เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หรือหากมีกรุณาอธิบายในข้อความส่งถึงบรรณาธิการ)
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ OpenOffice, Microsoft Word หรือ PDF
  • มีการให้ URLs สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16 pt(ในภาษาไทย) และ 12 pt (ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้นิพนธ์ (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสมในบทความ ให้เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนดของวารสารฯ ทั้งในแง่ของรูปแบบและการอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

หลักเกณฑ์และการเตรียมต้นฉบับสำหรับการเสนอบทความเพื่อเผยแพร่

ใน “วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย”

 

นโยบายการจัดพิมพ์

          วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นวารสารวิชาการที่พิมพ์ออกเผยแพร่ปีละ 2 เล่ม (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางในการแสดงความคิดเห็นและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในสาขาการบริหารธุรกิจ การจัดการ เศรษฐศาสตร์ และนิเทศศาสตร์ หรือสาขาอื่นที่มีความเกี่ยวข้อง

 

เรื่องเสนอเพื่อตีพิมพ์

          ผลงานทางวิชาการที่รับตีพิมพ์มี 2 ลักษณะคือ เป็นบทความวิชาการ (Article) หรือบทความวิจัย (Research Article) บทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น บทความที่นำเสนอเพื่อตีพิมพ์จะต้องผ่านการกลั่นกรองและพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ซึ่งมาจากหลากหลายหน่วยงานและมีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อของบทความนั้นๆ จำนวน 3 ท่าน โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (Double-blind review) 

 

ลักษณะของบทความ

          เป็นบทความวิชาการหรือบทความวิจัยที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการค้นคว้า การวิจัย การวิเคราะห์วิจารณ์หรือเสนอแนวคิดใหม่ด้านบริหารธุรกิจ การจัดการ เศรษฐศาสตร์ และนิเทศศาสตร์ ซึ่งแบ่งได้ 2 ประเภทคือ

          บทความวิชาการ หมายถึง งานเขียนที่นำเสนอองค์ความรู้ใหม่ในสาขาบริหารธุรกิจ การจัดการ เศรษฐศาสตร์ และนิเทศศาสตร์ ที่มีการวิเคราะห์หรือวิจารณ์ประเด็นต่างๆ ตามหลักวิชาการ โดยผู้เขียนสามารถแสดงทัศนะทางวิชาการของตนเองอย่างชัดเจน

          บทความวิจัย หมายถึง รายงานผลการศึกษาค้นคว้าวิจัยด้านบริหารธุรกิจ การจัดการ เศรษฐศาสตร์ และนิเทศศาสตร์ที่ได้ทำการศึกษาโดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์ด้วยระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้องจนได้องค์ความรู้ใหม่

 

การเตรียมต้นฉบับ

          บทความวิชาการหรือบทความวิจัย อาจนำเสนอเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ ให้พิมพ์ต้นฉบับด้วยกระดาษ เอ 4 หน้าเดียว โดยใช้ฟอนต์ Angsana New ขนาด 14 (สำหรับชื่อเรื่องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้ใช้ฟอนต์ Angsana New ขนาด 18 ส่วนหัวข้อต่างๆ ให้ใช้ Angsana New ขนาด 16) ความยาวประมาณ 15-20 หน้า โดยบทความทุกประเภทต้องมีส่วนประกอบ ดังนี้

  1. 1. ชื่อเรื่อง
  2. 2. ชื่อผู้เขียน (ครบทุกคน กรณีที่เขียนหลายคน ให้เขียนบรรทัดถัดจากชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ โดยให้เขียนไว้ชิดด้านขวาของหน้า ให้ทำตัวเอียง ตัวอักษร ขนาด 14)
  3. 3. วุฒิการศึกษาขั้นสูงสุด สาขาวิชาและสถาบันที่สำเร็จการศึกษา และตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี)
  4. 4. สถานที่ทำงานปัจจุบันหรือหน่วยงานที่สังกัด (เช่น สาขาวิชา/ภาควิชา คณะ)

          (ข้อ 3 และข้อ 4 ให้ผู้เขียนทำเชิงอรรถไว้ท้ายชื่อผู้เขียนในหน้าแรกของบทความ)

  1. 5. บทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยในท้ายบทคัดย่อภาษาไทยให้ใส่ คำสำคัญ และท้ายบทคัดย่อภาษาอังกฤษให้ใส่ Keywords

          **ทั้ง 5 ข้อที่กล่าวข้างต้น หากเป็นบทความภาษาไทย ผู้เขียนต้องเขียนข้อมูลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่หากเป็นบทความภาษาอังกฤษ ผู้เขียนไม่ต้องระบุข้อมูลภาษาไทย

 

          บทความวิชาการหรือบทความวิจัยต้องมีส่วนประกอบเพิ่มเติม คือ ต้องมีบทคัดย่อ (abstract) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยบทคัดย่อแต่ละภาษาต้องมีความยาวอย่างละไม่เกินครึ่งหน้ากระดาษ เอ 4

โครงสร้างของบทความวิชาการควรประกอบด้วย

- บทนำ

- เนื้อหาบทความ

- บทสรุป

- References

โครงสร้างของบทความวิจัยควรประกอบด้วย

- บทนำ

- วัตถุประสงค์

- สมมุติฐานการวิจัย (ถ้ามี)

- กรอบแนวคิด

- แนวคิดและทฤษฎี

- แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

- ระเบียบวิธีการวิจัย

- ผลการวิจัย

- อภิปรายผลการวิจัย

- ข้อเสนอแนะ

- References

          ภาพประกอบและตารางควรมีเฉพาะที่จำเป็น ให้มีหมายเลขกำกับภาพและตารางตามลำดับ ภาพจะต้องชัดเจน แสดงเนื้อหาสำคัญของเรื่อง คำอธิบายและตารางให้อธิบายด้วยข้อความกะทัดรัดและชัดเจน

          การใช้ภาษาในบทความ การเขียนควรใช้ภาษาที่ถูกต้อง เข้าใจง่ายและกะทัดรัด โดยคำศัพท์ให้อ้างอิงตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน การใช้คำศัพท์บัญญัติทางวิชาการควรใช้ควบคู่กับศัพท์ภาษาอังกฤษ กรณีที่เป็นชื่อเฉพาะหรือคำแปลจากภาษาต่างประเทศที่ปรากฏครั้งแรกในบทความ ควรพิมพ์ภาษาเดิมของชื่อนั้นๆ กำกับไว้ในวงเล็บ และควรรักษาความสม่ำเสมอในการใช้คำศัพท์ การใช้ตัวย่อโดยตลอดบทความ

 

การอ้างอิงและการเขียนเอกสารอ้างอิง

การอ้างอิงเอกสารให้เขียนตามแบบ  APA (American Psychological Association) หากรายการอ้างอิงเป็นหนังสือหรือบทความภาษาไทยที่มีบทแปลเป็นภาษาอังกฤษกำกับอยู่ก่อนแล้ว ให้ใส่บทแปลภาษาอังกฤษนั้นก่อน ตามด้วยรายการอ้างอิงภาษาไทยเดิม โดยวงเล็บท้ายรายการว่า (in Thai) สำหรับรายการอ้างอิงภาษาไทยที่ไม่ได้มีบทแปลภาษาอังกฤษไว้ก่อนให้ยึดตามประกาศราชบัณฑิตยสถานเรื่อง หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง ทั้งนี้ ให้จัดเรียงลำดับตามลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษก่อน-หลัง

 

หลักเกณฑ์การอ้างอิงในเนื้อหาบทความ (In-text Citation)

 

กรณีการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา ให้ใส่ชื่อสกุลผู้แต่งและปีที่พิมพ์ไว้ในวงเล็บ เช่น

ผู้แต่งเป็นคนไทย : คมสัน รัตนะสิมากูล  

พิมพ์เป็น คมสัน รัตนะสิมากูล (Rattanasimakul, 2009)

 

ผู้แต่งเป็นชาวต่างประเทศ : Balal, A.R. (2000)

พิมพ์เป็น  Balal (2000)

 

ทั้งนี้ กรณีที่ผู้แต่งเป็นคนไทย ให้ใส่ชื่อสกุลที่ผู้แต่งใช้จริงเป็นภาษาอังกฤษ หากไม่ปรากฎว่าผู้แต่งคนดังกล่าวเคยเขียนชื่อสกุลเป็นภาษาอังกฤษมาก่อน อนุโลมให้ใช้หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงตามประกาศราชบัณฑิตยสถานได้

 

หลักเกณฑ์การอ้างอิงท้ายบทความ

ในการลงรายชื่อผู้แต่งคำนำหน้าชื่อตามปกติให้ตัดออก ได้แก่ นาย นาง นางสาว ตำแหน่งทางวิชาการ บรรดาศักดิ์ยศทางตำรวจ ยศทางทหาร และตำแหน่งนักบวช ยกเว้นผู้แต่งที่มีฐานันดรศักดิ์นำหน้าชื่อให้คงไว้ตามปกติ โดยไม่ตัดทิ้งหรือย้ายที่

ผู้แต่ง 1 คน

ผู้แต่งเป็นคนไทย : ให้ลงนามสกุล และใช้เครื่องหมาย Comma (,) ขั้น ตามด้วยตัวอักษรย่อของชื่อ หากผู้แต่งเป็นคนไทยให้แปลงเป็นภาษาอังกฤษ เช่น คมสัน รัตนะสิมากูล พิมพ์เป็น Rattanasimakul, K. 

ผู้แต่งเป็นชาวต่างประเทศ: ให้ลงนามสกุล และใช้เครื่องหมาย Comma (,) ขั้น ตามด้วยอักษรย่อของชื่อต้นและชื่อกลางและใช้เครื่องหมาย Full stop (.) ตามหลังอักษรย่อทั้ง 2 ตัว เช่น Smith, R. J.

 

                    ผู้แต่งไม่เกิน 6 คน

ให้ลงชื่อผู้แต่งทุกคนตามหลักการที่กล่าวมาข้างต้น โดยระหว่างชื่อให้คั่นด้วย Comma (,) และใช้สัญลักษณ์ว่า "&" ก่อนชื่อผู้แต่งคนสุดท้าย เช่น กาญจนา แก้วเทพ กิตติ กันภัย และ ปาริชาต สถาปิตานนท์ โดยให้เขียนชื่อ-สกุลเป็นภาษาอังกฤษ พิมพ์เป็น Kaewthep, K, Gunpai, K & Sthapitanonda, P. 

 

ผู้แต่ง 6 คนขึ้นไป

ให้ลงชื่อผู้แต่งตามหลักการที่กล่าวมาข้างต้น โดยให้พิมพ์เฉพาะชื่อของผู้แต่งคนแรกคั่นด้วย Comma (,) และตามด้วยอักษรย่อชื่อภาษาอังกฤษและใช้เครื่องหมาย Full stop (.)  และตามด้วยคำว่า "et al.” เช่น Sthapitanonda, P., et al. 

 

ผู้แต่งเป็นสถาบัน

ให้เขียนชื่อสถาบันเป็นภาษาอังกฤษ (หากเป็นชื่อหน่วยงานไทย) โดยกลับคำนำหน้า โดยอย่างน้อยต้องอ้างถึงหน่วยงานระดับสูงก่อน เช่น Ministry of Commerce, Department of International Trade Promotion.

 

  1. อ้างอิงจากหนังสือ

ผู้แต่ง./(ปี ค.ศ. ที่พิมพ์)./ชื่อหนังสือ./ครั้งที่พิมพ์. (ถ้ามี)/เมืองที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง:

Hirunratsamee, T.  (2012).  Financial Accounting.  3th ed.  Bangkok: Vittayapat. (in Thai).

Kapferer, J. N. (2008). The New Strategic Brand Management. Creating and Sustaining

Brand Equity Long Term. 4th ed. Massachusetts: The University of Massachusetts.

 

  1. อ้างอิงจากวารสาร

ผู้แต่ง./(ปี ค.ศ. ที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/ปีที่(ฉบับที่)./เลขหน้า-เลขหน้า.

ตัวอย่าง:

          Khaosithiwong, B. (2003). Role of Thai daily newspapers in presenting environmental                   issues. Journal of Management Science, 43(4), 35-47. (in Thai)

           Bonner, S.E. (1997). Accounting Audit category knowledge as a precondition to learning

                  from experience. Organizations and Society, 22(5), 387-410.

 

  1. อ้างอิงจากวิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง./(ปี ค.ศ. ที่พิมพ์)./ชื่อวิทยานิพนธ์./(ชื่อปริญญาเต็ม)./มหาวิทยาลัย,/เมืองที่ตั้ง.

ตัวอย่าง:

          Suwanchaisak, W. (2007). Role of newspapers in promoting education along the                  educational reform policy and expectation of society. (Master of Arts in                  Journalism). Chulalongkorn University, Bangkok. (in Thai)

 

  1. 4. อ้างอิงจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ

ผู้แต่ง./(ปีค.ศ.ที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง./Retrieved/เดือน/วันที่สืบค้น,/ค.ศ.ที่สืบค้น,//from//URL.

ตัวอย่าง:

Chuastapanasiri, T. (2009). Advertising Literacy. Retrieved March 2, 2012, from    

                     http://resources.thaihealth.or.th/system/files/documents/

                     ruuethaathanokhsnaaaefng1.pdf. (in Thai)

Haiwainet. (2018). Big data helps targeted poverty alleviation and Guizhou builds a model for poverty alleviation. Retrieved November 15, 2023, from https://news.haiwainet.cn/n/2018/0529/.

 

  1. 5. อ้างอิงจากการสัมภาษณ์

ผู้ให้สัมภาษณ์./ตำแหน่ง (ถ้ามี)./Interview on/เดือน/วันที่,/ปีค.ศ.ที่สัมภาษณ์.

ตัวอย่าง:

Sthapitanonda, Parichart. Dean, Faculty of Communication Arts, Chulalongkorn University. Interview on January 2, 2016. (in Thai)

Saengdoungkhae, Jarernnate. Lecturer, Hatyai University. Interview on August 20, 2010.

          (in Thai)

 

*** กรณีผลงานที่นำมาอ้างอิงนั้นเผยแพร่เป็นภาษาไทย ให้วงเล็บท้ายรายการอ้างอิงว่า (in Thai) ***

 

การส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

ผู้สนใจส่งบทความ สามารถส่งผ่านระบบของ ThaiJO  

ได้ที่  https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmscrru/about/submissions

 

จริยธรรมในการเผยแพร่บทความวิจัยและบทความทางวิชาการ

  1. เนื้อหาทั้งหมดของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เจ้าของผลงานมีการคิด ค้นคว้า ทบทวนวิเคราะห์ สรุป เรียบเรียงและอ้างอิงข้อมูล โดยผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่มีส่วนร่วมรับผิดชอบ
  2. บทความวิจัยและบทความทางวิชาการทุกเรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ เป็นบทความที่ได้รับการตรวจอ่านประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ที่มีความเชี่ยวชาญจากหลากหลายหน่วยงานจากภายนอกและภายในสถาบันตามหลักเกณฑ์การตรวจประเมินอย่างน้อย 3 ท่าน
  3. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ ต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น หากตรวจพบว่า มีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียวในการละเมิดลิขสิทธิ์ ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของวารสารห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากทางกองบรรณาธิการ
  4. หากผู้อ่านพบเห็นบทความใดของวารสารที่มีการลอกเลียนแบบโดยปราศจากการแอบอ้างหรือมีการทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานของผู้เขียน ถือเป็นการโจรกรรมทางวิชาการ (Plagiarism) โปรดแจ้งกองบรรณาธิการ
  5. กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการรับพิจารณาบทความจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสัตว์ทดลอง เฉพาะงานวิจัยที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และสัตว์ทดลองเท่านั้น โดยผู้ส่งต้องแนบหลักฐานการรับรองจากคณะกรรมการมาพร้อมบทความที่ส่งให้กับกองบรรณาธิการ