ความสำเร็จและผลลัพธ์ของการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : บทวิเคราะห์ เบื้องต้นและประเด็นวิจัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ชี้ให้เห็นว่าปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนประสบผลสำเร็จเหมือนกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจยุโรป คือ การมีผู้นำทางการเมืองที่ผลักดันการรวมกลุ่มอย่างจริงจัง และการมีอัตลักษณ์ร่วมของกลุ่ม กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเกิดขึ้นใน ค.ศ. 2015 ยังขาดปัจจัยสำคัญทั้งสองนี้ การรวมกลุ่มจึงอาจเป็นเพียงการร่วมมือกันทางรูปแบบและร่วมมือกันเฉพาะสมาชิกบางประเทศที่มีชายแดนติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของการรวมกลุ่มอาจก่อให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งจะอำนวยประโยชน์เพิ่มที่สำคัญกับประเทศสมาชิกอย่างน้อยสองประการ คือ ความเป็นอยู่ด้านเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยที่ดีขึ้นกับประชากรในภูมิภาค และการเพิ่มขึ้นของการลงทุนจากต่างประเทศซึ่งจะช่วยเพิ่มองค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิตแผนใหม่ให้กับผู้ประกอบการและแรงงานในภูมิภาค บทความนี้เสนอประเด็นหลักๆ ที่ควรมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมไว้รวม 5 ประเด็น
Downloads
Article Details
References
ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซีย. (2011).ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2555, จาก http: //www.adb.org/sites/
default/files/KI/2011.
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม. (2549). โครงการศึกษาพัฒนาศักยภาพการ
ขนส่งสินค้าผ่านแดนของไทยเพื่อผลักดันยุทธศาสตร์การเป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่งในภูมิภาคอินโดจีน : สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร การะทรวงคมนาคม. กรุงเทพฯ .
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร การะทรวงคมนาคม. (2552). โครงการศึกษายุทธศาสตร์การ
พัฒนาศักยภาพการเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมเพื่อรองรับการขยายเส้นทางเศรษฐกิจ การค้า และ
การลงทุน : สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร การะทรวงคมนาคม, กรุงเทพ.
Dinan, D. (2005). Ever Closer Union: An Introduction to European Integration, 3rd ed. Retrieved May,15, 2012 from http: //www.rienner.com.
Sakki’ I. (2010). A Success Story or a Failure? Social Psychology, Department of Social Research, University of Helsinki, Helsinki.
Salines, M. (2010). Success Factors of Macro-Regional Cooperation: The Example of the Baltic Sea Region. Retrieved 15 May 2012 from http: //www.coleurope.eu