การพัฒนาการท่องเที่ยวภาคตะวันออกอย่างยั่งยืน โดยใช้กลยุทธ์โลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยว

Main Article Content

ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันอุตสาหกรรมท่องเที่ยวมีความสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะในภาคตะวันออกเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญหลากหลาย อย่างไรก็ตามจำนวนนักท่องเที่ยวภาคตะวันออกที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นนั้นก็อาจจะสร้างปัญหาในเรื่องความเพียงพอของระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อจะวางแผนและกำหนดกลยุทธ์ด้านการขนส่งและระบบโลจิสติกส์เพื่อรองรับการเติบโตและขยายตัวด้านการท่องเที่ยวภาคตะวันออก รวมทั้งศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนเชิงกลยุทธ์สำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวภาคตะวันออกอย่างยั่งยืน โดยการศึกษาครั้งนี้ได้เก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิและจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ทำการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 1,029 ชุด และการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 66 ราย ผลที่ได้จากการสำรวจพบว่า การพัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยวจะมีความสัมพันธ์ทางบวกกับอัตราการกลับมาเที่ยวซ้ำและระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว โดยพบว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เดินทางมาเที่ยวภาคตะวันออกมีความประทับใจในความสวยงามตามธรรมชาติ โดยมีค่าความพึงพอใจในแต่ละด้านในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ยปกติ=3.0) ซึ่งประกอบด้วย ด้านเกี่ยวกับที่พัก (อาทิ โรงแรม รีสอร์ท บังกะโล) มาตรฐานและจำนวนแหล่งท่องเที่ยว ระบบขนส่งและโลจิสติกส์ ระบบสาธารณูปโภค และมาตรฐานการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ GAP Model พบว่ามีหลายกิจกรรมที่จำเป็นต้องมีการพัฒนาเพื่อยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวในพื้นที่ โดยผลการศึกษายังสะท้อนให้เห็นถึงความไม่มีประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออกซึ่งจะต้องวางแผนและพัฒนาระบบระบบโลจิสติกส์และสิ่งอำนวยความสะดวก การศึกษาครั้งนี้ได้จัดข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงกิจกรรมโลจิสติกส์เพื่อยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
เทพพิทักษ์ ท. (2021). การพัฒนาการท่องเที่ยวภาคตะวันออกอย่างยั่งยืน โดยใช้กลยุทธ์โลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยว. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 15(2), 164–181. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmscrru/article/view/149181
บท
บทความวิจัย
Author Biography

ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์, มหาวิทยาลัยบูรพา

D.B.A. (Business Administration), University of South Australia, (2004). ปัจจุบันเป็น รองศาสตราจารย์ และ
รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา

References

Boonpryn, Walailak. (2000). Developing Tourism Industry in Koh Samui, Amphoe Koh Samui, Surat Thani Province. Thesis. Master of Art in Thai Study. Thaksin University. (in Thai)

Byrne, P. (1993). Assessing Logistics Performance in Japan. Transportation & Distribution. 34. 54-8.

Chan, M.F.S., Keung, K.F. & Chung, W.W.C. (2000). A Design of an ABC Template For Easy Assimilation in SME, Logistics Information Management. 13(1). 126-137.

Chanplan, Organich. (2003). The Study on Model of Passenger Forecasting at Air Port Terminals: A Case of Countries in South East Asia. Thesis. Master of Science (Statistics). Kasetsart University. 89-120. (in Thai)

Cigolini, R. Cozzi, M. & Perona, M. (2004). A New Framework For Supply Chain Management: Conceptual Model And Empirical Test, International Journal of Operations & Production Management. 24(1). 7-41.

Douglas, M. Lambert. James, R. Stock. Lisa, M. Ellram. (1998). Supply Chain and Logistics Management: McGraw-Hill.for International Trade Liberalisation. International Journal of Business and Economics. 1(1). 75-99.

Gongmei, Yu. Zvi, Schwartz. (2006). Forecasting Short Time-Series Tourism Demand with Artificial Intelligence Models. Journal of Travel Research. 45. 194-203.

Kitipat, Nontapatamadol. (2006). Guidelines on Integrated Planning for Sustainable Tourism Development. Bangkok: Center for Tourism Planning and Poverty Correction of Asia. (in Thai)

Mowforth, M. and Munt, I. (2016). Tourism and Sustainability: Development, Globalisation and New Tourism in the Third World. London: Routledge Taylor and Francis Group.

Napat, Thipsri. Khajie, Chomjietrakul. et al. (2015). Logistics Management of Tourism Business in Chiang Rai Province. Retrieved on March 28, 2017, from file: /// C: / Users / Admin / Downloads / 45402- Article% 20Text-105261-1-10-20160111.pdf. (in Thai)

Office of Pattaya City. (2006). Approval Projects Under Strategic Planning of Pattaya City-Koh Larn. Journal of Pattaya City-Koh Larn. 4(1). 18-25. (in Thai).

Peerapatpaisarn, Panchita. (2005). Developing Conservative Tourism of Natural Resource Under Sea in Koh Larn. Thesis. Master of Political Science in Public Policy. Graduate School. Burapha University. (in Thai)

Suttiwastanapud, Kamonchanok. (2004). Logistics and Supply Chain Management. Bangkok: Top/McGraw Hill.

(in Thai)

Thaksin, Chaichan. (2015). Logistics Management for Tourism in Wang Nam Khiao District, Nakhon Ratchasima. Retrieved on March 28, 2017. from https://www.tci-thaijo.org/index.php/sjss/article / view / 20366.

(in Thai)

Theppitak, T., 2007. “A Study on a Competitive Position and Readiness of Thai Logistics Services. (in Thai)

Theppitak, T. (2015). Logistics Management. Bangkok: Thammasam Printing. (in Thai)

Tourism Authority of Thailand. (2017). Developing Tourism in Pattaya, Thailand. Final Report. Bangkok: Tourism Authority of Thailand. (in Thai)