การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ และปัจจัยด้านความเชื่อมั่นต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อที่พักอาศัยในกลุ่มผู้บริโภคที่มีความหลากหลายทางเพศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทั้งในด้านวัฒนธรรม การยอมรับที่มีต่อกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศนำมาซึ่งกฎหมายว่าด้วยเรื่องการสมรสในกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยเฉพาะในประเทศไทยที่ยังคงเป็นเรื่องใหม่ในด้านกฎหมายเพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาการขาดความสะดวกในด้านธุรกรรมในด้านต่างๆ ของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย เช่น การเงิน สุขภาพ ฯลฯ โดยการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่พักอาศัยของกลุ่มผู้ที่มีความหลากลายทางเพศ โดยใช้วิธีการศึกษาแบบผสมผสาน โดยในการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์กับนักการตลาดจากธนาคารขนาดใหญ่ผู้ให้บริการสินเชื่อที่พักอาศัยในประเทศไทยจำนวน 5 คนที่ปฏิบัติงานในธนาคารที่แตกต่างกัน เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลจากการถอดเทปการสัมภาษณ์เพื่อมาประกอบกับการรายงานผลกับข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้มาจากการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศที่มีประสบการณ์การขออนุมัติสินเชื่อที่พักอาศัยจากธนาคารในประเทศไทย จำนวน 400 คน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาเพื่อทราบถึงสัดส่วนประชากร ระดับและความถี่ในด้านต่างๆ ไปจนถึงการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างที่อิทธิพลต่อความเชื่อมั่นต่อผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่พักอาศัยโดยจากการศึกษากลับพบว่าแม้ว่ากลุ่มตัวอย่างจะเกิดความเชื่อมั่นแต่กลับไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่พักอาศัยซึ่งสอดคล้องกับทัศนคติที่การศึกษาพบว่าไม่มีอิทธิพลให้เกิดการตัดสินใจ แต่สิ่งที่ทำให้เกิดการตัดสินใจเกิดจากการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการในด้านของการเสนอดอกเบี้ยอัตราพิเศษ เงื่อนไขของสินเชื่อสำหรับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศที่เหมือนกับบุคคลทั่วไปที่พบได้หลากหลายช่องทางไปจนถึงการตอบข้อสงสัยของสินเชื่อจากเจ้าหน้าที่ธนาคารที่มีความเชี่ยวชาญผ่านช่องทางออนไลน์ และออฟไลน์
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรกฎ ธรรมหงส์. (2558). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ การรับรู้ภาพลักษณ์ด้านการดูแลกิจการที่ดีและความเชื่อมั่นที่มีต่อ
ธนาคารออมสินที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการธนาคารออมสิน ในอนาคตของลูกค้าและไม่ใช่ลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, คณะนิเทศศาสตร์.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ. สำนักงานพิมพ์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
ชลิตพงศ์ ตุ้มเลี้ยง และ เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2565). รูปแบบการดําเนินชีวิตและความเชื่อมั่นในตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้รถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ระหว่างแบรนด์ญี่ปุ่นและแบรนด์อิตาลี. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 6(2). 38-53.
ชัยยุทธ อรัญสุคนธ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการส่งต่อข้อมูลทางการตลาดแบบ Viral Marketing. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, คณะบริหารธุรกิจ.
ฐานเศรษฐกิจ. (2566). กำลังซื้อ LGBTQ+แรง แนะรัฐบาลใหม่ขับเคลื่อนตลาดแสนล้าน. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2567, จาก www.thansettakij.com/business/marketing/567439
ฐานเศรษฐกิจ. (2567). เปิดอันดับ 5 แบงก์ใหญ่ของไทย ใครแข็งแกร่งที่สุด. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2567, จาก www.thansettakij.com/finance/stockmarket/594302
ณิชาภา ศรีคุณารักษ์. (2565). การสื่อสารการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารทะเลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณะวิทยาการจัดการ.
ดีดีพร็อพเพอร์ตี้. (2567). คู่รัก LGBTQ+ อยากกู้ร่วม ทำได้ ดู 5 ธนาคารให้สินเชื่อ LGBTQ+. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2567, จาก https://shorturl.asia/TjYEN
ทิพย์พาพร มหาสินไพศาล. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียน. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 4(1), 1-10.
นัฐพล รักษา. (2561). การรับรู้และทัศนคติที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง ของลูกค้าธนาคารกรุงเทพ สาขาเอ็กเชนทาวเวอร์. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิขาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2 (น.44-52). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ไพรินทร์ รังศรีสัมพันธ์. (2560). ปัจจัยทางทัศนคติด้านอุปสงค์ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจใช้บริการเงินฝากของธนาคารออมสิน สาขาพร้อมพงษ์. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 1(2). 89-94.
วิภาดา มณีโชติ และ สวรส ศรีสุตโต. (2561). การรับรู้ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ และทัศนคติด้านภาพลักษณ์ตราผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ MYMO ของลูกค้าธนาคารออมสิน. ใน การประชุมนําเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต ครั้ง13 (น.826-834). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
วีรินทร์ วีระวรรณ และ ธาตรี ใต้ฟ้าพูล. (2562). อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดผ่านไลน์ออฟฟิเชียลแอคเคาท์ของสถาบันการเงินและการธนาคารต่อทัศนคติ และการตัดสินใจเลือกใช้บริการของผู้บริโภค. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 12(1), 32-52.
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ . (2567). ดัชนีความเชื่อมั่นในการซื้อที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาส 1 ปี 2567 . สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.reic.or.th/Upload/REIC-PressRelease-240423-The-Housing-Purchase-Confidence-IndexQ1-2024_70416_1716659102_7222.pdf
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์. (2567). สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยไตรมาส 1 และทิศทางตลาดปี 2567. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.reic.or.th/Activities/PressRelease/223
สุจิตรา เอี่ยมสำอาง. (2561). ความเชื่อมั่นต่อตราบริษัทที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อทาวน์เฮ้าส์ของผู้บริโภค: กรณีศึกษา
โครงการบ้าน ไลโอ นอฟ ดอนเมือง-แจ้งวัฒนะ. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, คณะบริหารธุรกิจ.
อนัญญา อุทัยปรีดา (2556). ความเชื่อมั่นในตราสินค้าและภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ กรณีศึกษา: ตราสินค้า COACH EST.1941 NEW YORK. (การศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, คณะบริหารธุรกิจ.
Astuti, M., & Susanto, P. (2020). The effects of trust, shopping orientation, and social media marketing on online purchase intention: A literature review. In Proceedings of the 5th Padang International Conference on Economics Education, Economics, Business and Management, Accounting and Entrepreneurship (PICEEBA-5 2020) (pp.696-702). Padang: Atlantis Press.
Chen, Y., & Chang, C. (2012). Enhance green purchase intentions: The roles of green perceived value, green perceived risk, and green trust. Management Decision, 50(3), 502-520.
Cochran, W. G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons, Inc.
Kotler, P., & Armstrong, G. (2002). Principles of Marketing. NJ: Prentice Hall.
Kotler, P., & Keller, K. L. (2012). Marketing Management (14th Edition). England: Pearson Education Limited
Kristina, T., & Sugiarto, C. (2020). The role of trust mediates in the influence of social media marketing and electronic word-of-mouth on purchase intention. Management and Entrepreneurship: Trends of Development, 4(14), 102-113.
Kwon, K., & Kim, C. (2012). How to design personalization in a context of customer retention: Who personalizes what and to what extent? Electronic Commerce Research and Applications, 11(2), 101-116.
Limbu, Y. B., Wolf, M., & Lunsford, D. (2012). Perceived ethics of online retailers and consumer behavioral intentions: The mediating roles of trust and attitude. Journal of Research in Interactive Marketing, 6(2), 133-154.
Morgan, R. M., & Hunt, S. D. (1994). The commitment-trust theory of relationship marketing. Journal of Marketing, 58(3), 20-38.
Ndubisi, N. O. (2007). Relationship marketing and customer loyalty. Marketing Intelligence & Planning, 25(1), 98-106.
Punyatoya, P. (2015). Effect of perceived brand environment-friendliness on Indian consumer attitude and purchase intention: An integrated model. Marketing Intelligence & Planning, 33(3), 258-275.
Putri, W. M., Sutiono, H. T., & Kusmantini, T. (2024). Mediation of brand equity in the influence of integrated marketing communication on purchase intention of Mie Gacoan Restaurant in Yogyakarta. Manajemen Dan Kewirausahaan, 5(1), 15-30.
Sawaftah, D. (2020). The effectiveness of electronic integrated marketing communications on customer purchase intention of mobile service providers: The mediating role of customer trust. Journal of Sustainable Marketing, 1(1). 43-56.
Sumi, R. S., & Ahmed, M. (2022). Investigating young consumers’ online buying behavior in COVID-19 pandemic: perspective of Bangladesh. IIM Ranchi Journal of Management Studies, 1(2). 108-123
Tabachnick, B. G., & Fidell, L. S. (2007). Using Multivariate Statistics (5th ed.). New York: Allyn and Bacon.
Tannoury, J. F. (2023). The impact of trust and rewards on online purchasing intention: The mediating role of attitudes. BAU Journal-Society Culture and Human Behavior, 5(1), DOI: 10.54729/2789-8296.1145
Yolamas Jeerasantikul. (2018). The influence of brand value and favorite of Thai products on online shopping behaviors of Chinese consumers. Panyapiwat Journal, 10(special issue), 43-58.