ภาษาและอัตลักษณ์ของพิธีกรเพศที่สามที่ปรากฏผ่านรายการโทรทัศน์

Main Article Content

วาลี ปรีชาปัญญากุล

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง ภาษาและอัตลักษณ์ของพิธีกรเพศที่สามที่ปรากฏผ่านรายการโทรทัศน์นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการใช้ภาษาและวิเคราะห์เชื่อมโยงกับการสร้างอัตลักษณ์ของพิธีกรเพศที่สาม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) กลุ่มตัวอย่างคือ ภาษาที่ใช้ในรายการของพิธีกร ซึ่งเป็นผู้ดำเนินรายการหลัก จำนวน 3 คน ได้แก่ 1)วุฒิธร มิลินธจินดา 2)เอกชัย เอื้อสังคมเศรษฐ์ และ 3)คณาธิป สุนทรรักษ์ ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อความ (Textual analysis) นำข้อมูลตัวบทที่ได้ไปวิเคราะห์ตามทฤษฎีชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสารแนวคิดเกี่ยวกับอัตลักษณ์และเพศที่สามและแนวคิดเกี่ยวกับพิธีกรและภาษาของกลุ่มเพศที่สาม โดยภาษาที่ใช้ในการศึกษานี้ศึกษาทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษาและพิธีกรเพศที่สาม ศึกษาเฉพาะในส่วนของกลุ่มรักร่วมเพศชายเท่านั้น ผลการศึกษาพบว่า แม้การใช้ภาษาทั้งในส่วนของวัจนภาษาและอวัจภาษาของพิธีกรทั้งสามคนนั้น มีทั้งลักษณะที่แตกต่างกันและมีลักษณะร่วมกัน แต่สำหรับอัตลักษณ์หรือตัวตนของพิธีกรทั้งสามที่พบจากการสื่อสารผ่านภาษานั้นมีลักษณะเป็นอัตลักษณ์ร่วมกัน (Collective identity) คือ สะท้อนความเป็นคนที่มีความรู้ ความสามารถและมีคุณค่า

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

วาลี ปรีชาปัญญากุล, คณะมนุษยศาสตรืและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ปร.ด. (สื่อสารมวลชน) คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2555), ปัจจุบันเป็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

References

Archavanitkul, Kritaya . (2011). Sexuality Transition in Thai Society. Retrieved June 17, 2017,

from http://www2.ipsr.mahidol.ac.th/ConferenceVII/Download/2011-Article-03.pdf. (in Thai)

Butsabokkaew, Theera. (2010). Linguistic devices and the presentation of self-identity by the "online gays". Master of

Arts, Faculty of Arts, Chulalongkorn University. (in Thai)

Chuenkar, Thanee. (2012). The study of gay indentity in Thai movies. Master of Communication Arts, Faculty of

Communication, Dhurakij Pundit University. (in Thai)

Feungfusakul, Apinya. (2013). Identity : Literature Review. Bangkok : National Research Council of Thailand. (in Thai)

Jackson, P. A. (1999). An American death in Bangkok: the murder of Darrell Berrigan and the hybrid origins of gay identity

in 1960s. A Journal of Gay and Lesbian Studies, 5(3) 361-411.

Jackson, P. A. (2001). Pre-gay, Post-queer: Thai perspectives on proliferating gender/sex diversity in Asia. Journal of

Homosexuality, 40(3-4), 1-25.

Jantrong, Tanya. (2012). Third sex identity communication via movies and reality in thai society. Retrieved June 17,

, from http://mng.uru.ac.th/program/comart/files/socialthai.pdf. (in Thai)

Kaewprasert, O. (2008). Gender Representation in Thai Queer Cinemas. United Kingdom : University of Essex.

Nation TV. (2017). Komchadluek. “Tud Krongjor” Retrieved June 17, 2017,

from http://www.nationtv.tv/main/content/social/378492769/. (in Thai)

Nuntiwatwipa, Yuttana. (2004). Gay language : AN Analytical Study. Master of Education, Srinakharinwirot University.

(in Thai)

Patkacha, Urapong & Prangsorn, Surakij. (2012). The presentation of sexuality through Thai films : Dimension of reality in

thai society. Bussiness Magazine, 34(4), 147-155. (in Thai)

Ramitanon, Chalardchai . (2007). Identity Culture and Change. Retrieved June 17, 2017,

from http://www.soc.cmu.ac.th/~wsc/data/Identity28_3_05.pdf. (in Thai)

Sittijinda, Sucheewa. (2011). Perception of role and identity of hosts of science TV program, A Thesis Submitted in

Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree Master of Arts, Faculty of Communication Arts,

Chulalongkorn University. (in Thai)

Thaipost, (8 November 2014). Third sex masters of ceremony in Full Screen, be afraid imitate, Thaipost 2-3. (in Thai)

Tongsuk, Bongkotchakon. (2010). Alternative: The Study of the Specific Vocabulary Used by the Third Sex

People in Thai Novel. Master of Art, Kasetsart University. (in Thai)