ปัจจัยส่วนประสมการตลาด: ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าสำหรับผู้ชาย

Main Article Content

ครรชิตพล ยศพรไพบูลย์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ (อายุ การศึกษา และรายได้) และปัจจัยส่วนประสมการตลาด (ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด) ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าสำหรับผู้ชาย การเก็บข้อมูลดังกล่าวด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยเลือกแบบเจาะจงสำหรับผู้ชายที่มีประสบการณ์ซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าสำหรับผู้ชายมากกว่า 1 ปี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติอนุมานการทดสอบค่าเพียร์สัน ไคว์สแคว์ การศึกษานี้ทำการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือค่าสัมประสิทธิ์พบว่าความน่าเชื่อถือ เท่ากับ 0.860


ผลลัพธ์จากการศึกษาพบว่าปัจจัยทางประชากรศาสตร์ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าสำหรับผู้ชายที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 คือการวางแผนและตั้งใจที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ ซื้อผลิตภัณฑ์เป็นประจำ บริเวณการเลือกซื้อ และการเลือกซื้อขนาดบรรจุภัณฑ์ ปัจจัยส่วนประสมการตลาดส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าสำหรับผู้ชายที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 คือ เหตุผลหลักในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์และผลิตภัณฑ์หมดลงต้องการใช้ตราสินค้าใด


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Articles

References

ศิริสุภา ยิ่งเจริญ (2549). ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทรอส. สยามธุรกิจ, ฉบับที่ 790 ประจำวันที่ 5-8 พฤษภาคม

ไอยลดา มี้เจริญ. (2544). ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อโฟมล้างหน้. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจ

มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

อรรถสิทธิ์ เหมือนมาตย์ (2547, พฤศจิกายน). เปิดศึกเครื่องสำอางผู้ชาย วัดกึ๋น กลยุทธ์พิชิตใจหนุ่ม. Positionning

Magazine, ค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2554, จาก http://www.positioningmag.com/magazine/details

aspx?id=27379

Bennett, A. R. (1997). The five vs - A buyer’s perspective of marketing mix. Marketing Intelligence &

Planning, 15(3), 151-156.

Borden’s, N. H. (1965). The concept of the marketing mix. In Schwartz, G. (Ed.), Science in Marketing. New

York: John Wiley &Sons, 386-397.

Courtland L. A. Bovee & William F. (1992). Contemporary advertising. Richard D. Irwin, Inc.

Frey, A. W. (1961). Advertising (3rd ed.). New York: The Ronald Press.

Kotler, P. (1984). Marketing management: Analysis, planning and control (5th ed.). New Jersey: Prentice-

Hall Inc.

Kotler, P. (2003). Marketing management. (11th ed.). New Jersey: Prentice-Hall Inc.

Kotler, P. & Keller, L. K. (2009). Marketing management. (13th ed.). Pearson Prentice Hall: Pearson

Education International.

Kotler, P. & Keller, L. K. (2012). Marketing management. (14th ed.). Pearson Prentice Hall: Pearson

Education International.

McCarthy, E. J. (1964). Basic marketing, IL: Richard D. Irwin.

Mickwitz, G. (1959). Marketing and competition. Finland: Societas Scientarium Fennica, Helsingfors.

Retail Index Nielsen, Retrieved Sep, 2010, from www.scribd.com/doc/30924999/Facing-Fascism.

Schiffman L. G. & Kanuk, L. L. (2000). Consumer behavior (7th ed.). Englewood Cliffs, New Jersey Prentice

Hall.

Palmer, A. (2004). Introduction to marketing – theory and practice, UK: Oxford University Press.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. (2nd ed.). New York: Harper and Row.

Yudelson, J. (1999). Adapting McCarthy’s four P’s for the twenty-first century. Journal of Marketing

Education, 21(1), 60.