แนวทางการสร้างตราสินค้าสำหรับข้าวไทยที่มีกระบวนการผลิตจากไร่นาขนาดเล็ก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างตราสินค้าสำหรับข้าวไทยที่มีกระบวนการผลิตจากไร่นาขนาดเล็ก โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ที่เกี่ยวข้องในการสร้างตราสินค้าข้าวไทย อันได้แก่ ผู้พัฒนาตราสินค้าข้าวที่ประสบความสำเร็จ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างตราสินค้า เจ้าหน้าที่ภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการสนทนากลุ่มกับผู้บริโภคและผู้เกี่ยวข้องผลการวิจัยพบว่า แนวทางการพัฒนาตราสินค้าข้าวไทย ประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกอย่างมีระบบ 2) การระบุและสร้างตำแหน่งของตราสินค้าข้าวที่มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคแต่แตกต่างจากตราสินค้าข้าวอื่นอย่างชัดเจน 3) การพัฒนาองค์ประกอบตราสินค้าข้าวทั้งองค์ประกอบด้านนามธรรมและรูปธรรมที่สอดคล้องกับตำแหน่งตราสินค้า 4) การวางแผนและดำเนินกิจกรรมทางการตลาดเพื่อนำเสนอองค์ประกอบตราสินค้าข้าว 5) การประเมินผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ และ 6) การเติบโตของคุณค่าตราสินค้าอย่างยั่งยืนผ่านการรักษาคุณภาพให้คงที่ร่วมกับการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบให้สอดคล้องกับบริบท
Article Details
References
จุฑาทิพย์ ภัทรวาท. (2559). นักวิชาการกะเทาะปัญหาโครงสร้างชาวนาไทย ทำนาแล้วไม่ได้นา. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2560, จาก http://www.qlf.or.th
เดชรัต สุขกำเนิด. (2559). “ลูกชาวนา ได้เวลาช่วยพ่อ” ระดมสมองแก้ราคาข้าวตกต่ำ. คมชัดลึก. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2560, จาก http://www.komchadluek.net
ทศพล หงส์ทอง. (2559). ยกระดับข้าวอาเซียน สู่ยุคเกษตรกรรม 4.0. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2560, จาก http://www.posttoday.com/biz/aec/scoop/446978
ธนณฐ์วรรธ์ แสงหวัง และคณะ. (2554). โครงการวิจัยเครือข่ายคุณค่าข้าวหอมมะลิสหกรณ์ไทยแบรนด์ข้าวเกิดบุญ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
วิลาศ วิชญะเดชา. (2558). แนวทางการพัฒนาให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าเมล็ดพันธุ์ข้าวในอาเซียน.รายงานการศึกษาส่วนบุคคล. สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ.
สุทธิกร กิ่งแก้ว. (2559). มธ.เปิดพื้นที่ให้ชาวนาขายข้าวตรงสู่ผู้บริโภค. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2560, จาก http://www.bangkokbiznews.com
สุภรัตน์ ปัดภัย. (2552). กลยุทธ์การตลาดธุรกิจข้าวอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรกรรมยั่งยืน ตำบลน้ำอ้อม อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการทั่วไป. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
อภิรดี ตันตราภรณ์. (2559). ถึงเวลารัฐบาล ปฏิรูปชาวนาไทย แก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำซ้ำซาก. มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2560, จาก https://www.matichonweekly.com
อัทธ์ พิศาลวานิช. (2557). อึ้ง! ชาวนาไทยจนสุดในอาเซียน ส่งออกข้าวร่วงมาอยู่อันดับ 3. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2559, จาก http://news.mthai.com/economy-news/313039.html
อารีวรรณ คูสันเทียะ. (2559). ความสำเร็จการรวมกลุ่มชาวนาญี่ปุ่น บทสะท้อนสู่ชาวนาไทย. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2560, จาก http://www.landactionthai.org
Aaker, D. A. (1996).Measuring Brand Equity across Products and Markets. California management review, 38(3), 102-120.
Aaker, D., A.,,& Erich, J. (2000). Brand Leadership. London: Free Press.
Aaker, D. A. (2009).Managing Brand Equity. UK: Simon and Schuster.
Abdullahi, F., A., ,Zainalabidin, M., &Isalami, A. L. (2011). The Influence of Socio- demographic Factors and Product Attributes on Attitudes toward Purchasing Special Rice among Malaysian Consumers. International Food Research Journal, 18(3), 1135-1142.
AzabagaogluM.O.,&Gaytancioglu O. (2009). Analyzing Consumer Preference to Different Rice Varieties in Turkey. Agricultura Tropica Et Subtropica, 42(3), 118 – 125.
Bradley, J. R., Todd, M. S., Miguel, L. G., &Hao, L. (2011). Does the Name Matter? Developing Markets for New Managed Apple Varieties. New York Fruit, 3(-), 5-9.
Davis S. M. (2002). Brand Asset Management: How Business can Profit from the Power of Brand. Journal of Consumer Marketing, 19(4), 351-358.
Fernández-Barcala, M., & González-Díaz, M. (2006). Brand Equity in the European Fruit and Vegetable Sector: A Transaction Cost Approach. International Journal of Research in Marketing, 23(1), 31-44.
Gerlach, A., & Witt, J. (2012). Sustainability in the Context of Strategic Brand Management: A Multiple Case Study on the Automobile industry. (Master of Science), Halmstad University.
Hoang, T. P., Chi, T. T. H., Linh, N. C. H., &Quang, H. T. (2016). Factors Affecting the Sustainable Development to Vietnamese Rice Brands in Joining TPP Agreement: A Study in Ho Chi Minh City, Vietnam. European Journal of Business and Social Sciences, 4(11), 41-52.
Keller, K. L. (1993). Conceptualizing, Measuring, and Managing Customer-based Brand Equity.the Journal of Marketing, 57(1), 1-22.
Keller, K. L., Apéria, T., &Georgson, M. (2008). Strategic Brand Management: A European Perspective. US: Prentice Hall Financial Times.
Keller, K. L., Parameswaran, M., & Jacob, I. (2011). Strategic Brand Management: Building, Measuring, and Managing Brand Equity. India: Pearson Education
Lim, K. Y., Mohamed, R., Ariffin, A., & Guan, G. (2009). Branding an Airline: A Case Study of Air Asia. Malaysian Journal of Media Studies, 11(1), 35-48.
Musa, M., Othman, N., & Fatah, F. A. (2011). Determinants of Consumers Purchasing Behavior for Rice in Malaysia. American International Journal of Contemporary Research, 1(3), 159-167.
Nijssen, E. J., & Van Trijp, H. C. (1998). Branding Fresh Food Products: Exploratory Empirical Evidence from the Netherlands. European Review of Agricultural Economics, 25(2), 228-242.
Nkari, I., Micheni. (2015). Branding Practices for Fresh Fruits and Vegetables. (Master of Business Administration), University of Nairob.
Urde, M. (1999). Brand Orientation: A Mindset for Building Brands into Strategic Resources. Journal of marketing management, 15(1-3), 117-133.
Utami, H. N., Sadeli, A. H., &Perdana, T. (2016). Customer Value Creation of Fresh Tomatoes Through Branding and Packaging as Customer Perceived Quality. International Society for Southeast Asian Agricultural Sciences–Philippines, 22, 123-136.