Civic Education for Strengthening Democracy from Below : A case study of schools in Mahasarakham municipality

Main Article Content

ศราวุฒิ วิสาพรม
วชิรวัตติ์ อาริยะสิริโชติ
วนิดา เสาสิมมา

Abstract

การวิจัย การวิเคราะห์การสร้างพลเมืองเพื่อเสริมสร้างประชาธิปไตยจากฐานราก : กรณีศึกษาโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. เพื่อศึกษาพัฒนาการของการศึกษาเพื่อเสริมสร้างพลเมืองในกรณีสังคมไทย 2. เพื่อวิเคราะห์การสร้างพลเมืองเพื่อเสริมสร้างประชาธิปไตยจากฐานรากในกรณีของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม โดย โดย การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการ ดำเนินการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง (Civic Education) เป็นพื้นฐานสำคัญของการปกครองที่มั่นคงและมีเสถียรภาพ การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองไม่ใช่เพียงแค่เสริมสร้างความรู้ให้แก่ประชาชน และไม่ใช่เพื่อจรรโลงระบบการเมือง แต่ยังส่งผลที่เป็นรูปธรรมโดยตรงต่อประชาชน ให้ประชาชนกลายเป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ (Active Citizen) และให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างเคารพกติกาในสังคม อีกทั้ง การใช้ประชาธิปไตยหรือการปกครองที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน จะต้องมีการฝึกฝนประชาชนเจ้าของประเทศจึงจะสามารถปกครองกันเองได้ และอยู่ร่วมกันได้ท่ามกลางความแตกต่างและความขัดแย้ง และการสร้างพลเมืองเพื่อการสร้างพลเมืองเพื่อเสริมสร้างประชาธิปไตยจากฐานรากในกรณีของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม นี้ พบว่ามีกระบวนการสร้างพลเมืองที่สำคัญ คือ 1. ซ่อม ถอดรื้อความคิด ปรับมุมมอง ทำความเข้าใจนิยามความหมายพลเมือง 2.เสริมสร้าง องค์กระบวนการสำคัญ 4 มิติ ความรู้สู่การเป็นพลเมืองตื่นรู้ 3. ต่อเติม เพิ่มศักยภาพพลเมือง 4.ต่อยอด เชื่อมเครือข่ายขยายภาคีพลเมือง

Article Details

How to Cite
วิสาพรม ศ., อาริยะสิริโชติ ว., & เสาสิมมา ว. (2019). Civic Education for Strengthening Democracy from Below : A case study of schools in Mahasarakham municipality. Journal of Politics and Governance, 9(3), 1–23. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/229632
Section
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). การจัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง. ค้นเมื่อ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561. สืบค้นจาก www.moe.go.th/moe/upload/news20/FileUpload/21432-6446.pdf.
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2554). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย (Civic Education). ค้นเมื่อ วันที่ 19 มกราคม 2561. สืบค้นจากจาก http://www.fpps.or.th/news.php?detail= n1298481970.news
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2555). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง Civic Education. กรุงเทพฯ: อักษรสัมพันธ์.
วรากรณ์ สามโกเศศ. (2554). การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง. ค้นเมื่อ วันที่ 19 มกราคม 2561. สืบค้นจาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=22720&Key =hotnews
วิชัย ตันศิริ. (2557). แนวทางการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย (Civic Education). กรุงเทพฯ: พี.เพรส.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2559). เปิดประเด็น : ประชาธิปไตยจากข้างล่าง. ค้นเมื่อ วันที่ 19 มกราคม 2561. สืบค้นจาก http://lek-prapai.org/home/view.php?id=5005
สถาบันนโยบายศึกษา ภายใต้มูลนิธิส่งเสริมนโยบายศึกษา. (2557). แนวทางการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย (Civic Education). กรุงเทพฯ: พี.เพรส.
สถาบันนโยบายศึกษา. (2553). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย (Civic Education). ค้นเมื่อ วันที่ 9 มกราคม 2561. สืบค้นจาก http://www.fpps.or.th/news.php?detail= n1298481970.news.
สภาพัฒนาการเมือง. (ม.ป.ป.). สภาพัฒนาการเมือง. ค้นเมื่อ วันที่ 31 สิงหาคม 2561. สืบค้นจาก http://www.pdc.go.th/council/
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). การศึกษากับการพัฒนาประชาธิปไตย. (20 มกราคม 2550). ใน ศรัณยุ หมั้นทรัพย์. การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง: ฐานรากของการเมืองภาคพลเมือง. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 6 (พฤษภาคม-สิงหาคม ), 101-115.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (เมษายน 2554). ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง พ.ศ.2552-2561. วารสารการศึกษาไทย, 8(79), 17-23.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.
สิริพรรณ นกสวน สวัสดี. (2553). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองในประเทศไทย : สถานภาพ ความท้าทาย และข้อเสนอแนะ (Civic Education in Thailand: Status, Challenges, and Recommendations). กรุงเทพฯ: Friedrich-Ebert-Stiftung.
อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. (2558). อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ตอบโจทย์การเปลี่ยนผ่านจินตนาการประเทศไทยต่อชนบท “ประชาธิปไตยบนความเคลื่อนไหว – unfinished project. ค้นเมื่อ วันที่ 19 มกราคม 2561. สืบค้นจาก https://thaipublica.org/2015/12/attajak-settayanurak-1/
อรรถพล อนันตวรสกุล. (2546). การใช้สิ่งแวดล้อมและชุมชนเป็นแหล่งการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษา. ใน แนวคิดและแนวปฏิบัติสำหรับครูเพื่อรองรับเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู. สุวัฒนา เอี่ยมอรพรรณ (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Hay, Colin. (2002). Political Analysis: A Critical Introduction. Macmillan International Higher Education.
Thai Civic Education. (ม.ป.ป.). Thai Civic Education. ค้นเมื่อ วันที่ 9 มกราคม 2561. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/pg/thaiciviceducationcenter/about/?ref