แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการ หลักสูตรฝึกอบรมด้านความรับผิดชอบ ต่อสังคม (CSR) ของวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคการดำเนินแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการหลักสูตรฝึกอบรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ในช่วงปี พ.ศ. 2561–2565 และสังเคราะห์แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการหลักสูตรดังกล่าว การวิจัยใช้วิธีเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและเก็บข้อมูลจากผู้บริหาร หัวหน้างาน และผู้ปฏิบัติงาน ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาและอุปสรรคสามารถแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัย ได้แก่ (1) ปัจจัยภายใน เช่น การจัดสรรงบประมาณที่ไม่เพียงพอและความไม่ต่อเนื่องในการจัดลำดับความสำคัญของงาน และ (2) ปัจจัยภายนอก เช่น ความล่าช้าในการส่งเอกสารสมัครอบรม การชำระเงินไม่ครบถ้วน สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 และภัยธรรมชาติ แนวทางพัฒนาได้รับการสังเคราะห์ตามวงจรคุณภาพ PDCA และได้แผนการดำเนินงานระหว่างปี พ.ศ. 2566–2567 โดยมีข้อเสนอแนะในด้านการบริหารจัดการงบประมาณ การปรับปรุงกระบวนการจัดส่งเอกสาร การอบรมออนไลน์ และการจัดการความเสี่ยง แนวทางดังกล่าวมีศักยภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดปัญหาที่เกิดขึ้น และตอบสนองต่อความท้าทายในการบริหารจัดการหลักสูตร CSR ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2565). พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กับ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2567, จาก https://www.diw.go.th/webdiw/pr64-164-2/
จตุพร พิทักษ์พลรัตน์. (ม.ป.ป.). คู่มือปฏิบัติงานการจัดทำและดำเนินการโครงการฝึกอบรม แบบไม่เก็บค่าลงทะเบียน.ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, คณะวิศวกรรมศาสตร์.
ชนานันท์ ทิมวัฒน์. (2564). การประเมินแผนบริหารความต่อเนื่องเพื่อเตรียมความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตในสภาวะโรคระบาดติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกที่ 2 (ธันวาคม 2563–มีนาคม 2564) ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์.
ฐกฤต ขอบอรัญ. (2565). การเปิดรับสื่อและทัศนคติที่มีต่อการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่ม ปตท. ของชุมชนรอบเขตประกอบการนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน.
ฐานุเศรษฐ โชคพิริยวัชร์ และ กัลยา นารีจันทร์. (2567). อิทธิพลของความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรที่มีต่อผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(2), 44-55.
ธัญญารัตน์ เจนขนบ และ ภรณี หลาวทอง. (2564). ความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีต่อจริยธรรมของผู้ประกอบการ. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 5(1), 82-93.
ธัญพิชชา ดาวพิเศษ. (2563). การเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ และทัศนคติของกลุ่มเจเนอเรชั่นซี ที่มีต่อภารกิจหลัก และการทำกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ผ่านการประชาสัมพันธ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน.
นลินทิพย์ ณ ตะกั่วป่า. (2564). แนวทางการบริหารจัดการสถานกักกันรูปแบบเฉพาะองค์กร ในร้อยตชด.146 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กรณีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19). (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์.
ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2566). 10 ลักษณะของการบริหารจัดการที่ดี (Management). สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2567, จาก https://www.popticles.com/business/10-characteristics-of-management/
ปิยะพงศ์ ชินราช. (2562). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง ระบบเซ็นเซอร์และการควบคุมอัตโนมัติ สำหรับนักศึกษาโครงการ Work integrated Learning ในภาคอุตสาหกรรม กระบวนการผลิต. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม.
เพ็ญจันทร์ บัวซาว. (2565). คู่มือปฏิบัติงาน การจัดทำและดำเนินโครงการฝึกอบรมหลักสูตรบุคลากรเฉพาะด้านการบริหารความรับผิดชอบต่อสังคมระดับทั่วไปแบบเก็บค่าลงทะเบียน. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์.
ภานุวัฒน์ สุพรม. (2562). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ: การลดต้นทุนสำหรับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2566). การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning). สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2567,จาก https://tu.ac.th/lifelonglearning
รุจิเรศ หนุนนาค. (2562). การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมของบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, คณะบริหารธุรกิจ.
วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์. (ม.ป.ป.). วิสัยทัศน์. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2567, จาก https://www.psds.tu.ac.th/value
วีรบูรณ์ วิสารทสกุล. (2563). ยกระดับการกำกับดูแลกิจการที่ดี (CG) และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม (CSR) (รายงานวิจัย). กรุงเทพ: สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศรีสุข มงกุฏวิสุทธิ์. (2566). การประเมินผลกระทบทางสังคมของหลักสูตรการบริหารความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) (รายงานวิจัย). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์.
ศิวาภรณ์ เจริญสุทธินันท์. (2564). การบริหารจัดการการดำเนินกิจการสถานรับเลี้ยงเด็กเอกชนจังหวัดสกลนคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์.
ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ. (ม.ป.ป.). ภัยธรรมชาติ. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2567, จาก http://www.cmmet.tmd.go.th/met/natural_danger.php
สถาบันไทยพัฒน์. (2566). ความสำคัญของ CSR. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2567, จาก https://www.thaicsr.com/2005/09/blog-post_112746387637126873.html?m=0
สหธร เพชรวิโรจน์ชัย. (2564). PDCA: ความหมาย ประโยชน์ และตัวอย่างใช้ 4 ขั้นตอนเพื่อพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2567, จาก https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/what-is-pdca-210610/
สะกิด. (2565). PDCA คืออะไร รู้จักหลักการที่ทำให้งานของคุณมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น, สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2567, จาก https://www.sakid.app/blog/what-is-pdca-and-how-to-use/
สังคม. (2563). วันที่ไทยรู้จัก COVID -19. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2567, จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/290347
อาภัสสร สุกใส. (2563). คู่มือการกำหนดมาตรฐาน ISO และมาตรฐาน IEC. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2567, จาก https://www.tisi.go.th/data/pdf/pdf_iso_iec/standards_manual.pdf
Ansoff, H. L. (1965). Corporate Strategy. New York: McGraw-Hill.
Byars, L. L., & Rue, L. W. (2011). Human Resource Management (10ed.). New York: McGraw-Hill/Irwin.
Carroll, A. B. (1979). A three-dimensional conceptual model of corporate performance. The Academy of Management Review, 4(4), 497-505.
Chermack, T. J. (2011). Scenario Planning in Organizations: How to Create, Use, and Assess Scenarios. San Francisco: Berrett-Koehler Publishers.
Deming, W. E. (1986). Out of the Crisis. Cambridge, MA: Center for Advanced Engineering Study, Massachusetts Institute of Technology.
Grant, B., Dollery, B., & Kortt, M. (2016). Recasting leadership reform in Australianlocal government: A typology from political theory. Local Government Studies, 42(6), 1024-1046.
Henderson, B. B. (1970). The Product Portfolio. Boston: The Boston Consulting Group.
Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing Management. London: Pearson Education.
Porter, M. E. (1980). Competitive Strategy: Techniques for Analyzing Industries and Competitors. New York: Free Press.
Rhodes, R. A. W. (2018). Control and Power in Central-Local Government Relations. London, UK: Routledge.
Wickramasinghe, V. M. (2006). Training objectives, transfer, validation and evaluation: A Sri Lankan study. International Journal of Training and Development, 10(3), 227-247.