การส่งเสริมและพัฒนาต่อยอดเพื่อใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการ การท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ชาติพันธุ์ในกลุ่มจังหวัดอารยธรรมล้านนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนจำแนกตามฐานทรัพยากรการท่องเที่ยว 2) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคต่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน 3) วิเคราะห์และสังเคราะห์ความต้องการและองค์ความรู้ของภาคีการท่องเที่ยวต่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน 4) พัฒนาศักยภาพบุคลากรในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน และ5) พัฒนาเครือข่ายการตลาดเชิงรุก โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ การจัดกิจกรรมอภิปรายกลุ่มย่อย การประชุมอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในกลุ่มประชากรที่เป็นภาคีการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐ เอกชนและชุมชน สุ่มตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสถิติพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนจำแนกตามฐานทรัพยากรการท่องเที่ยวจำนวน 7 เส้นทางที่สามารถเชื่อมโยงได้ทั้งในประเทศและบนเส้นทาง R3A และ R3B ได้แก่ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร การท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงพุทธ การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ การท่องเที่ยวเชิงอาหาร และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพวิถีวัฒนธรรม 2) ปัญหาและอุปสรรคต่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ได้แก่ การขาดความพร้อมด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการให้บริการนักท่องเที่ยว การคมนาคม การสื่อสารและการใช้ภาษาต่างประเทศ ขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ และบุคลากรการท่องเที่ยวขาดความรู้และทักษะในการจัดการการท่องเที่ยว 3) ความต้องการและองค์ความรู้ของภาคีการท่องเที่ยวต่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ได้แก่องค์ความรู้ด้านการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน รูปแบบการท่องเที่ยว การสื่อความหมาย การจัดการนักท่องเที่ยวต่างวัฒนธรรม การให้บริการและเป็นเจ้าบ้านที่ดี การจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยว และการใช้เทคโนโลยีเพื่อการตลาด 4) พัฒนาศักยภาพบุคลากรในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการการท่องเที่ยวในพื้นที่ผ่านการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ พบว่าผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการมีองค์ความรู้เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับดีและสามารถประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างผลิตภัณฑ์และกิจกรรมการท่องเที่ยว 5) พัฒนาเครือข่ายการตลาดเชิงรุก ดำเนินการผ่านสื่อทั้งแบบ On line และ Off line ได้แก่ การจัดทำวีดิโอ การทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวการจัดเวทีสัมมนาวิชาการและการสร้างเครือข่ายการตลาดการท่องเที่ยว 5 เชียงในกลุ่มประเทศอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง ผ่านเครือข่ายความร่วมมือทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
Article Details
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
Suwannaphimol, K. (2005). Tourist Definition. Bangkok: Pearson Education Indochina. (in Thai).
Paungphet, K., KlaHan, S., Panyapong, W., Kathintad, T. (2012). Management and Participation for Cultural Tourism Development : A Case Study of Thai Phuan Ethnic Group, Ban Mi District, Lop Buri Province. Rompluek Journal, Kerk University. 30(2). (in Thai).
Suthiudom, J., Kulprasoot, P., and Sujirapanya, A. (2007). Consuming Behaviors of Sustainable Nature-Based Tourism among Thai and Foreign Tourists in Ko Chang Area, Ko Chang Sub-District, Trat Province. Full Paper. Bangkok: The Thailand Research Fund (TRF). (in Thai).
Pimolsompong, C. (2005). Planning and Development of Tourism Marketing. Bangkok: Kasetsart University Press. (in Thai).
Sompanyathiwong, C. & Wanlapachai, A. (2016). The study of preparing for the cultural tourism of ethnic Mong in Ban Toobkho Tambon Kok Sathon, Loei. Western University Research Journal of Humanities and Social Science. 2(3). (in Thai).
Booparkob ,Y., Wongmanee J., Khetjenkarn S., Sawangdee Y. (2017). The Role of Local Cuisines in Creative Tourism Process: A Case Study of Lao Khrang Ethnic Group in Chai Nat Province. Dusit Thani College Journal, 11(Special). (in Thai).
Ployjun, D. (2016). Cultural Capital of The Hmong Hill Tribe with Strategies to Promote Creative Tourism. The Journal of Social Communication Innovation. 4(1), 6-17. (in Thai).
Sitikarn, B. (2014). Tourism Planning: From theory to practice.1st Edition. Chiang Mai:Santipab Pack-Print. (in Thai)
Sitikarn, B. et. al. (2015). Report on Strategic Management of Sustainable Trans-boundary Tourism in R3A and R3B Route. Bangkok: Thailand Research Fund. (in Thai)
Tunming, P. (2017). Guideline for the Development of Tai Dam Ethnic Group Tourism, Ban Na Pa Nat, Chiang Khan District, Loei Province. International conference at Phechaboon Rajabhat University. 4th March 10, 539-547. (in Thai).
Khiaomaneerat, P., Petchkam, S., Vaseenonta, C. and Singyabuth, S. (2018). Ban Phu: The Phutai Ethnic Identity and Development Administration In the Context of Sustainable Cultural Tourism. Nakon Phanom University Journal. 6(1), 17-25. (in Thai).
Thepphawan, P. (2011). Strategic Human Resource Management. Bangkok: SE-EDUCATION. (in Thai).
Jedaman, P. (2013). Human Resource Development. Retrieved September 26, 2016, from https://www.oknation.net/blog/jedaman/2013/03/ 29/entry-1. (in Thai).
Royal Thai Government Gazette. (2015). Ministerial Regulation on Tourism Development Clusters on Royal Coast,Active Beach, Andaman, Lanna Culture, South E-San Civilization,B.E.2558 (2015). 132(22a), 18-20. (in Thai).
Boonyasatith, W., Peantam, C. and Silpanlang, T. (2017). The Historical Development of LaoWiang People in U Thong District, Suphanburi Province. Journal of Nakhonratchasima College. 11(1), 26-38. (in Thai).
Jaisabai, S. & Jaisabai, J. (2016). The Development of Cultural Tourism Attraction : A Case Study of the Ethnic Group in Nakhon Phanom Province. The 1st International conference, Ratchathani University. July 29, 1176-1189. (in Thai).
Sereerat, S. et al. (2000). Principles of Marketing. Bangkok: Diamond in Business World. (in Thai).