ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการดำเนินงานของแผนกโยธาธิการและขนส่ง ในภาคกลาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

สมนึก แก้วมะณี
รศ.ดร.จิตติ กิตติเลิศไพศาล
ผศ.ดร.วัชรพงษ์ อินทรวงศ์
ผศ.ดร.ชาติชัย อุดมกิจมงคล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแบบเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการดำเนินงานของแผนก โยธาธิการและขนส่งในภาคกลาง ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการดำเนินงานของแผนกโยธาธิการและขนส่งในภาคกลาง และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาประสิทธิผลในการดำเนินงานของแผนกโยธาธิการและขนส่งในภาคกลาง การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง และจำนวน 566 คน ได้แก่ ภาครัฐ ภาคประชาชน ใช้วิธีการสุ่มโดยใช้ในกรณีไม่ทราบขนาดประชาชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวแบบเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการดำเนินงานของแผนกโยธาธิการและขนส่งในภาคกลาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มี 3 ปัจจัย ดังนี้ ปัจจัยการบริหารจัดการที่ดี มีองค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านหลักนิติธรรมและด้านหลักคุณธรรม 2) ด้านหลักความเปิดเผยโปร่งใส 3) ด้านหลักความมีส่วนร่วม 4) ด้านหลักความรับผิดชอบต่อสังคม 5) ด้านหลักความเสมอภาค ปัจจัยการบริหารภาครัฐแนวใหม่ มีองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ 1) การวัดและประเมินผล 2) การส่งเสริม สนับสนุนบุคลากรและแรงจูงใจ 3) การให้บริการที่มีคุณภาพแก่ประชาชน และ 4) ความมีประสิทธิภาพ และปัจจัยประสิทธิผลขององค์กร คือ ความพึงพอใจของผู้รับบริการ 2. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการดำเนินงานของแผนกโยธาธิการและขนส่งในภาคกลาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า ด้านหลักนิติธรรมและด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักความเปิดเผยโปร่งใส ด้านหลักการมีส่วนร่วมและด้านหลักความรับผิดชอบต่อสังคม มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลขององค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านหลักการมีส่วนร่วม มีค่าสัมประสิทธิ์ปรับมาตรฐานสูงสุด 0.570 รองลงมาด้านหลักความเปิดเผยโปร่งใส มีค่าสัมประสิทธิ์ปรับมาตรฐาน เท่ากับ 0.539 ด้านหลักนิติธรรมและด้านหลักคุณธรรม มีค่าสัมประสิทธิ์ปรับมาตรฐาน เท่ากับ 0.451 และด้านหลักความรับผิดชอบต่อสังคมมีค่าสัมประสิทธิ์ปรับมาตรฐาน เท่ากับ 0.445 กลุ่มตัวแปรการบริหารจัดการที่ดีสามารถพยากรณ์ประสิทธิผลขององค์กรได้ร้อยละ 21.20 3. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาประสิทธิผลในการดำเนินงานของแผนกโยธาธิการและขนส่งในภาคกลาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า แนวทางพัฒนาปัจจัยการบริหารจัดการที่ดีที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการดำเนินงาน ได้แก่ หลักความคุ้มค่า และภาวะผู้นำ แนวทางพัฒนาปัจจัยการบริหารภาครัฐแนวใหม่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการดำเนินงาน ได้แก่ การประสานงาน การทำงานเป็นทีม ความผูกพันในองค์กร การพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถของบุคลากร และการนำใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่

Article Details

How to Cite
แก้วมะณี ส. ., กิตติเลิศไพศาล ร. ., อินทรวงศ์ ผ. ., & อุดมกิจมงคล ผ. . (2020). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการดำเนินงานของแผนกโยธาธิการและขนส่ง ในภาคกลาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 15(1), 197–216. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmscrru/article/view/244980
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

สมนึก แก้วมะณี, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

*ปร.ด. (การบริหารการพัฒนา) มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร (2562)

รศ.ดร.จิตติ กิตติเลิศไพศาล, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

**ปร.ด. (การบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (2552). ปัจจุบันเป็น รองศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาการบริหารการพัฒนา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ผศ.ดร.วัชรพงษ์ อินทรวงศ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

***ปร.ด. (บริหารทรัพยากรมนุษย์) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (2550). ปัจจุบันเป็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาการบริหารการพัฒนา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ผศ.ดร.ชาติชัย อุดมกิจมงคล, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

****ปร.ด. (การจัดการภาครัฐและเอกชน) มหาวิทยาลัยคริสเตียน (2552). ปัจจุบันเป็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาการบริหารการพัฒนา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

References

Boonyarattapan, T. (2011). Development of public administration quality: New public management. Journal of Modern management. 3(2). 16-26.

Clake, Vicki Clinell Burge . (2001). In search of good governance : Decentralization and democracy in Ghana. . Northern Illinois University.

Department of Public Works and Transport, Lao People's Democratic Republic. (2015). Economic-Social Development Plan 2015 – 2025. Vientiane : Department of Public Works and Transport.

Johns (1998). The relationship between job satisfaction and organizational commitment.

Kaewdaeng, Roung (1995). Reengineering Thai bureaucratic. Bangkok. : Pimlak.

Ministry of Home Affaire. (2017). Report Summary of Ministry of Home Affaire Lao People's Democratic Republic. Vientiane Capital : Ministry of Home Affaire.

Martin & Hafer (1995). The link between job change and job participation and organizational commitment. Singapore : National University of Singapore.

Nawachotirod, N. (2007). Administration with good governance of schools in Khon Kaen Municipality. Thesis Master of Arts in Khon Kaen University.

National Socio-Economic Development Plan Lao PDR. (2015). Vientiane : Ministry of Planning and Investment.

Office of the Public Sector Development Commission. (2007). Public sector management guality award 2007. Visions print and media Ltd., Bangkok : Office of the Public Sector Development Commission.

Office of the Public Sector Development Commission. (2007). Good governance. Bangkok : Office of Public Sector Development Commission.

Pakdeeuthorn, P. (2009). Good governance and performance effectiveness of policemen at Kannayao Police Station, Bangkok. Public and Private Management. Krirk University.

Strategic Economic Development Plan National society. (2012). Economic-Social Development Plan 7th 2015 – 2025. Vientiane : Lao People's Democratic Republic. Government office.

Sumet Saengnimnuan. (2009), Leadership and governance in the administration of local government organizations. Bangkok: Sricharoen Printing.

Sutum Songsiri (2010). Good governance. Bangkok: Pimlak.

Chatchay Udomkijmongkol, C. (2017). The influence of good governance based administration upon effectiveness of the local municipality in Sakon Nakhon province. Sakon Nakhon : Sakon Nakhon Rajabhat University.