid, owned, earned: maximizing marketing returns in a Socially Connected World. London. Kogan Page Ltd.
Fiske, John. (1992). The Cultural Economy of Fandom. New York: Routledge.
McCutcheon, L. E., Lange, R. and Houran, J. (2002), Conceptualization and measurement of celebrity worship. British Journal of Psychology. 93(1), 67-87.